- Details
- Category: เกษตร
- Published: Wednesday, 02 July 2014 23:38
- Hits: 3674
สมาคมสื่อมวลชนเกษตรฯ เสวนา ปลดล็อคปัญหาแรงานทาส..เพื่ออนาคตอุสาหกรรมอาหารและประมงไทย
ตามที่ประเทศสหรัฐประกาศลดอันดับการค้ามนุษย์มาเป็นอันดับ 3 หรือเทียร์ 3 ทำให้มีผู้ประกอบการค้าสัตว์ในสหรัฐอเมริกา นอรเวย์ งดซื้อสินค้าจากประเภทกุ้งจากผู้ประกอบการรายใหญ่ โดยให้เหตุผลว่า มีความสัมพันธ์ทางการค้าทาให้ภาคอุตสาหกรรมในห่วงโซ่ของการเลี้ยงกุ้งตลอดจนสินค้าประมงที่ใช้แรงงานในลักษณะการค้ามนุษย์ และที่สำคัญยิ่งหลังจากเดือนกันยายน 2557 ประเทศไทยอาจถูกกีดกันทางการค้าจากสหรัฐอเมริกาและประเทศพันธมิตรในสินค้า 4 ประเภท ประกอบด้วยสินค้าน้ำตาล กุ้ง ปลาและเครื่องนุ่งห่ม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการอุตสาหกรรมส่งออกไทยโดยเฉพาะสินค้าอาหารและประมง ของไทยทั้งรายใหญ่ และรายย่อยชนิดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเกษตร ปศุสัตว์ และประมง รวมถึงปกป้องผลประโยชน์ภาคการเกษตรของชาติ มีความเป็นกังวลต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในฐานะที่สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางใน
สมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ ห้องประชุมธีระ สูตบุตร ม.เกษตร วิทยากรจาก กรมประมง สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย สมาคมการประมงแห่งประเทศไทย จัด เสวนา แนวทางปลดล็อคปัญหาแรงานทาส..เพื่ออนาคตอุสาหกรรมอาหารและประมงไทย
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการแรงงานและทรัพยากรมนุษย์ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการที่สหรัฐฯ ได้จัดอันดับให้อยู่ใน Tier 3 คือ ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไข คณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้มีการประชุมหารือและจัดทำข้อเสนอต่อภาครัฐออกเป็น 3 ประเด็น ได้แก่ 1. การแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทย 2.การแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว และ 3.การแก้ไขปัญหาแรงงานประมง
โดยการแก้ไขปัญหาแรงงานของประเทศไทยนั้น เห็นว่า จะต้องมีการวางแผนในระยะยาว 5-10 ปี เพื่อเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการส่งเสริมอุตสาหกรรมไหนของประเทศ เนื่องจากปัญหาแรงงานจะมีความรุนแรง และจะไม่สามารถหาแรงงานมาทดแทนได้เพียงพอในอนาคตตามแผนการส่งเสริมอุตสาหกรรมในอนาคต, ควรมีมาตรการในการเตรียมความพร้อมในการจัดการแรงงานทั้งระบบอย่างถูกต้องและมีจำนวนแรงงานที่เพียงพอสำหรับประเทศไทยในระยะยาวได้, สนับสนุนงบประมาณการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการไทย เพื่อทดแทนการใช้กำลังแรงงานคน, ควรมีการสนับสนุนสินเชื่อของธนาคารรัฐให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาธุรกิจของตนให้ใช้แรงงานน้อยลง, เตรียมความพร้อมในการวางแผนการพัฒนาคนเพื่อรองรับการขยายตัวในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และศึกษากำลังคนเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงได้, ปรับปรุง และยกระดับระบบการศึกษาไทยในระดับอาชีวศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ประกอบการ, รณรงค์ให้หอการค้าจังหวัด หน่วยงานภาคเอกชน ประชาสัมพันธ์หน่วยงานต่างๆ ให้เห็นความสำคัญของแรงงานต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจ พร้อมทั้ง ให้หยุดการใช้แรงงานผิดกฎหมาย และให้สอดคล้องกับนโยบายการแก้ไขปัญหาแรงงานของ คสช.
