- Details
- Category: เกษตร
- Published: Saturday, 08 August 2015 13:35
- Hits: 2710
ภัยแล้งฉุดผลผลิตปาล์มลด กนป. ย้ำ เร่งแก้ไขปัญหารับซื้อปาล์ม - เดินหน้า พ.ร.บ. เต็มที่
กนป. แจงสถานการณ์ปาล์มน้ำมันปี 58 เผย ภัยแล้งกระทบต่อเนื่อง ฉุดผลผลิตออกตลาดลดลงร้อยละ 2 ระบุ ขณะนี้ประสานผู้ว่าราชการทุกจังหวัด หาแนวทางแก้ไขปัญหารับซื้อผลปาล์มกับโรงงานสกัด เกรด B และลานเทในพื้นที่แล้ว ย้ำ เดินหน้าตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มของเกษตรกร เร่งพัฒนาโรงงานสกัด และ พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.)เปิดเผยถึงสถานการณ์ปาล์มน้ำมันในขณะนี้ว่า จากภาวะภัยแล้งตั้งแต่ปี 2557 ต่อเนื่องถึงปี 2558 ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันใน ปี 2558 ออกสู่ตลาดน้อยลง เมื่อพิจารณาผลผลิตปาล์มน้ำมันทั้ง 3 ไตรมาสของปี 2558 พบว่าผลผลิตไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 มีปริมาณ 2.426 ล้านตัน 4.055 ล้านตัน และ 2.712 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2557 พบว่า ผลผลิตลดลงทุกไตรมาส คิดเป็นร้อยละ 20.23 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 10.31 ตามลำดับ
สำหรับ ในไตรมาส 4 (ตุลาคม – ธันวาคม) คาดว่าผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในแหล่งปลูกที่สำคัญทำให้ ไตรมาส 4 ปริมาณผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม สศก. จะได้ติดตามและตรวจสอบสถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ เพื่อประเมินผลผลิตในช่วงไตรมาส 4 ต่อไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณในรูปน้ำมันปาล์มดิบ พบว่า ในปี 2558 จะสามารถสามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 2.03 ล้านตัน และเมื่อบวกกับสต็อกต้นปี 0.17 ล้านตัน รวมทั้งมีการนำเข้าในช่วงต้นปี 0.05 ล้านตัน คาดว่า ทั้งปีจะมีน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมด 2.25 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในปี 2558 คาดว่ามีประมาณ 1.87 ล้านตัน โดยแบ่งเป็น ความต้องการใช้เพื่อการบริโภค-อุปโภค 0.95 ล้านตัน เพื่อผลิตไบโอดีเซล 0.85 ล้านตัน และเพื่อการส่งออก 0.07 ล้านตัน จึงคาดว่า ปลายปี 2558 จะมีสต็อกประมาณ 0.38 ล้านตัน อย่างไรก็ตามสต็อกจะเพิ่มขึ้น - ลดลงจากที่คาดไว้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลผลิตในไตรมาส 4 ซึ่ง สศก. จะลงไปติดตามและตรวจสอบสถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมัน
ด้านการเคลื่อนไหวของราคาผลปาล์ม (FFB.) และราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO.) จากสถานการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึง ต้นปี 2558 ส่งผลทำให้ ในช่วง มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ราคาผลปาล์มเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 4.67 – 6.05 บาท/กก. (CPO 32.50 – 37.25 บาท/กก.) และเมื่อผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ราคาจึงเริ่มลดลงตั้งแต่ 17 มีนาคม – 22 พฤษภาคม 2558 ซึ่งราคาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 2.93 – 4.10 บาท/กก (CPO 24.75 – 28.50 บาท/กก.) และหลังจากมีมาตรการให้ซื้อผลปาล์มทั้งทะลาย (ไม่แยกลูกร่วง) ตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 17% ส่งผลให้ราคาผลปาล์มตั้งแต่วันที่ 23 – 31 พฤษภาคม 2558 ราคามีการปรับตัวตามคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมัน อยู่ระหว่าง 4.13 - 4.20 บาท/กก. (CPO 26.63 – 27.75 บาท/กก.)
