WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Agricuttureก.เกษตรฯ จัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดินเน้นวางแผนจัดระบบชลประทาน

    นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงทิศทางการพัฒนางานจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2558 ว่า สาระสำคัญที่เพิ่มเติมขึ้นในกฎหมายใหม่ คือ การจัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน โดยกฎหมายใหม่กำหนดให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง จัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน ประกอบด้วย แผนแม่บทการจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม และแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร เจ้าของที่ดินและชุมชน โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ โดยงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม (งานคันและคูน้ำเดิม) กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยการคัดเลือกคณะกรรมการจัดระบบน้ำชุมชน และแต่งตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่เข้ามาร่วมกับกรมชลประทานในการพิจารณาจัดทำระบบชลประทาน โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินในการจัดทำระบบชลประทานผ่านที่ดินของตน ส่วนงานจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เจ้าของที่ดินในแนวเขตแผนผังโครงการจัดรูปที่ดิน ต้องแสดงความยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่าสามในสี่ และมีจำนวนพื้นที่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง โดยต้องมีการคัดเลือกคณะกรรมการจัดรูปที่ดินชุมชน และแต่งตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่ เข้ามามีส่วนร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาแผนผังโครงการจัดรูปที่ดินก่อน จึงจะดำเนินการจัดรูปที่ดินได้

     สำหรับ ผลประโยชน์จากกฎหมายใหม่ ได้แก่ 1) รัฐสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายการก่อสร้างงานจัดระบบน้ำและงานจัดรูปที่ดิน โดยไม่จำกัดวงเงิน 2) เกษตรกรสามารถเป็นผู้ร้องขอให้ดำเนินการจัดทำงานจัดระบบน้ำและจัดรูปที่ดินได้ โดยได้ระบุไว้ในกฎหมาย 3) มีโอกาสสูงที่จะได้รับการสนับสนุนให้ดำเนินการ เนื่องจากกฎหมายระบุให้จัดทำแผนแม่บทระยะยาว และต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี 4) มีโอกาสสูงที่จะได้รับการพัฒนาที่ดิน ส่งเสริมการผลิตและการตลาด เนื่องจากเป็นไปตามนโยบายของรัฐ เช่น มีความสอดคล้องกับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ 5) ในการสร้างระบบน้ำ เกษตรกรอาจร้องขอให้มีการก่อสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา เช่นเดียวกับการจัดรูปที่ดิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของที่ดินในการประกอบการผลิตและการขนส่งลำเลียง พื้นที่ที่มีความพร้อม มีศักยภาพในการผลิตสูง เป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนพืชผลการผลิต และ 6) หน่วยงานส่วนต่างๆ สามารถบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพหรือส่งเสริมการรวมกลุ่มได้ และในภาวะบุคลากรขาดแคลน กลุ่มผู้ใช้น้ำหรือสหกรณ์ผู้ใช้น้ำรับภาระหน้าที่ไปดำเนินการเองได้

     ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตร 149,240,058 ไร่ โดยจัดการเป็นพื้นที่ชลประทานแล้ว 30,257,545 ไร่ และมีพื้นที่รับประโยชน์ 12,605,261 ไร่ รวมเป็นเป็นพื้นที่เป้าหมาย 42,862,806 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานในไร่นา 12,849,402 ไร่ ณ ปี 2558 แยกเป็นพัฒนางานจัดรูปที่ดิน 1,994,309 ไร่ และพัฒนาเป็นงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม 10,855,093 ไร่ อีกทั้งยังมีพื้นที่เป้าหมายที่จะพัฒนาต่อไป 30,013,404 ไร่ มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาชลประทานในไร่นาอีก 5,762,428 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมพัฒนาเป็นงานจัดรูปที่ดิน 1,202,013 ไร่ และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมพัฒนาเป็นงานระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม 4,560,415 ไร่

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!