WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AGRIlogoเตือนเกษตรกร ระวังไรแดงระบาดในต้นมันฯ สศท.11 เผยพบ 2 อ. ในพื้นที่ จ. อุบลราชธานี ระบาดแล้ว

      สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ระวังการระบาดของไรแดง ที่มักระบาดในฤดูแล้ง และจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบทำให้สูญเสียคลอโรฟิลล์ เผย พบพื้นที่ อ.น้ำยืน และ อ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี มีการระบาดแล้ว แนะ เกษตรกรเตรียมทำการป้องกัน และหมั่นสังเกตต้นมันสำปะหลังอย่างใกล้ชิด

     นายไพฑูรย์ สีลาพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ขอให้เกษตรกรระวังการระบาดของไรแดงในมันสำปะหลัง ซึ่งกำลังระบาดในเขตพื้นที่ อ.น้ำยืน อ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี โดยไรแดง เป็นศัตรูสำคัญอีกชนิดหนึ่งของมันสำปะหลังที่มักระบาดในฤดูแล้งหรือเมื่อฝนทิ้งช่วง และจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบ ทำให้ใบสูญเสียคลอโรฟิลล์ หากระบาดรุนแรง จะเคลื่อนย้ายไปดูดกินบนยอดอ่อนสร้างเส้นใย ปลูกคลุมใบและลำต้น ทำให้ผิวใบด้านบน เป็นจุดด่าง สีเหลืองชีด ยอดไหม้ ใบเหี่ยวแห้ง และร่วง หากเกษตรกรพ่นสารป้องกันกำจัดได้ทัน ก็จะสามาถยับยั้งการระบาดได้ดังนั้นในช่วงนี้ขอให้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง มั่นตรวจตราดูแลแปลง มันสำปะหลังของตนเองเป็นพิเศษ

       ทั้งนี้ อ.น้ำยืน และอ.น้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ถือเป็นแหล่งผลิตมันสำปะหลัง โดยมีเนื้อที่เก็บเกี่ยว ประมาณ  120,818  ไร่ และมีผลผลิตเฉลี่ย 563,366 ตัน โดยในสภาพธรรมชาติ แปลงมันสำปะหลังจะมีศัตรูธรรมชาติที่คอยทำลายแมลงศัตรูอยู่มาก แต่ระยะที่ผ่านมาเริ่มมีการใช้สารเคมีในแปลงมันสำปะหลังมากขึ้น ทำให้ศัตรูธรรมชาติถูกทำลาย ชึ่งจะส่งผลทำให้ผลผลิตเสียหายจึงมีการระบาดของศัตรูพืช เช่น เพลี้ยแป้ง ไรแดง และแมลงหวี่ขาวที่รุนแรงมากขึ้น โดยกรณีที่ไรแดงระบาดรุ่นแรง กลุ่มกีฎวิทยา สำนักวิจัยและพัฒนาอารักขาพืชผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร ได้แนะนำให้แก้ไขเบื้องต้นด้วยการฉีดพ่นสารเคมี ดังนี้

     1. ไพริดาเบน (Pyridaben) 20% ดับบลิวพี อัตรา 10 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

     2. เพนบูตาติน ออกไชด์ (Fenbutatin Oxide) 55 % เอสชี อัตรา 10 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

     3. เตตราไดฟอน(Tetradifon) 7.25 % อีชี อัตรา 50ซีซี /น้ำ 20 ลิตร

     อย่างไรก็ตาม การใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นชนิดเดียวกันติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรสลับชนิดสารเพื่อป้องกันการต้านทานต่อสาร และเพื่อรักษาผลผลิตของท่าน ถ้าพบให้ทำลายทิ้งเสีย หากปล่อยให้ระบาดทั่วทั้งแปลงโดยไม่หมั่นตรวจตราเป็นพิเศษ ผลผลิตจะได้รับความเสียหาย 100% จึงขอเตือนเกษตรกรให้เตรียมทำการป้องกันและหมั่นสังเกตต้นมันสำปะหลัง หากสงสัย สามารถขอรายละเอียดและคำแนะนำเพิ่มเติมเบื้องต้นได้ที่ สำนักวิจัยและพัฒนาอารักขาพืชผู้เชี่ยวชาญด้านแมลงศัตรูพืช กรมวิชาการเกษตร หรือ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี โทร. 045 344 653-4 ในวันและเวลาราชการ

   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!