WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยะรมว.เกษตรฯเผยคณะกรรมการอียูมาไทยกลางต.ค.ติดตามปฎิบัติงานแก้ปัญหาประมง

   พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะกรรมการของสหภาพยุโรป(อียู) จะเดินทางมาไทยในช่วงกลางเดือนต.ค. เพื่อติดตามดูการปฏิบัติงานในภาคสนาม สำหรับการแก้ไขปัญหาการทำประมงกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม(IUU)  หลังจากที่เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาคณะทำงานที่รัฐบาลได้ตั้งขึ้นได้ยื่นเอกสาร โดยยึดตามหลักมาตรฐานสากล ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงในเรื่องกฏหมายประมง หรือแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาประมง IUU และได้ร่วมหารือร่วมกับคณะกรรมการของอียู โดยขณะนี้เอกสารทั้งหมดก็อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบก่อนที่คณะกรรมการของอียูจะเดินทางมาไทย

    "เท่าที่ได้ติดตามผลการดำเนินงานในการแก้ไขปัญหาประมงไอยูยูที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมกันทำงานทั้งภาครัฐ ชาวประมง และผู้ประกอบการประมง ก็มีความเชื่อมั่นว่าการแก้ไขปัญหาของไทยเดินมาถูกทางแล้ว...ขณะนี้เอกสารทั้งหมดก็อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบก่อนที่ช่วงกลางเดือนตุลาคมนี้ คณะกรรมการอียูจะเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อติดตามดูการปฏิบัติงานในภาคสนามจริงๆ เพื่อดูว่าแผนต่างๆ ที่เราส่งไปสามารถปฏิบัติได้ดีมากน้อยแค่ไหนอย่างไร"พลเอกฉัตรชัย กล่าว

    รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า สำหรับวันครบรอบสถาปนากรมประมง ปีที่ 89 นั้นได้มอบหมายให้ข้าราชการกรมประมงกลับไปทบทวนการทำงาน โดยอยากเห็นการทำงานที่มีการนำเอาสภาพแวดล้อม และสิ่งที่เปลี่ยนไปของโลก ทั้งสภาพภูมิอากาศ การแข่งขันในตลาดสินค้าประมง มาเป็นปัจจัยสำคัญในการกำหนดแผนงาน โครงการ  มาตรการต่างๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพื่อให้การทำประมงของไทยอยู่ในกรอบความถูกต้อง สร้างความมั่นคงให้กับประมงทั้งระบบ

   ด้านนายจุมพล สงวนสิน อธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมากรมประมงได้ปฏิบัติภารกิจจนประสบผลสำเร็จและสามารถสร้างผลงานเพื่อพัฒนาภาคการประมงให้สมกับเป็นประเทศที่ได้รับสมญานามว่า'ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว' โดยมีผลงานเป็นรูปธรรมอย่างมากมาย เช่น 1.การแก้ไขปัญหาการทำประมง IUU 2. การแก้ไขปัญหาการเกิดโรคระบาดในกุ้ง  3.การพัฒนาภาคการประมงสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  4.การแก้ไขปัญหาและพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น ปะการังเทียม

   5.การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิต สร้างมูลค่าภาคการเกษตรและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นระบบ ซึ่งกรมประมงได้ผลักดัน กุ้งและปลานิล ให้เป็นสินค้าเกษตรเศรษฐกิจที่สำคัญ  6.โครงการเมืองเกษตรสีเขียว โดยมีการพัฒนากิจกรรมด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำให้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการจัดทำคาร์บอนฟุตปริ๊นและระบบ Zero waste ในฟาร์มเพาะเลี้ยง 7.Smart Farmer  8.การปรับโครงสร้างสินค้าประมงเพื่อสร้างมูลค่า โดยผลิตสัตว์น้ำมีคุณภาพได้มาตรฐานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในสัตว์น้ำนำร่อง 3 ชนิด ได้แก่ ปลาสวยงาม ปลานิล และสัตว์น้ำอินทรีย์ฯลฯ  ซึ่งเชื่อว่าผลงานต่างๆ เหล่านี้จะสามารถการันตีได้ว่ากรมประมงพยายามช่วยพัฒนาให้ชาวประมงไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นมาโดยตลอด และจะเดินหน้ามุ่งมั่นที่จะพัฒนาการประมงของไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

     อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!