WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

567

เถ้าชีวมวล ของเหลือทรงคุณค่า ฟื้นดินเพื่อการเกษตร

     สิ่งของบางอย่างที่เราอาจมองว่าเป็นของเหลือใช้....หากลองศึกษาอย่างละเอียดและสร้างสรรค์ ก็จะสามารถดึงศักยภาพที่มีของสิ่งนั้นมาใช้ให้เกิดมูลค่าได้...เช่นเดียวกับ ‘เถ้าชีวมวล’ ของ เหลือจากการผลิตไฟฟ้าชีวมวล ที่สามารถพลิกฟื้นผืนดินให้กับภาคการเกษตร

บริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) หรือ NPS ผู้นำด้านพลังงานทดแทนจากพลังงานปลูกได้ ถือเป็นผู้ริ่เริ่มรายแรกๆ ในประเทศไทย ที่นำเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น แกลบ ชานอ้อย เปลือกไม้ เหง้ามัน ซังข้าวโพด และรากไม้ กลับมาใช้ประโยชน์เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าโดยการรับซื้อเศษวัสดุเหล่านั้นจากเกษตรกรในพื้นที่ ตามแนวคิด 'ทำของเหลือใช้ไม่ให้เสียของ' ซึ่งนอกจากจะสร้างความมั่นคงทางพลังงานและรักษาสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรด้วย โดยในแต่ละปีที่ผ่านมา NPS มีการรับซื้อเศษวัสดุทางการเกษตรจากเกษตรกรปีละไม่น้อยกว่า 1.5 ล้านตัน หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1,700 ล้านบาท

     จากแนวคิดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยการ “ทำของเหลือใช้ ไม่ให้เสียของ” นี้เอง ทำให้ NPS มีโครงการต่อยอดที่จะนำ “เถ้าชีวมวล” ซึ่งเป็นของเหลือจากการผลิตไฟฟ้า กลับมาใช้งานโดยผ่านการรับรองจากสำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ว่า เถ้าชีวมวลมีปริมาณธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์กับพืช ไม่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมจึงเกิดเป็นความร่วมมือกับหน่วยงานและเกษตรกรในพื้นที่ในการนำเถ้าชีวมวลไปใช้ผสมดินเพื่อเพิ่มความร่วนซุยของและช่วยปรับสภาพดิน ทั้งนี้ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน อันเนื่อง มาจากพระราชดำริ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ได้ขอการสนับสนุนเพื่อนำเถ้าชีวมวลไปผสมกับดินร่วนปนทรายและปุ๋ยหมักชีวภาพที่ทำจากเศษใบไม้และมูลสัตว์ สำหรับใช้เป็นวัสดุปลูกเพาะชำกล้าไม้ อาทิ ประดู่ ชิงชัน มะค่าโมง หญ้าแฝก และพืชสมุนไพร เพื่อแจกจ่ายกล้าไม้ให้กับประชาชน ตามโครงการเพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนให้กับชุมชน

     นางสาวกฤษณา ทิวาตรี รองผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ กล่าวว่า “ผลผลิตกล้าไม้ของศูนย์ฯมีจำนวน 260,000 กล้าไม้ต่อปี และมีการเพาะชำกล้าไม้ใช้สอย เช่น หญ้าแฝก ประมาณ 3-4 แสนกล้าไม้ต่อปี จึงมีความต้องการเถ้าชีวมวลมาใช้ผสมเป็นวัสดุปลูก และ NPS ก็ได้สนับสนุนเถ้าชีวมวลให้แก่ศูนย์ฯ นำมาใช้ปรับปรุงคุณภาพดิน โดยศูนย์เพาะกล้าไม้ขึ้นเพื่อแจกจ่ายกล้าไม้ที่มีคุณค่า ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ให้กับหน่วยงานและชุมชนรอบศูนย์ศึกษาต่อไป”

