WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Agricuttureก.เกษตรฯ เดินหน้าทำแผนแม่บทจัดรูปที่ วางแผนจัดระบบชลประทาน

       นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิด เผยถึงทิศทางการพัฒนางานจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อ เกษตรกรรม พ.ศ. 2558 ว่า สาระสำคัญที่เพิ่มเติมขึ้นในกฎหมายใหม่ คือ การจัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน โดยกฎหมายใหม่ กำหนดให้สำนักงานจัดรูปที่ดินกลาง จัดทำแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน ประกอบด้วย แผนแม่บทการจัด ระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม และแผนแม่บทการจัดรูปที่ดิน และการมีส่วนร่วมของเกษตรกร เจ้าของ ที่ดินและชุมชน โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนออกแบบ โดยงานจัดระบบน้ำเพื่อ เกษตรกรรม (งานคันและคูน้ำเดิม) กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วม โดยการคัดเลือกคณะกรรมการ จัดระบบน้ำชุมชน และแต่งตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่เข้ามาร่วมกับกรมชลประทานในการ พิจารณาจัด ทำระบบชลประทาน โดยต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดินในการจัดทำระบบชลประทานผ่าน ที่ดิน ของตน ส่วนงานจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เจ้าของที่ดินในแนวเขตแผนผังโครงการจัดรูปที่ดิน ต้องแสดงความยินยอมเข้าร่วมโครงการฯ ไม่น้อยกว่าสามในสี่ และมีจำนวนพื้นที่ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง โดยต้องมีการคัดเลือกคณะกรรมการจัดรูปที่ดินชุมชน และแต่งตั้งผู้บริหารท้องถิ่นในพื้นที่ เข้ามามีส่วน ร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการพิจารณาแผนผังโครงการจัดรูป ที่ดินก่อน จึงจะดำเนินการจัดรูปที่ดินได้

     สำหรับ ผลประโยชน์จากกฎหมายใหม่ ได้แก่ 1) รัฐสามารถสนับสนุนค่าใช้จ่ายการก่อสร้างงานจัด ระบบน้ำและงานจัดรูปที่ดิน โดยไม่จำกัดวงเงิน 2) เกษตรกรสามารถเป็นผู้ร้องขอให้ดำเนินการจัด ทำงานจัดระบบน้ำและจัดรูปที่ดิน ได้ โดยได้ระบุไว้ในกฎหมาย 3) มีโอกาสสูงที่จะได้รับการสนับ สนุนให้ดำเนินการ เนื่องจากกฎหมายระบุให้จัดทำแผนแม่บทระยะยาว และต้องได้รับการอนุมัติจาก คณะรัฐมนตรี 4) มีโอกาสสูงที่จะได้รับการพัฒนาที่ดิน ส่งเสริมการผลิตและการตลาด เนื่องจากเป็น ไปตามนโยบายของรัฐ เช่น มีความสอดคล้องกับนโยบายเกษตรแปลงใหญ่ 5) ในการสร้างระบบน้ำ เกษตรกรอาจร้องขอให้มีการก่อสร้างถนนหรือทางลำเลียงในไร่นา เช่นเดียวกับการจัดรูปที่ดิน ซึ่ง สิ่งเหล่านี้จะอำนวยความสะดวกแก่เจ้าของที่ดินในการประกอบการผลิตและการ ขนส่งลำเลียง พื้นที่ ที่มีความพร้อม มีศักยภาพในการผลิตสูง เป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกรที่จะปรับเปลี่ยนพืชผลการผลิต และ 6) หน่วยงานส่วนต่าง ๆ สามารถบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพหรือส่งเสริมการรวม กลุ่มได้ และในภาวะบุคลากรขาดแคลน กลุ่มผู้ใช้น้ำหรือสหกรณ์ผู้ใช้น้ำรับภาระหน้าที่ไปดำเนินการเองได้

    ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ทางการเกษตร 149,240,058 ไร่ โดยจัดการเป็นพื้นที่ชลประทานแล้ว 30,257,545 ไร่ และมีพื้นที่รับประโยชน์ 12,605,261 ไร่ รวมเป็นเป็นพื้นที่เป้าหมาย 42,862,806 ไร่ พัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานในไร่นา 12,849,402 ไร่ ณ ปี 2558 แยกเป็นพัฒนา งานจัดรูปที่ดิน 1,994,309 ไร่ และพัฒนาเป็นงานจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม 10,855,093 ไร่ อีกทั้งยังมีพื้นที่เป้าหมายที่จะพัฒนาต่อไป 30,013,404 ไร่ มีพื้นที่ที่มีความเหมาะสมที่จะพัฒนาชล ประทานในไร่นาอีก 5,762,428 ไร่ แยกเป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมพัฒนาเป็นงานจัดรูปที่ดิน 1,202,013 ไร่ และพื้นที่ที่มีความเหมาะสมพัฒนาเป็นงานระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม 4,560,415 ไร่

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!