สำหรับ ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ผลผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม และคาดว่าผลผลิตในไตรมาส 3 จะเป็นช่วงที่มีผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่น ทำให้โรงงานสกัดซื้อผลปาล์มในราคาที่สูงกว่าราคาแนะนำ โดยมีราคาอยู่ระหว่าง 4.27 – 4.67 บาท/กก. และโรงกลั่นฯ กำหนดราคารับซื้อ CPO อยู่ระหว่าง 26.63 – 27.88 บาท/กก. ส่วนในเดือนกรกฎาคม 2558 ราคาผลปาล์ม อยู่ระหว่าง 3.74 – 4.15 บาท/กก. เนื่องจากโรงกลั่นฯ ส่วนใหญมีการชะลอการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดฯ และรับซื้อในราคาที่ต่ำกว่า 26.20 บาท/กก. ในขณะที่โรงงานสกัดจำนวนหนึ่งเริ่มรับซื้อปาล์มน้ำมัน 4.20 บาท/กก.
ด้านผลการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบ ตามมติ กนป. ครั้งที่ 3/2558 เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2558 ที่ได้กำหนดมาตรการต่างๆ คือ มาตรการระยะสั้น ในส่วนของการรับซื้อผลปาล์มทะลายและผลปาล์มร่วง ในราคาเดียวกัน” อัตราน้ำมันร้อยละ 17 ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 4.20 บาท ณ หน้าโรงสกัดฯ/ลานเท (การแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วน) พบว่า โรงงานสกัดฯ ได้ดำเนินการรับซื้อเป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(สกกร.) โดยมีการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันทะลายและร่วงราคาเดียวกันในราคา 4.20บาท/กก. ณ 17% อย่างไรก็ตาม จากการติดตามยังมีลานเทรับซื้อแยกผลปาล์มร่วงในราคาที่สูงกว่าผลปาล์มทะลาย และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B รับซื้อผลปาล์มร่วงอย่างเดียว โดยลานเทรับซื้อผลปาล์มทะลาย ณ ลานเท กิโลกรัมละ 3.10 - 4.20 บาท และผลปาล์มร่วง กิโลกรัมละ 4.00 - 5.00 บาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กรมการค้าภายใน ได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหารับซื้อผลปาล์มกับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B และลานเทในพื้นที่แล้ว
มาตรการระยะ 3 เดือน การดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกปาล์มของเกษตรกร เพื่อให้ได้ข้อมูลการผลิตที่ถูกต้อง ในคราวประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 จึงมีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ขึ้น เพื่อดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ และจากการรายงานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกับกรมส่งเสริมกรเกษตร พบว่าปัจจุบันมีเกษตรมาขึ้นทะเบียนแล้วมากกว่า 1.7 แสนครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ปลูกมากกว่า 3 ล้านไร่ และในจำนวนดังกล่าวเป็นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิประมาณ 7 แสนไร่ และยังไม่รวมถึงพื้นที่ปลูกปาล์มของภาคเอกชนที่มีขนาดแปลงที่ค่อนข้างใหญ่และไม่ประสงค์ที่จะมาขึ้นทะเบียน และพื้นที่ปลูกที่อยู่ในป่า
ดังนั้น คณะทำงานฯชุดดังกล่าวจึงได้นำภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA. ภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่ป่าไม้ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจน และพื้นที่ไหนที่ยังเป็นปัญหา คณะทำงานฯ ชุดนี้ ก็จะต้องลงไปในพื้นที่ร่วมกับสภาเกษตรกร เพื่อยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนในการบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาได้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ทั้งระบบ ในคราวประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2558 ได้มีการตั้งคณะทำงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ชุด คือ คณะทำงานบูรณาการข้อมูลด้านผลผลิตปาล์มน้ำมันการใช้และสต็อกน้ำมันปาล์ม และคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์ม
มาตรการระยะยาว ได้กำหนดแนวทางไว้ 2 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และ 2) เร่งรัดดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับการพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม กนป.ครั้งที่ 4/2558 ในคราวเดียวกัน ได้มีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อศึกษาและจัดทำแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B สามารถพัฒนาเป็นโรงงานสกัดแบบแยกเมล็ดในได้ (โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A) และให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A สามารถผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากน้ำมันปาล์มได้ สำหรับในส่วนเรื่องของการเร่งรัดการยกร่าง พรบ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้แล้วเสร็จโดยเร็ว นั้น คณะอนุกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน กำกับ และจัดทำร่าง พรบ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ขึ้นมาเพื่อมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และคาดว่าคณะทำงานฯ ชุดดังกล่าวจะสามารถดำเนินการยกร่าง พรบ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้แล้วเสร็จ และสามารถนำร่างพ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มฉบับดังกล่าว นำเสนอต่อ กนป. เพื่อพิจารณาได้ทันภายในเดือนตุลาคม นี้ ก่อนที่จะนำร่าง พรบ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ลงไปประชาพิจารณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ แลนำร่าง พรบ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม นำเสนอ ต่อ ครม. เพื่อพิจารณา ต่อไป
