- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 30 June 2014 22:19
- Hits: 3047
ธ.ก.ส.หนุนพยุงราคาข้าว เตรียมปล่อยสินเชื่อ 1.87 แสนล้านบาท
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ( ธ.ก.ส. ) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. จะเสนอโครงการสินเชื่อเพื่อลดต้นทุนการผลิต ให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาในวันที่ 1 กรกฎาคม เป็นไปตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ( คสช. ) ที่ต้องการให้ยกเลิกโครงการรับจำนำข้าว และประกันรายได้ และให้เกษตรกรหันมาลดต้นทุนการผลิต
จากการประชุมร่วมกับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ในฐานะประธานอนุกรรมการพิจารณามาตรการด้านการผลิตและการตลาดสินค้าข้าวนั้นเห็นชอบให้เสนอให้ นบข.พิจารณาแนวทาง การชดเชยดอกเบี้ยให้กับชาวนา 3.57 ล้านราย รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมราว 1.5 แสนล้านบาท หากชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกร 3 % เป็นเวลา 6 เดือน คิดเป็นเงินที่จะขอชดเชย 2,292 ล้านบาท
สำหรับ โครงการที่ผ่านความเห็นชอบจาก คสช. แล้วคือ โครงการสินเชื่อชะลอการขาย มีวงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ 80 % ของมูลค่าหลักประกันคือข้าวในยุ้งฉางเกษตรกร เน้นให้กู้เพื่อชะลอการขายข้าวหอมมะลิ ในภาคเหนือและอีสาน คาดว่าจะรองรับผลผลิตได้ 1.5 ล้านตัน
นอกจากนี้มีโครงการปล่อยสินเชื่อให้สหกรณ์การเกษตรกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ มีวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร คาดว่าจะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรได้ 3 ล้านตัน ดังนั้นหากรวมโครงการที่จะเสนอ นบข.ล่าสุดคิดเป็นวงเงินสินเชื่อที่จะช่วยชาวนากว่า 1.87 แสนล้านบาท
โดยโครงการที่ออกมา และเมื่อรวมกับการช่วยเหลือด้านการตลาดของกระทรวงพาณิชย์ น่าจะทำให้ราคาข้าวเป็นไปตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์แจ้งไว้กับ คสช. ว่า ราคาข้าวเปลือก 5% จะอยู่ที่ระดับ 8,000 -9,000 บาทต่อตัน ข้าวหอมมะลิ อยู่ที่ 13,000-14,000 บาทต่อตัน ซึ่งตัวแทนเกษตรกรภาคกลางที่ปลูกข้าว 5 % แจ้งว่าหากรัฐสามารถยันราคาขายไว้ตามที่เสนอได้ เกษตรกรก็อยู่ได้
"คาดว่าผลผลิตข้าวนาปีของปีนี้จะอยู่ที่ 28 ล้านตัน โดยเกษตรกรจะเป็นข้าวไว้ทำพันธุ์ประมาณ 8 ล้านตัน ที่เหลืออีก 20 ล้านตันส่วนใหญ่กว่า 80% ผลผลิตจะออกในช่วงเดือน พฤศจิกายน -ธันวาคมนี้ ซึ่งมาตรการในส่วนของ ธ.ก.ส. คือสินเชื่อชะลอการขายกับสินเชื่อที่ปล่อยให้สหกรณ์รับซื้อผลผลิต จะสามารถรองรับผลผลิตได้ประมาณ 4.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเชื่อเป็นมาตรการของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรที่จะออกมาจะเสริมอีก น่าจะทำให้ราคาถึงเป้าหมายได้ "
เตรียมชง นบข.อุ้มชาวนาธ.ก.ส.เดินหน้า 3 โครงการปล่อยสินเชื่อ 1.87 แสน ล.
