WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยะรมว.เกษตรฯ ย้ำผู้ว่าฯ ทั่วปท.ขับเคลื่อน 8 มาตรการแก้ภัยแล้ง เร่งทำแผนชุมชนให้แล้วเสร็จใน 30 วัน

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ณ กระทรวงมหาดไทย ว่า ปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบันซึ่งชัดเจนว่าภัยแล้งที่จะเกิดขึ้นไม่เพียงแต่ใน 2 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มเจ้าพระยา และลุ่มแม่กลองเท่านั้น แต่จะเกิดภัยแล้งได้ทั้งประเทศ ซึ่งในแต่ละพื้นที่จะมีปัญหาที่มีความแตกต่างกัน จึงได้ขอความร่วมมือทางผู้ว่าราชการจังหวัดส่งทีมจังหวัดชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน และเกษตรกรถึงสถานการณ์น้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมถึง 8 มาตรการที่หน่วยงานต่างๆ จะเข้ามาร่วมดำเนินการบรรเทาปัญหาภัยแล้งหลังจากที่ ครม.ได้มีมติเห็นชอบเรียบร้อยแล้ว รวมถึงได้ชี้แจงถึงแนวทางการทำงานของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งระดับชาติปี 2558/59 โดยมอบหมายให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจฯ ระดับจังหวัด ที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ ที่จะทำหน้าที่ติดตามผลกระทบภัยแล้ง สถานการณ์น้ำ และความต้องการประชาชนตลอดช่วงระยะเวลาภัยแล้งนี้

        อีกประเด็น ที่ได้มีการชี้แจงทำความเข้าใจกับผู้ว่าราชการจังหวัด คือ การจัดทำแผนชุมชน ซึ่งเป็นมาตรการที่ 4 ใน 8 มาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤตภัยแล้งปี 2558/59 ที่ ครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมความต้องการของชุมชน และเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งว่ามีความต้องการอย่างไร

    ทั้งนี้ ทางกระทรวงมหาดไทยได้กำหนดให้มีการประชุมผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศในวันอังคารที่ 13 ตุลาคมนี้ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน ขั้นตอน วิธีการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้มีความรวดเร็วเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันตามกรอบระยะเวลาที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุน และเข้าไปดำเนินการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งได้อย่างแท้จริงและทันต่อเหตุการณ์

รมว.เกษตรฯ เตรียมประชุมร่วมผู้ว่าฯทั่วประเทศขับเคลื่อน 8 มาตรการบรรเทาภัยแล้ง

     พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (8 ต.ค.) กระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับกระทรวงมหาดไทยจัดประชุมทางไกลร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในระดับพื้นที่ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต้องเป็นกลไกหลักในการดำเนินงาน เพื่อให้ขับเคลื่อนทั้ง 8 มาตรการที่ ครม.ได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดแผนงาน งบประมาณในโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 2558/59

     เกิดผลชัดเจนและลดผลกระทบภัยแล้งได้ทันต่อสถานการณ์ รวมถึงแจ้งเตือนประชาชนถึงสถานการณ์น้ำโดยเฉพาะในลุ่มเจ้าพระยาที่จะเริ่มทำการเพาะปลูกในวันที่ 1 พ.ย.นี้

     อนึ่ง ครม.ได้มีมติเห็นชอบรายละเอียดแผนงาน งบประมาณในโครงการบูรณาการมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 2558/59 จำนวน 8 มาตรการ 45 โครงการ โดยอนุมัติงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 4,071.3150 ล้านบาทจากกรอบวงเงินที่13 หน่วยงานจะดำเนินการรวมทั้งสิ้น 11,151.8173 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณปกติปี พ.ศ. 2559 วงเงิน 6,752.7494 ล้านบาท และงบกลางที่ได้รับอนุมัติแล้วเพื่อจ้างงานชลประทาน 327.7529 ล้านบาท โดยมีกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการวันที่ 1 พฤศจิกายน 255830 เมษายน 2559

    ทั้งนี้ 1 ใน 8 มาตรการ คือ การสำรวจความต้องการชุมชนเพื่อจัดทำแผนชุมชน ซึ่งครม.ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สำรวจความต้องการและจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน และรวบรวมส่งให้คณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิฤกตภัยแล้งปี 2558/59 เพื่อพิจารณานำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาการช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมสำหรับพื้นที่ที่ยังได้รับผลกระทบภัยแล้งโดยเร่งด่วนต่อไป

      สำหรับ พื้นที่เป้าหมายดำเนินการแบ่งเป็น 1) พื้นที่วิกฤตภัยแล้ง คือ พื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกรุงเทพฯ กำแพงเพชร ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ตาก นครนายก นครปฐม นครสวรรค์ นนทบุรี ปทุมธานี พิจิตร พิษณุโลกพระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี อ่างทอง อุตรดิตถ์ มีเกษตรกรที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 330,000 ครัวเรือน และ 2) พื้นที่ภัยแล้งทั่วไป 55 จังหวัด

      อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!