สำหรับ ทิศทางอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยในอนาคต ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้มีความยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และพลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน การส่งเสริมการบริหารจัดการภายในสวนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบ การตัดแต่งทางใบปาล์ม การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสุกซึ่งจะให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง การจัดการสวนปาล์มหลังเก็บเกี่ยวที่ดี และการส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมันลดลง ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ยกร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ปี 2558-2569 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอ ครม. ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และการใช้ฐานทรัพยากรการผลิตอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
กนป.แจงภัยแล้งฉุดผลผลิตลดลง-เร่งแก้ปัญหารับซื้อ-เร่งยกร่างพ.ร.บ.ปาล์มฯ
นายคนิต ลิขิตวิทยาวุฒิ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการประชาสัมพันธ์ผลการดำเนินการของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ(กนป.) กล่าวว่า จากภาวะภัยแล้งตั้งแต่ปี 2557 ต่อเนื่องถึงปี 2558 ส่งผลให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันในปี 2558 ออกสู่ตลาดน้อยลง เมื่อพิจารณาผลผลิตปาล์มน้ำมันทั้ง 3 ไตรมาสของปี 2558 พบว่าผลผลิตไตรมาสที่ 1 ไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 มีปริมาณ 2.426 ล้านตัน, 4.055 ล้านตัน และ 2.712 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งเมื่อเทียบกับปี 2557 พบว่า ผลผลิตลดลงทุกไตรมาส คิดเป็นร้อยละ 20.23 ร้อยละ 7.01 และร้อยละ 10.31 ตามลำดับ
สำหรับ ในไตรมาส 4(ต.ค.-ธ.ค.58) คาดว่าผลผลิตมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากในไตรมาส 3 เนื่องจากในช่วงไตรมาส 3 มีฝนตกอย่างต่อเนื่องในแหล่งปลูกที่สำคัญทำให้ไตรมาส 4 ปริมาณผลผลิตอาจเพิ่มขึ้นได้ ซึ่ง สศก.จะได้ติดตามและตรวจสอบสถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมันในภาคใต้ เพื่อประเมินผลผลิตในช่วงไตรมาส 4 ต่อไป
เมื่อคำนวณในรูปน้ำมันปาล์มดิบ พบว่า ในปี 2558 จะสามารถสามารถผลิตน้ำมันปาล์มดิบได้ประมาณ 2.03 ล้านตัน และเมื่อบวกกับสต็อกต้นปี 0.17 ล้านตัน รวมทั้งมีการนำเข้าในช่วงต้นปี 0.05 ล้านตัน คาดว่า ทั้งปีจะมีน้ำมันปาล์มดิบทั้งหมด 2.25 ล้านตัน ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มดิบในปี 2558 คาดว่ามีประมาณ 1.87 ล้านตัน โดยแบ่งเป็น ความต้องการใช้เพื่อการบริโภค-อุปโภค 0.95 ล้านตัน เพื่อผลิตไบโอดีเซล 0.85 ล้านตัน และเพื่อการส่งออก 0.07 ล้านตัน จึงคาดว่า ปลายปี 2558 จะมีสต็อกประมาณ 0.38 ล้านตัน อย่างไรก็ตามสต็อกจะเพิ่มขึ้น - ลดลงจากที่คาดไว้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับผลผลิตในไตรมาส 4 ซึ่ง สศก. จะลงไปติดตามและตรวจสอบสถานการณ์การผลิตปาล์มน้ำมัน
ด้านการเคลื่อนไหวของราคาผลปาล์ม (FFB.) และราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO.) จากสถานการณ์ผลผลิตปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาด ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึง ต้นปี 2558 ส่งผลทำให้ ในช่วง มกราคม ถึง กุมภาพันธ์ ราคาผลปาล์มเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 4.67-6.05 บาท/กก.(CPO 32.50-37.25 บาท/กก.) และเมื่อผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ราคาจึงเริ่มลดลงตั้งแต่ 17 มี.ค.-22 พ.ค.58 ซึ่งราคาเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 2.93-4.10 บาท/กก(CPO 24.75-28.50 บาท/กก.) และหลังจากมีมาตรการให้ซื้อผลปาล์มทั้งทะลาย(ไม่แยกลูกร่วง) ตามเปอร์เซ็นต์น้ำมันไม่ต่ำกว่า 17% ส่งผลให้ราคาผลปาล์มตั้งแต่วันที่ 23-31 พ.ค.58 ราคามีการปรับตัวตามคุณภาพเปอร์เซ็นต์น้ำมันอยู่ระหว่าง 4.13-4.20 บาท/กก.(CPO 26.63-27.75 บาท/กก.)