บ้านเมือง : ธ.ก.ส.เตรียมมาตรการให้สินเชื่อชะลอการขายข้าว-สินเชื่อหนุนสหกรณ์ แปรรูปข้าว พร้อมสินเชื่อสนับสนุนช่วงฤดูการปลูกข้าว รวม 1.87 แสน ล. เข้าสู่การพิจารณาของ นบข. วันที่ 1 ก.ค.นี้
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ตั้งคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการข้าว (นบข.) โดยคณะดังกล่าวจะมีการประชุมกันในวันอังคารที่ 1 ก.ค.57 เพื่อพิจารณาแผนงานสนับสนุนและช่วยเหลือชาวนา โดยทาง นบข.ได้ตั้งคณะอนุกรรมการฝ่ายผลิตข้าว โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากชาวนา เพื่อนำไปสู่รูปแบบและมาตรการช่วยเหลือชาวนา ก่อนนำเสนอที่ประชุม นบข.ให้พิจารณา ซึ่งหลักการสำคัญคือ ต้องไม่มีโครงการรับจำนำข้าว และโครงการประกันราคาข้าว ต้องดำเนินการโดยไม่บิดเบือนกลไกลราคาตลาด โดยจะทำในลักษณะการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยใช้พันธุ์ข้าวที่มีคุณภาพสูง รวมถึงการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น
ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะทำหน้าที่ในการอำนวยสินเชื่อ เพื่อให้ชาวนามีทุนที่เพียงพอ เช่น อาจจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงจากอัตราปกติ เป็นต้น รวมไปถึงจะมีมาตรการเสริมในช่วงฤดูเก็บเกี่ยวข้าวนาปี ที่คาดว่าจะมีผลผลิตในปีนี้ 28 ล้านตันข้าวเปลือก โดยชาวนาเก็บไว้กินเอง 8 ล้านตัน ทำให้จะมีข้าวออกสู่ตลาด 20 ล้านตันข้าวเปลือก และจะออกมากสุดในช่วง พ.ย.-ธ.ค. ถึง 80% ดังนั้น ธ.ก.ส.จะสนับสนุนเงินทุนเพื่อชะลอการขายข้าวเปลือก โดยจะเริ่มดำเนินการสนับสนุนสินเชื่อให้ขาวนาภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยทำให้ขาวนายังไม่ต้องขายข้าวออกมาในช่วงระยะเวลาดังกล่าว
นอกจากนั้น ธนาคารยังได้ทำงานร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อให้การช่วยเหลือและดูแลกลุ่มสหกรณ์ ซึ่งจะมีสหกรณ์กว่า 500 แห่ง ที่ดำเนินงานในการช่วยรวบรวม จัดเก็บ และเชื่อมโยงตลาดโดยตรง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถของสมาชิกในการแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยเตรียมวงเงินเอาไว้ 2 หมื่นล้านบาท
"คาดว่า จะสามารถชะลอการขายได้ประมาณ 1.5 ล้านตัน ส่วนสหกรณ์ที่ให้วงเงินสนับสนุนในการแปรรูป แทรกแซง น่าจะอยู่ที่ 3 ล้านตัน รวมเป็น 4.5 ล้านตัน ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ช่วยประคองราคาในช่วงต้นฤดูกาลผลิตได้ และก็จะมีมาตรการเสริมจากกระทรวงพาณิชย์ ในการรักษาเสถียรภาพด้านราคาให้อยู่ที่ 8.5 พัน-1 หมื่นบาทต่อตันสำหรับข้าวเปลือกเจ้า และข้าวหอมมะลิที่ 1.3-1.4 หมื่นบาทต่อตัน" นายลักษณ์ กล่าว
สำหรับ สินเชื่อเพื่อสนับสนุนการผลิตนั้น เป็นมาตรการที่ธนาคารได้เตรียมนำเสนอ นบข. วันที่ 1 ก.ค.นี้เช่นเดียวกัน เพื่อให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีเกษตรกรที่ใช้วงเงินสินเชื่อทั้งระบบ ทั้งกับ ธ.ก.ส. สหกรณ์ และสถาบันการเงินอื่นๆ รวมแล้วกว่า 3.5 ล้านราย ซึ่งกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้จะได้รับการดูแลด้วยการจัดสรรเงินสินเชื่อให้รายละไม่เกิน 5 หมื่นบาท โดยจะคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ลดลงจาก MLR ปกติของธนาคารอีก 3% เป็นระยะเวลา 6 เดือน วงเงินสินเชื่อ 1.5 แสนล้านบาท โดยธนาคารจะเสนอขอชดเชยดอกเบี้ย 2 พันล้านบาท รวมวงเงินทั้ง 3 โครงการกว่า 1.87 แสนล้านบาท
ธกส.ชงนบข.ปล่อยกู้เกษตรกร คาดชาวนารับอานิสงส์ 3 ล้านราย
ไทยโพสต์ : บางเขน * ธ.ก.ส.เตรียมชง นบข.พิจารณาปล่อยกู้ลดต้นทุนการผลิต 1.5 แสนล้านบาท อุ้มเกษตรกร 3 ล้านราย ชี้มาตรการพยุงราคาขายของพาณิชย์หนุนชาวนามีกำไร 30-35%
