WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

MOCฉตรชย สารกลยฉัตรชัย ขีดเส้นขึ้นทะเบียนเกษตรกร 6.33 ล้านครัวเรือนให้เสร็จในต.ค.นี้

       พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการดำเนินงานฐานข้อมูลเกษตรกรขณะนี้ว่า ภายในเดือนตุลาคมปีนี้ มีเป้าหมายที่จะปรับปรุงข้อมูลครัวเรือนเกษตรกร จำนวน 6.33 ล้านครัวเรือนให้เป็นปัจจุบันและมีการขยายฐานข้อมูลเพิ่มเติมจากเดิม 4 ด้าน เป็น 7 ด้าน โดยเพิ่มด้านรายได้ หนี้สิน และเครื่องจักรกลการเกษตร จากที่มีอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน สมาชิกในครัวเรือนที่ช่วยทำการเกษตรและการเป็นสมาชิกองค์กร การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตร และการประกอบกิจกรรมการเกษตร ซึ่งจะใช้งบประมาณรวม 25,320,000 บาท ที่จะเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเก็บข้อมูลและบันทึกเข้าฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกร

      สำหรับ ผลการสำรวจทะเบียนเกษตรกรกรมส่งเสริมได้ดำเนินการแล้ว 4,205 ครัวเรือน จากเป้าหมาย 6.33 ล้านครัวเรือน ซึ่งแผนดำเนินการภายใน 16 ตุลาคมนี้จะเก็บข้อมูลแล้วเสร็จทุกพื้นที่ เพื่อนำมาประมวลผลซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 30 ต.ค.

   "ขอให้เกษตรกรให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลกับ อกม. ที่จะลงไปเก็บข้อมูลในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม ปีนี้ซึ่งกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมที่จะพัฒนาฐานข้อมูลเกษตรกรให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน เป็นปัจจุบัน และให้มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เพื่อใช้ในการดำเนินการตามโครงการและมาตรการสำคัญของรัฐบาล"พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

    สำหรับ กิจกรรมและแนวทางการดำเนินงาน ที่จะเร่งดำเนินการ ได้แก่ 1) การพัฒนาระบบงานในการปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน โดยการปรับวิธีการจัดเก็บข้อมูลโดยจ้างอาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน (อกม.) เป็นผู้จัดเก็บข้อมูลแทนการให้เกษตรกรมาขึ้นทะเบียนตามความสมัครใจ และให้เกษตรกรเป็นผู้รับรองความถูกต้องของข้อมูลตนเอง โดยจะกำหนดช่วงเวลาการจัดเก็บและปรับปรุงข้อมูลที่แน่นอนเป็นประจำทุกปี ส่วนกรณีที่เกษตรกรไม่ได้แจ้งข้อมูลแก่ อกม. ภายในช่วงเวลาที่กำหนด ให้เป็นหน้าที่ของเกษตรกรที่ต้องไปแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมที่สำนักงานเกษตรอำเภอ

       อินโฟเควสท์

ก.เกษตรฯ เตรียมเสนอครม.ออกประกาศงดส่งน้ำเพื่อการเกษตร-เคาะแผนรับมือภัยแล้ง

      พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งปี 2558/59 ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 22 ก.ย.58 นี้ กระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอขอความเห็นชอบเพื่อออกประกาศงดสนับสนุนน้ำเพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา และลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งจะมีผลในวันที่ 1 ต.ค.58 เพื่อลดความเสี่ยงก่อนที่เกษตรจะลงทุนซื้อปัจจัยการผลิตเพื่อการเกษตรในฤดูแล้งนี้

     เนื่องจากลุ่มเจ้าพระยาคาดการณ์ว่า ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558 จะมีปริมาณน้ำใช้การได้ 3,677 ล้าน ลบ.ม. จะเพียงพอจัดสรรเพื่อระบบนิเวศน์ และน้ำอุปโภค-บริโภคเท่านั้น ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเกษตรช่วงฤดูแล้งนี้ได้ ขณะที่ลุ่มแม่น้ำแม่กลอง คาดการณ์ ณ วันที่ 1 ม.ค.59 จะมีปริมาณน้ำใช้การได้ 4,765 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะใช้เพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ และเพื่อการอุปโภค-บริโภคจนถึงสิ้นฤดูแล้ง ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อทำการเกษตรได้เช่นกัน

    ส่วนพื้นที่นอกเขตชลประทาน และนอกเขตชลประทานสองลุ่มน้ำ กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับด้านน้ำจะมีการหารือ เพื่อทบทวนแผนบริหารจัดการปริมาณน้ำที่มีอยู่ในเขื่อน และน้ำท่าทั่วไปเพื่อนำมาบริหารจัดการให้เพียงพอในช่วงฤดูแล้งนี้ แต่อย่างไรก็ตาม ขณะนี้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้เร่งเข้าไปสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรถึงสถานการณ์น้ำขณะนี้ พร้อมประสานงานร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดร่วมดำเนินการล่วงหน้าแล้วเช่นกัน และตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.นี้เป็นต้นไปจะมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้ง และมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ผ่านกลไกของศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้ง 2558/59 ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการอำนวยการฯ ที่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นประธาน

    นอกจากนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบกำหนดตารางการปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาวิกฤตภัยแล้งนี้ โดยมอบหมายงานในแต่ละกระทรวง กำหนดแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรมช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ซึ่งกำหนดให้ส่งกลับมาที่กระทรวงเกษตรฯ ภายในวันที่ 21 ก.ย.  เพื่อเสนอกรอบมาตรการเข้าที่ประชุม ครม.อังคารที่ 22 ก.ย.นี้ หลังจากนั้นทุกหน่วยงานจะเสนอรายละเอียดแผนงาน โครงการ และงบประมาณมายังกระทรวงเกษตรฯ รวบรวมอีกครั้งภายในวันที่ 25 ก.ย.นี้ เพื่อนำมาประชุมร่วมกันในการประชุมคณะกรรมการอำนวยการบูรณาการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งปี 2558/598 ครั้งต่อไป ก่อนเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์ถัดไป

   "แผนงาน โครงการของกระทรวงเกษตรฯ ที่จัดทำไว้มี 6 โครงการ อาทิ การชะลอ หรือขยายระยะเวลาการชำระหนี้กับสหกรณ์ หรือกองทุนในกำกับของกระทรวงเกษตรฯ การจ้างงานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร การเสนอโครงการตามความต้องการของชุมชน เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดจะต้องนำมาบูรณาการกิจกรรม โครงการของกระทรวงอื่นๆ ที่มีกิจกรรมใกล้เคียงกัน และมีงบประมาณปกติรองรับอยู่แล้ว เช่น กิจกรรมของกระทรวงแรงงานในเรื่องการจ้างงานเพื่อสร้างอาชีพ เป็นต้น"พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

    สำหรับ การเร่งรัดดำเนินการจัดทำแก้มลิง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เร่งรัดทุกหน่วยงานดำเนินการนั้น ในส่วนของกระทรวงเกษตรฯ เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบอนุมัติงบกลางจำนวน 604 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโครงการแก้มลิง 30 แห่ง ในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครพนม 9 แห่ง หนองคาย 6 แห่ง เลย 3 แห่ง บึงกาฬ 4 แห่ง และมุกดาหาร 8 แห่ง เพื่อเก็บกักน้ำก่อนจะไหลลงสู่แม่น้ำโครง และโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำในลำน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างภายใน 2 สัปดาห์

  อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!