ส่วนในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมานั้น ผลผลิตลดลงจากเดือนพฤษภาคม และคาดว่าผลผลิตในไตรมาส 3 จะเป็นช่วงที่มีผลปาล์มออกสู่ตลาดน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับไตรมาสอื่น ทำให้โรงงานสกัดซื้อผลปาล์มในราคาที่สูงกว่าราคาแนะนำ โดยมีราคาอยู่ระหว่าง 4.27-4.67 บาท/กก. และโรงกลั่นฯ กำหนดราคารับซื้อ CPO อยู่ระหว่าง 26.63-27.88 บาท/กก. ส่วนในเดือนกรกฎาคม 2558 ราคาผลปาล์ม อยู่ระหว่าง 3.74-4.15 บาท/กก. เนื่องจากโรงกลั่นฯ ส่วนใหญมีการชะลอการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบจากโรงงานสกัดฯ และรับซื้อในราคาที่ต่ำกว่า 26.20 บาท/กก. ในขณะที่โรงงานสกัดจำนวนหนึ่งเริ่มรับซื้อปาล์มน้ำมัน 4.20 บาท/กก.
สำหรับ ผลการดำเนินมาตรการแก้ไขปัญหาราคาปาล์มน้ำมันทั้งระบบตามมติ กนป.ที่กำหนดมาตรการสั้น ในส่วนของการรับซื้อผลปาล์มทะลายและผลปาล์มร่วงในราคาเดียวกัน อัตราน้ำมันร้อยละ 17 ไม่ต่ำกว่า กก.ละ 4.20 บาท ณ หน้าโรงสกัดฯ/ลานเท พบว่า โรงงานสกัดฯ ได้ดำเนินการรับซื้อเป็นไปตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(สกกร.) โดยมีการปิดป้ายแสดงราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันทะลายและร่วงราคาเดียวกันในราคา 4.20บาท/กก. ณ 17%
อย่างไรก็ตาม จากการติดตามยังมีลานเทรับซื้อแยกผลปาล์มร่วงในราคาที่สูงกว่าผลปาล์มทะลาย และโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B รับซื้อผลปาล์มร่วงอย่างเดียว โดยลานเทรับซื้อผลปาล์มทะลาย ณ ลานเท กิโลกรัมละ 3.10-4.20 บาท และผลปาล์มร่วง กิโลกรัมละ 4.00-5.00 บาท ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะได้มีการติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป ทั้งนี้ กรมการค้าภายในได้ประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหารับซื้อผลปาล์มกับโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B และลานเทในพื้นที่แล้ว
มาตรการระยะ 3 เดือน การดำเนินการตรวจสอบพื้นที่เพาะปลูกปาล์มของเกษตรกร เพื่อให้ได้ข้อมูลการผลิตที่ถูกต้องในคราวประชุม กนป.ครั้งที่ 4/2558 เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2558 จึงมีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันขึ้น เพื่อดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทั้งหมด ทั้งที่มีเอกสารสิทธิ์และไม่มีเอกสารสิทธิ์ และจากการรายงานข้อมูลการขึ้นทะเบียนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันกับกรมส่งเสริมกรเกษตร พบว่าปัจจุบันมีเกษตรมาขึ้นทะเบียนแล้วมากกว่า 1.7 แสนครัวเรือน คิดเป็นพื้นที่ปลูกมากกว่า 3 ล้านไร่ และในจำนวนดังกล่าวเป็นที่ที่ไม่มีเอกสารสิทธิประมาณ 7 แสนไร่ และยังไม่รวมถึงพื้นที่ปลูกปาล์มของภาคเอกชนที่มีขนาดแปลงที่ค่อนข้างใหญ่และไม่ประสงค์ที่จะมาขึ้นทะเบียน และพื้นที่ปลูกที่อยู่ในป่า
ดังนั้น คณะทำงานฯชุดดังกล่าวจึงได้นำภาพถ่ายดาวเทียมของ GISTDA ภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่ป่าไม้ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาพถ่ายดาวเทียมพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มาพิจารณาร่วมกันเพื่อให้เกิดความชัดเจน และพื้นที่ไหนที่ยังเป็นปัญหา คณะทำงานฯ ชุดนี้ก็จะต้องลงไปในพื้นที่ร่วมกับสภาเกษตรกร เพื่อยืนยันความถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งคณะทำงานตรวจสอบพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ นอกจากนี้ เพื่อให้มีข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วนในการบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาได้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ทั้งระบบ ในคราวประชุม กนป. ครั้งที่ 4/2558 ได้มีการตั้งคณะทำงานเพิ่มขึ้นอีก 2 ชุด คือ คณะทำงานบูรณาการข้อมูลด้านผลผลิตปาล์มน้ำมันการใช้และสต็อกน้ำมันปาล์ม และคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อตรวจสอบสต็อกน้ำมันปาล์ม
