WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Agricuttureกษ.จะเริ่มรายงานผลการขับเคลื่อนมาตรการจ้างงานบรรเทาภัยแล้ง 15 ต.ค.

   นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนมาตรการบรรเทาผลกระทบภัยแล้งตามที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบใน 8 มาตรการแล้วนั้น ในของมาตรการการจ้างงาน โดยการจ้างแรงงานชลประทาน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการแล้วตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2558 โดยจะเริ่มรายงานครั้งแรกวันที่ 15 ตุลาคม 2558 สำหรับมาตรการอื่นๆ อยู่ระหว่างส่วนราชการทำความตกลงกับสำนักงบประมาณ

     นอกจากนั้น ได้สั่งการให้ศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาภัยแล้งระดับจังหวัด ลงพื้นที่ชี้แจงสถานการณ์ผลกระทบและมาตรการช่วยเหลือภาครัฐ เพื่อสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบใน 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ระหว่างวันที่ 9 - 22 ตุลาคม 2558 เกษตรกรเป้าหมาย 195,311 ราย มีเกษตรกรเข้าร่วมรับฟังแล้ว 23,637 ราย คิดเป็นร้อยละ 12 ของเป้าหมาย

   ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการเพาะปลูกข้าวนาปี 2558 ในเขตชลประทานทั้งประเทศ (ณ วันที่ 9 ต.ค.58) มีการเพาะปลูกแล้ว 14.16 ล้านไร่ จากแผน 15.78 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 89 มีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากขาดน้ำในช่วงต้นฤดูฝน 22,263 ไร่ และมีพื้นที่ที่ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 5.29 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้มีพื้นที่นาปีต่อเนื่องจำนวน 1.23 ล้านไร่ สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการเพาะปลูกแล้ว 6.27 ล้านไร่จากแผน 7.45 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ยังเหลือพื้นที่ที่ยังไม่เพาะปลูก 1.18 ล้านไร่ ซึ่งมีพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายเนื่องจากขาดน้ำในช่วงต้นฤดูฝน 21,644 ไร่ และมีพื้นที่ที่ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 4.47 ล้านไร่ สำหรับพื้นที่นอกเขตชลประทานในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการเพาะปลูกแล้ว 5.54 ล้านไร่ พื้นที่ได้รับความเสียหาย 69,486 ไร่ และมีพื้นที่เก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว 1.49 ล้านไร่

      ปัจจุบันสภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวม 42,853 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 57 เป็นปริมาตรน้ำใช้การได้ 19,050 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ขณะที่ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยฯ และป่าสักชลสิทธิ์ รวม 4 เขื่อน มีปริมาตรน้ำในเขื่อน 10,329 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 42 คิดเป็นปริมาณน้ำใช้การได้ 3,633 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ซึ่ง ณ วันที่ 1 พ.ย. 2558 จะมีความต้องการใช้น้ำไม่น้อยกว่า 3,677 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ปัจจุบันยังมีปริมาณน้ำน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ 44 ล้าน ลบ.ม. แต่จากที่มีฝนตกชุกกระจายทางตอนบนตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้า 4 เขื่อนหลักในลุ่มเจ้าพระยา อย่างต่อเนื่อง และเป็นแนวโน้มที่ดี คาดว่าเมื่อสิ้นสุดเดือน ต.ค. นี้ จะมีปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนทั้ง 4 แห่ง จะอยู่รวมกันประมาณ 3,600-3,700 ล้าน ลบ.ม. ตามเป้าหมายที่ได้วางไว้ ซึ่งกรมชลประทานได้ติดตามการคาดการณ์ปริมาณฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด รวมถึงกรมฝนหลวงและการบินเกษตรก็เร่งปฏิบัติการดำเนินการเติมน้ำในเขื่อนด้วยเช่นกัน

     ขณะเดียวกัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้ให้โครงการชลประทานในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทุกโครงการ บริหารจัดการน้ำท่าที่เกิดจากปริมาณฝนที่ตกในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ให้เกิดประโยชน์ให้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการผันน้ำท่าที่เหลือไปเก็บกักไว้ในพื้นที่ที่ยังสามารถเก็บน้ำได้ เพื่อเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ให้ได้นานที่สุด

กรมป้องกันฯ ขับเคลื่อนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรลดผลกระทบวิกฤตภัยแล้ง

    นายฉัตรชัย พรหมเลิศ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่า หลายพื้นที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2558 และ 6 ตุลาคม 2558 ได้มีมติให้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ครอบคลุมพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด และพื้นที่การเกษตรนอกเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 55 จังหวัด ตามกรอบแนวทาง 8 มาตรการสำคัญ

     ซึ่งกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมขับเคลื่อนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งใน 3 มาตรการ ดังนี้ 1) มาตรการจ้างงานเพื่อสร้างรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งมุ่งเน้นการจ้างงานประชาชนในพื้นที่ดำเนินกิจกรรมที่เป็นการป้องกัน ยับยั้ง หรือลดความเสียหายจากสถานการณ์ภัยพิบัติ โดยใช้งบประมาณจากเงินทดรองราชการในเชิงป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน วงเงินจังหวัดละ 10 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินโครงการแล้วจำนวน 24 จังหวัด รวมวงเงินงบประมาณกว่า 102 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมการสร้างอาชีพและรายได้ในพื้นที่ประสบภัย

    2) มาตรการเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ได้สั่งการให้หน่วยปฏิบัติประสานฝ่ายปกครองจัดเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจ รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง อาทิ สถานการณ์น้ำ จำนวนบ่อน้ำบาดาล สถานีสูบน้ำ รวมถึงความต้องการของเกษตรกรและประชาชน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานให้จังหวัดใช้ในการวางแผน กำหนดกรอบแนวทางและเสนอโครงการฯ ส่งให้กระทรวงมหาดไทยรวบรวมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณากำหนดมาตรการช่วยเหลือที่ เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และสอดคล้องกับความต้องการของชุมชน

    และ 3) มาตรการสนับสนุนอื่นๆ โดยดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2556 ในกรอบวงเงินทดรองราชการฯ จังหวัดละ 20 ล้านบาท

    ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ร่วมขับเคลื่อนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งอย่างเข้มข้นทุกพื้นที่ เพื่อเชื่อมโยงการสร้างงาน สร้างอาชีพ และสร้างรายได้แก่ชุมชนที่ประสบภัย ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็งในทุกมิติ

                        อินโฟเควสท์ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!