ส่วนการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวนั้น แรงงานต่างด้าวมีความจำเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในทุกมิติของการพัฒนาประเทศไทย จึงมีความจำเป็นที่จะต้องบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างเป็นระบบในระยะยาว ร่วมกับประเทศต้นทางของแรงงาน โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยสนับสนุนการดำเนินงานของ คสช. ในการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย, จัดการแรงงานต่างด้าวให้มีประสิทธิภาพอย่างถูกต้อง มีความชัดเจน ลดขั้นตอน ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับนายจ้างและลูกจ้าง และสอดคล้องต่อข้อกฎหมาย, เสนอให้ คสช. มีการประสานงานกับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นในการบูรณาการแก้ไขปัญหาแรงงานร่วมกัน, เสนอให้มีการจัดตั้งศูนย์คัดกรอง และรับสมัครงานแรงงานต่างด้าวจากประเทศต้นทาง โดยมีความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน, เสนอให้มีการจัดหาผู้จัดหาแรงงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายทั้งประเทศ 2 ฝ่าย และกำหนดขั้นตอน อัตราค่าธรรมเนียมต่างๆ อย่างชัดเจน และเป็นธรรมทั้งประเทศ 2 ฝ่าย, เสนอให้ผู้จัดหางาน มีการระบุคุณลักษณะงานของแรงงานที่ต้องการอย่างชัดเจน เพื่อลดปัญหาการใช้แรงงานผิดอุตสาหกรรม และเกินความจำเป็นในอุตสาหกรรมนั้น, เสนอให้ BOI พิจารณาผ่อนผันการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือต่อไป จนกว่าจะมีนโยบายในการพัฒนาแรงงานต่างด้าวในระยะยาว
ส่วนการแก้ไขปัญหาแรงงานประมง ได้เสนอให้ผู้ประกอบการแปรรูปเบื้องต้น (ล้ง) โรงงานแปรรูปอาหารทะเล ฟาร์ม เพาะเลี้ยงกุ้งทะเล และเรือประมงดำเนินการตามแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices หรือ GLP), เสนอให้มีการจัดระเบียบเรือประมงโดยการจดทะเบียนชาวประมง/ผู้ประกอบการประมง ให้มีใบอาชญาบัตรเรือ ออกใบอนุญาตการใช้เครื่องมือทำการประมงและสำรวจแรงงานประมง โดยให้การจัดระเบียบเรือประมง และการประมงทั้งหมด ให้สอดคล้องกับแผนแม่บทของกรมประมง กระทรวงเกษตรฯ ในการอนุรักษ์รักษาธรรมชาติ, บังคับให้แรงงานประมงทั้งหมด (คนไทยและคนต่างด้าว)ไปขึ้นทะเบียนแรงงานประมงให้ถูกต้องภายใต้ศูนย์ประสานแรงงานประมง, เสนอให้มีการจัดทำฐานข้อมูลออนไลน์โดยการบันทึกข้อมูลชาวประมง/ผู้ประกอบการประมง เครื่องมือประมง และแรงงานประมง, สนับสนุนให้มีการตรวจตราเรือประมงที่เข้า-ออก จากฝั่งเพื่อตรวจสอบการทำประมง และป้องปรามการใช้แรงงานบังคับและการค้ามนุษย์, เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์ด้านการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แก่ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการประมง, การดำเนินการส่งเสริมภาพลักษณ์และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้นำเข้า/ผู้บริโภคสินค้าประมงของไทย ตลอดจนภาคประชาสังคมทั้งในและต่างประเทศในการแก้ไขปัญหาแรงงานในภาคการประมงของไทย, สนับสนุนให้กระทรวงแรงงานและกรมประมงให้จัดทำ GLP Platform