     ดร.วรกลต์ แจ่มจำรูญ หัวหน้างานสวนพฤษศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ว่า “เถ้าชีวมวลทำให้ดินร่วนซุยและอุ้มน้ำ เหมาะสมที่จะนำไปเป็นวัสดุเพาะชำกล้าไม้ ของศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนฯ เพื่อต่อยอดโครงการแจกจ่ายกล้าไม้ให้กับประชาชน และหน่วยงานราชการ อาทิ กรมป่าไม้ เป็นต้น”อีกหนึ่งกิจกรรมที่ NPS จัดขึ้นเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง นั่นก็คือ 'โครงการปลูกผักสวนครัว เพื่ออาหารกลางวัน' นำโดยพนักงานจิตอาสาที่มีความรู้ด้านการเกษตรของ NPS รวมกลุ่มจัดกิจกรรมที่ โรงเรียนวัดแหลมเขาจันทร์ ต.เขาหินซ้อน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา ให้ความรู้เรื่องการปลูกผักสวนครัว และการเตรียมดินโดยใช้เถ้าชีวมวลจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรของโรงไฟฟ้าชีวมวล เป็นส่วนผสมในการปรับปรุงดินเพื่อให้เหมาะกับการเพาะปลูก กิจกรรมนี้ น้องๆนักเรียนได้เรียนรู้ขั้นตอนการปลูกผักสวนครัว อาทิ ผักชี ผักคะน้า ผักบุ้ง เป็นต้น ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมดิน การเตรียมแปลงปลูก การโรยเมล็ด และการดูแลรดน้ำ เพื่อให้น้องๆเรียนรู้และดูแลผักสวนครัวได้ต่อเนื่อง ผักที่ได้จะนำไปประกอบอาหารกลางวันให้กับน้องๆด้วย

     นายสมศักดิ์ เช้าวันดี ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดแหลมเขาจันทร์ กล่าวว่า “เห็นด้วยและยินดีกับโครงการนี้ นอกจากจะส่งเสริมด้านโภชนาการแล้ว ยังทำให้นักเรียนได้สร้างเสริมประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบยั่งยืน เพราะกิจกรรมนี้ NPS ไม่ได้มาแค่จัดกิจกรรมแล้วจากไป แต่ยังคงให้ความรู้และปลูกฝังความรับผิดชอบแก่นักเรียน ให้พวกเขาดูแลแปลงปลูกผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง”

เด็กชายธนกรณ์ ศรีดาพงศ์ นักเรียน รร.วัดแหลมเขาจันทร์ หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ เล่าด้วยรอยยิ้มว่า “ผมชอบกิจกรรมปลูกผักสวนครัว เพราะสนุกและได้ความรู้ กิจกรรมนี้ทำให้ผมได้รู้ว่า เถ้าชีวมวลนำไปใช้เตรียมดินเพื่อปลูกผัก ทำให้ได้ผลผลิตดี ผมรู้สึกภูมิใจที่ได้ทานผักที่ปลูกเองด้วยครับ”

     นอกจากนี้ หลายปีที่ผ่านมา มีชาวบ้านที่ทำการเกษตรใกล้ ๆ กับโรงไฟฟ้า ติดต่อขอเถ้าชีวมวลไปใช้บำรุงดินเพื่อปลูกพืชต่างๆ เช่น กล้วย พริก มะเขือ มันสำปะหลัง เป็นต้น โดยชาวบ้านที่ เคยใช้เถ้าชีวมวลปรับปรุงดิน ต่างเห็นตรงกันว่าเถ้าชีวมวลช่วยให้พืชผลเจริญเติบโตได้ดี มีผลผลิตที่สูงขึ้น ลดภาระต้นทุนการเพาะปลูก ลดการใช้ปุ๋ยเคมี และยังเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างหมุนเวียนและคุ้มค่าอีกด้วย

     คุณสำรวย กรอกน้อย เจ้าของแปลงปลูกสมุนไพร เกษตรกรรายหนึ่งที่นำเถ้าชีวมวลไปใช้ในการปลูกพืช เล่าว่า “ตอนแรกไม่รู้ว่าทำไมต้นขมิ้นที่ป้าปลูกไว้ถึงโตขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มารู้ตอนหลังว่าป้าบังเอิญเทเถ้าไว้ที่แปลง หลังจากนั้นก่อนจะลงมือปลูกสมุนไพร ป้าก็จะเอาเถ้าไปปรับหน้าดินตลอด ไม่เคยผิดหวัง เพราะดินก็ออกมาร่วนซุย สมุนไพรที่ปลูกไว้ก็สวยงาม”

     ด้วยความเชื่อและแนวคิดที่ว่า ทุกสิ่งล้วนมีประโยชน์และเราสามารถ “ทำของเหลือใช้ ไม่ให้เสียของ” ทำให้ NPS คิดและทำให้สิ่งไร้ค่าในอดีตอย่าง “เศษวัสดุทางการเกษตร” กลับกลายเป็น “พลังงานไฟฟ้า” และเมื่อเกิดของเหลือจากการผลิตไฟฟ้าอย่าง “เถ้าชีวมวล” เราก็ยังสามารถทำให้กลายเป็นสิ่งมีคุณค่า เพื่อสร้างประโยชน์กลับคืนสู่การเกษตรอีกครั้งการพัฒนาอย่างยั่งยืนเพื่อให้เกิดประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าเราทุกคนช่วยกันคิดใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า และรู้คุณค่า

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!