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.จะเสนอโครง การสินเชื่อเพื่อลดต้นทุนการผลิตสำหรับฤดูการผลิตข้าวนาปี 2557/58 ให้คณะอนุกรรมการพิจารณามาตรการลดต้นทุนการผลิต พิจารณาก่อนเสนอให้คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 1 ก.ค.2557 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ คสช.ที่ต้องการให้ยกเลิกโครงการรับ จำนำข้าวและประกันรายได้ และให้เกษตรกรหันมาลดต้นทุนการ ผลิต โดยกำหนดเป้าหมายสิน เชื่อดังกล่าวมุ่งช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 3 ล้านครัวเรือนให้เข้าถึงสินเชื่อ ซึ่งแยกเป็นเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส. 2.3 ล้านครัวเรือน เกษตรกรที่ใช้แหล่งเงินจากสหกรณ์การ เกษตรอีก 1 ล้านครัวเรือน ที่เหลือเป็นเกษตรกรที่ใช้สินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่น
ทั้งนี้ เบื้องต้นตั้งเป้าหมายปล่อยกู้ไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อราย คิดเป็นวงเงินสินเชื่อรวมราว 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งในจำ นวนนี้จะเป็นสินเชื่อของ ธ.ก.ส. ประมาณ 1 แสนล้านบาท โดย ธ.ก.ส.จะเสนอ นบข.ให้ชดเชยดอกเบี้ยให้เกษตรกร 3% เป็นเวลา 6 เดือน คิดเป็นเงินที่จะขอชดเชย 2.29 พันล้านบาท หาก นบข.เห็นชอบก็จะเสนอให้ คสช.อนุมัติต่อไป
สำหรับ โครงการที่ผ่านความเห็นชอบจาก คสช.แล้วคือ โครงการสินเชื่อชะลอการขาย มีวงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อ 80% ของมูลค่าหลักประกัน คือข้าวในยุ้งฉางเกษตรกร เน้นให้กู้เพื่อชะลอการขายข้าวหอมมะลิในภาคเหนือและอีสาน คาดว่าจะรองรับผลผลิตได้ 1.5 ล้านตัน
นอกจากนี้ มีโครงการปล่อยสินเชื่อให้สหกรณ์การ เกษตรกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ มีวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท เพื่อรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร คาดว่าจะรับซื้อข้าวจากเกษตรกรได้ 3 ล้านตัน
ขณะที่มาตรการภาพรวม ทางกระทรวงพาณิชย์เสนอมาตร การดูแลด้านการตลาดอีกหลายโครงการ เชื่อว่าจากมาตรการดังกล่าวจะสามารถพยุงราคาตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์แจ้งไว้กับ คสช. ว่าราคาข้าวเปลือก 5% จะอยู่ที่ระดับ 8.5-9 พันบาทต่อตัน ข้าวหอมมะลิอยู่ที่ 1.3-1.4 หมื่นบาทต่อตัน ซึ่งตัวแทนเกษตรกรภาคกลางที่ปลูกข้าว 5% แจ้งว่าหากรัฐสามารถยันราคาขายไว้ตามที่เสนอได้ เกษตรกรก็อยู่ได้
โดยจากการประเมินในเบื้องต้น เห็นว่ามาตรการพยุงราคาข้าวของกระทรวงพาณิชย์มีความเหมาะสม น่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรได้เป็นอย่างดี เมื่อพิจารณาจากต้นทุนการผลิตของเกษตรกรที่ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 4.78 พันบาทต่อไร่ หรือ 6 พันบาทต่อตัน โดยเมื่อมีการคำนวณแล้วพบว่าเกษตรกรจะยังมีกำไรเหลือจากส่วนต่างดังกล่าวราว 30-35%
"คาดว่า ผลผลิตข้าวนาปี ของปีนี้จะอยู่ที่ 28 ล้านตัน โดยเกษตรกรจะเป็นข้าวไว้ทำพันธุ์ประมาณ 8 ล้านตัน ที่เหลืออีก 20 ล้านตัน ส่วนใหญ่กว่า 80% ผลผลิตจะออกในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.นี้ ซึ่งมาตรการในส่วน ของ ธ.ก.ส. คือสินเชื่อชะลอการ ขายกับสินเชื่อที่ปล่อยให้สหกรณ์รับซื้อผลผลิต จะสามารถรองรับผลผลิตได้ประมาณ 4.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือเชื่อว่ามาตรการของกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรฯ ที่จะออกมาจะช่วยพยุงให้ราคาอยู่ในราคาเป้าหมายได้"นายลักษณ์กล่าว.