นอกจากนี้ ยังต้องสร้างความร่วมมือในการบริหารจัดการประมงในระดับภูมิภาคอาเซียนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาความมั่นคงทางทรัพยากรร่วมกัน และบริหารแรงงานในเรือประมงร่วมกัน, สนับสนุนให้มีการบริหารจัดการประมงโดยแบ่งตามขนาดเรือ เครื่องมือใช้งาน เพื่อให้การจัดการแรงงานมีความเหมาะสมชัดเจน สามารถนำไปสู่ภาคปฏิบัติได้, สนับสนุนให้มีการใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือการวิเคราะห์ในการบริหารจัดการประมงเพื่อติดตาม ควบคุม และเฝ้าระวัง โดยใช้ระบบ VMS ที่สามารถให้ข้อมูลวิเคราะห์ทั้งทางการจัดการทรัพยากรทางทะเล และการจัดการทรัพยากรมนุษย์ตามที่ได้ผูกพันกับอนุสัญญาต่างๆที่ทางราชการได้ลงนามไว้, ขอให้มีการประชาสัมพันธ์ให้นายจ้างขึ้นทะเบียนแรงงานทั้งเรือประมงที่เข้าฝั่ง และเรือที่กำลังทำการประมงอยู่ในทะเลทั้งในและนอกน่านน้ำไทย และให้แจ้งการเปลี่ยนแปลงลูกเรือกลางทะเลทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง, สนับสนุนให้มีการจัดตั้งศูนย์บริหารจัดการประมงเชิงบูรณาการ และภาครัฐควรจัดหาแรงงานประมงให้เพียงพอ
ด้านนายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวถึงสถานการณ์ปัญหาแรงงานของไทยว่า กรณีที่ประเทศไทยถูกจัดอันดับให้อยู่ใน Tier 3 คือ ประเทศที่ดำเนินการไม่สอดคล้องกับมาตรฐานขั้นต่ำตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา และไม่มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขนั้น อาจจะส่งผลต่อการส่งออกสินค้าทั้งหมดของไทยไปยังประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งอาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังทั่วโลก นอกจากนั้น การที่สหภาพยุโรปได้ออกแถลงการณ์ เกี่ยวกับสถานการณ์การเมืองในประเทศไทย โดยระบุว่า "สหภาพยุโรปได้เรียกร้องให้มีการเจรจาหารือ การแก้ปัญหาวิกฤติทางการเมืองโดยสันติ และการเคารพต่อหลักการประชาธิปไตยในประเทศไทยมาโดยตลอด ความจำเป็นเร่งด่วนในขณะนี้ คือการกำหนดกรอบเวลาในการจัดการเลือกตั้งที่ชัดเจน เพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเต็มที่ และมีความชอบธรรมตามระบอบประชาธิปไตยโดยเร็วที่สุดโดยขอให้ทุกฝ่ายใช้ความยับยั้งชั่งใจและทำงานร่วมกันเพื่อ ผลประโยชน์ของประเทศชาติ และขอเรียกร้อง ให้ทหารเคารพต่อมาตรฐานสิทธิมนษุยชนสากล รวมทั้งสิทธิเสรีภาพของสื่อด้วย" ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งอาจรวมถึงสินค้าจากประเทศไทยอีกด้วย
สิ่งที่น่าจับตา ก็คือ ในเดือนกันยายนกระทรวงแรงงานของสหรัฐฯ จะดำเนินการประกาศรายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์และการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด (Findings on the Worst Forms of Child Labor) ของประเทศคู่ค้าของสหรัฐฯ ที่ได้รับสิทธิพิเศษ GSP. ไทยอยู่ในระดับ “Significant Advancement" (มี 9 ประเทศ จาก 143 ประเทศที่ถูกจัดทำรายงาน) ซึ่งบัญชีรายชื่อสินค้าที่มีเหตุผลให้เชื่อว่าผลิตโดยการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ (List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor -TVPRA List) ได้แก่- กุ้ง เสื้อผ้า (แรงงานเด็ก และแรงงานบังคับ) อ้อย สื่อลามก (แรงงานเด็ก) ปลา (แรงงานบังคับ) ซึ่งคงต้องติดตามดูว่าจะส่งผลกระทบอย่างไรกับประเทศไทยบ้าง
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยเป็นประเทศที่พึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก(โดยเมื่อปี 2556 ส่งออกประมาณ 7,000 ล้านล้านบาทต่อปี) อีกทั้งประเทศไทยยังเป็นผู้ส่งออกหลักของผลิตภัณฑ์อาหารทะเลทั้งสด แปรรูป และอาหารทะเลบรรจุกระป๋อง รวมทั้ง ยังเป็นห่วงโซ่การผลิตของหลาย ๆ อุตสาหกรรมไปยังทั่วโลก โดยมีแรงงานต่างด้าวที่ทำงานในประเทศไทยที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานในทั่วราชอาณาจักร ประมาณ 1,523,869 คน