ส่วนมาตรการระยะยาว ได้กำหนดแนวทางไว้ 2 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม และ 2) เร่งรัดดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว สำหรับการพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม กนป.ครั้งที่ 4/2558 ในคราวเดียวกัน ได้มีมติเห็นชอบให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม เพื่อศึกษาและจัดทำแนวทางส่งเสริมและสนับสนุนในการพัฒนาโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด B สามารถพัฒนาเป็นโรงงานสกัดแบบแยกเมล็ดในได้ (โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A) และให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มเกรด A สามารถผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากน้ำมันปาล์มได้
ขณะที่มีการเร่งรัดการยกร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้แล้วเสร็จโดยเร็วนั้น คณะอนุกรรมการยกร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2558 ได้มีการแต่งตั้งคณะทำงาน กำกับ และจัดทำร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ขึ้นมาเพื่อมาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว และคาดว่าคณะทำงานฯ ชุดดังกล่าวจะสามารถดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ. ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มให้แล้วเสร็จ และสามารถนำร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มฉบับดังกล่าว นำเสนอต่อ กนป. เพื่อพิจารณาได้ทันภายในเดือน ต.ค.นี้ ก่อนที่จะนำร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม ลงไปประชาพิจารณ์เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่ และนำร่าง พ.ร.บ.ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์ม นำเสนอ ต่อ ครม. เพื่อพิจารณาต่อไป
"ร่างพ.ร.บ.ปาล์มฯถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนา ช่วยเหลือ ปรับปรุงอุตสาหกรรมปาล์มในอนาคต เพราะจัดทำโดยทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมปาล์ม ซึ่งเมื่อมีผลบังคับใช้ทุกภาคส่วนก็ต้องเดินตามพ.ร.บ.นี้"นายคณิต กล่าว
สำหรับ ทิศทางอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยในอนาคต ควรให้ความสำคัญในเรื่องของการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันให้มีความยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านอาหาร และพลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในเรื่องของการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การใช้เครื่องจักรทดแทนแรงงาน การส่งเสริมการบริหารจัดการภายในสวนที่ดี โดยเฉพาะเรื่องการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบ การตัดแต่งทางใบปาล์ม การเก็บเกี่ยวผลปาล์มสุกซึ่งจะให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง การจัดการสวนปาล์มหลังเก็บเกี่ยวที่ดี และการส่งเสริมการผลิตน้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO ซึ่งจะช่วยให้ต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมันลดลง
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้ยกร่างยุทธศาสตร์ปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มปี 2558-2569 เสร็จเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนเสนอ ครม. ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปใช้เป็นกรอบและแนวทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อสนับสนุนความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน ลดความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ และการใช้ฐานทรัพยากรการผลิตอย่างยั่งยืนได้ต่อไป
"ยุทธศาสตร์จะดูแลตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ต้องให้องค์ความรู้เรื่องการตัดปาล์มที่มีคุณภาพจริงๆ ดูแลเรื่องต้นทุนการผลิต ฯลฯ คาดว่าจะเสนอ ครม.เร็วๆนี้"
อินโฟเควสท์