- Details
- Category: เกษตร
- Published: Friday, 28 August 2015 11:34
- Hits: 1911
สศก. เปิด 8 มุมมองสู่ทางรอดภาคเกษตรในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดมุมมองทางรอดภาคเกษตร ชูบทวิเคราะห์สู่การปรับโครงสร้างในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ชู 8 หลักมิติ เน้นร่วมมือ พึ่งพา พัฒนา ผลักดัน และส่งเสริม เพื่อสู่สู่ยุคคุณภาพและคุณธรรม
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะชะลอตัว จากปัจจัยทางเศรษฐกิจต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ จึงต้องเร่งรัดส่งเสริมภาคเกษตรให้ดีขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ทุ่มเงิน 1.44 ล้านล้านบาท เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ในส่วนของภาคเกษตรจะต้องปรับโครงสร้างภาคเกษตรอย่างเร่งด่วน โดยการดำเนินการประกอบด้วย 8 ด้านสำคัญ คือ 1) เน้นโครงการร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน (Public Private Partnership :PPP) ให้มากขึ้น เนื่องจากแต่เดิมโครงการความร่วมมือในลักษณะนี้จะเป็นไปเพื่อการดำเนินการในการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจคต์ (mega project) ดังนั้น จึงควรขยับขยายไปสู่โครงการขนาดที่เล็กลงมาถึงระดับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม SMEs เพื่อให้เกิดการร่วมมือ 2)เน้นการพึ่งพาตนเอง (Self Sufficient) ให้มากขึ้น จะเห็นได้ว่าประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น ถั่วเหลือง ข้าวโพดและพืชอื่นๆ อีกหลาย
ดังนั้น จึงควรเร่งพัฒนาผลิตสินค้าเกษตรเพื่อสามารถทดแทนการนำเข้า เช่น ส่งเสริมการปลูกถั่วเหลือง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย แพร่ แม่ฮ่องสอนและอื่นๆ ส่วนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พื้นที่จังหวัด นครราชสีมา สระบุรี ลพบุรีและอื่นๆ เป็นต้น หรือพัฒนาพันธุ์ให้สามารถให้ผลผลิตสูง ต้านทางโรคและแมลง 3) เน้นพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรปลายน้ำ โดยเน้นการแปรรูปสินค้าเกษตร เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม (value added) เช่น การคัดแยกเกรดสินค้า การสร้างเรื่องราวให้กับสินค้า (history) เน้นการค้นคว้าวิจัยเพื่อรองรับสรรพคุณเพื่อสุขภาพ รวมถึงพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น กำหนดตำแหน่งทางการตลาดที่ชัดเจน เป็นต้น เพื่อเป็นการยกระดับสินค้าให้มีความพิเศษมากกว่าสินค้าทั่วไป (blue ocean strategy) เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดใหม่ๆ ให้มากขึ้น 4) เน้นผลักดันส่งเสริมเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเกษตรรูปแบบใหม่ๆ รวมถึงเทคโนโลยีที่ได้รับการวิจัยแล้วว่าได้ผลนำไปสู่การประยุกต์ใช้ที่แท้จริง เช่น นาโนเทคโนโลยี เทคโนโลยีชีวภาพ อย่างการทำการเกษตรภายในอาคาร (indoor)การเกษตรกลางแจ้งรูปแบบใหม่ (outdoor) ที่อาศัย drone เครื่องจักรสมัยใหม่ ทดแทนแรงงานคนที่มีแนวโน้มอายุเพิ่มมากขึ้น การผลิตปุ๋ยอินทรีย์เคมีนาโนอัดเม็ดแบบละลายช้าล
ซึ่ง ขณะนี้ สวทช. ได้ดำเนินการวิจัยและกำลังอยู่ในระหว่างการขยายผลให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าปุ๋ยดังกล่าวได้ หรือมุ้งกันยุงที่มีการเคลือบสารฆ่าแมลง โดยใช้เทคโนโลยีนาโน วัสดุปรับปรุงดินจากผักตบชวา โดยใช้เทคโนโลยีเร่งให้เกิดการย่อยสลายผักตบชวาได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเตรียมขยายผลไปสู่ระดับอุตสาหกรรม เป็นต้น 5) เน้นส่งเสริมการปลูกพืชรองแซมพืชหลัก กรณีเกษตรกรผู้ปลูกไม้ยืนต้น เช่น ยางพารา ที่กินระยะเวลาดังกล่าวนานถึง 7 ปี ดังนั้น จึงควรส่งเสริมให้มีการปลูกพืชแซม เช่น พืชล้มลุกทั้งหลายก่อนที่ยางพาราจะให้ผลผลิต เช่น พริกไทย แตงโม ถั่วต่างๆ หรือสับปะรด เพื่อเป็นการเสริมรายได้ให้แก่เกษตรกร 6)เน้นส่งเสริมการปลูกพืชแบบหลายชนิด (multiple cropping) หรือ การปลูกพืชมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป ในพื้นที่เดียวกันในรอบปี เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านรายได้ และราคา
อีกทั้ง ยังเป็นการเพิ่มรายได้ต่อหน่วยพื้นที่และเป็นการสร้างสมดุลทางสิ่งแวดล้อมด้วย 7) เน้นสินค้าเกษตรสำหรับการบริโภคภายในประเทศให้เพียงพอมากขึ้น นอกจากเพื่อเป็นการลดการนำเข้าแล้วยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันและความมั่นคงทางด้านอาหารสำหรับประชากรในประเทศ รวมถึงการปกป้องสินค้าเกษตรภายในประเทศ ไม่ให้สินค้าเกษตรจากต่างประเทศเข้ามาโจมตีตลาดสินค้าไทยได้ เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้ประเทศไทย เช่น การผลิต กล้วย พืชผักต่างๆ ให้เพียงพอกับการบริโภคภายในประเทศ เพื่อรองรับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้มากขึ้น และสุดท้าย 8) เน้นสินค้าเกษตรเข้าสู่ยุค 'คุณภาพและคุณธรรม' โดยเกษตรกรผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ ผู้ผลิตหรือผู้แปรรูปต้องรับซื้อผลผลิตอย่างมีคุณธรรม เพื่อนำไปแปรรูปได้สินค้าที่มีคุณภาพ โดยไม่มีการเอารัดเอาเปรียบ จนทำให้มีปัญหาในการขับเคลื่อน ValueChainเช่น การผลิตข้าวปลอดภัย (GAP)ที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน และมีคุณภาพ ทำให้ผู้ผลิตเกิดความเชื่อมั่นที่จะรับซื้อในราคาที่สูงกว่าข้าวทั่วไป
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร