WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

RIDกรมชลประทานกรมชลฯ ปรับเพิ่มการระบายน้ำเป็น 19 ล้านลบ.ม./วัน ช่วยพื้นที่เกษตร 22 จ.ลุ่มน้ำเจ้าพระยา หลังฝนตกเติมน้ำในเขื่อนเพิ่มต่อเนื่อง

      พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยกรมชลประทานระบายน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภคบริโภค และการดูแลระบบนิเวศน์บริเวณลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพิ่มเป็นวันละ 19 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) หลังมีปริมาณน้ำลงเขื่อนหลักมีเพิ่มมากขึ้น

     "สถานการณ์น้ำดียิ่งอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งปัจจุบันกระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทานได้ปรับปริมาณการระบายน้ำจากเดิมที่เคยกำหนดไว้ที่ 18 ล้านลูกบาสก์เมตรต่อวัน เป็นกว่า 19 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำให้มีปริมาณน้ำเข้าไปดูแลพื้นที่การเพาะปลูกมากขึ้น ประกอบการหลายพื้นที่มีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ทำให้ภาวะการขาดน้ำลดลงอย่างมาก" พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

     พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า เมื่อวานนี้(30 กค.) เพียงวันเดียวมีปริมาณน้ำลงเขื่อน 51.28 ล้าน ลบ.ม.ซึ่งถือเป็นปริมาณน้ำที่น่าพอใจมาก เมื่อเปรียบเทียบกับในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนตลอดทั้งสัปดาห์ 202.73 ล้าน ลบ.ม. และเมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในช่วงต้นเดือน ซึ่งตลอด 2 สัปดาห์มีน้ำไหลลงเขื่อนประมาณ 100 ล้าน ลบ.ม.หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 7-8 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

    "แม้สถานการณ์น้ำในเขื่อนจะดีขึ้นมากแต่รัฐบาลยังขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทุกครัวเรือน ให้ช่วยกันประหยัดน้ำต่อไป ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการประหยัดน้ำเป็นสิ่งที่ควรประพฤติปฏิบัติตลอดเวลา ไม่ว่าสถานการณ์น้ำในประเทศจะเป็นเช่นไร เพราะน้ำถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อทุกคนที่ควรใช้อย่างรู้ค่า"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

กรมชลฯ เผยปริมาณน้ำต้นทุนยังน้อยแม้มีฝนตก ชี้ต้องสำรองไว้ใช้ต้นฝนปีหน้า

     ส่วนประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน ระบุว่า แม้ว่าจะมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ทางตอนบนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทำให้พอมีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำบ้างแล้วก็ตาม แต่ปริมาณน้ำในอ่างฯส่วนใหญ่ ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย ซึ่งจะเน้นเก็บกักน้ำให้ได้มากที่สุดก่อนจะหมดฝนของปีนี้ ส่วนในพื้นที่รับน้ำฝนตามธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง และแก้มลิงต่างๆ นั้น กรมชลประทาน จะเร่งขุดลอกให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามแผนทั้ง 27 โครงการในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อรองรับน้ำฝนที่จะตกตั้งแต่เดือนสิงหาคมนี้เป็นต้นไป เก็บตุนน้ำไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งหน้า

   สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ล่าสุด (29 ก.ค.58) ที่เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 3,954 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 154 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,176 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 326 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 137 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 15 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 94 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 35 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 32 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมทั้ง 4 เขื่อน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 606 ล้านลูกบาศก์เมตร มีน้ำไหลเข้าอ่างฯ(28 ก.ค.) รวมกันทั้งสิ้น 54.19 ล้านลูกบาศก์เมตร

    อนึ่ง การบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันยังคงการใช้น้ำจากเขื่อนหลัก 4 แห่ง รวมกันในอัตราประมาณวันละ 19 ล้านลูกบาศก์เมตร เน้นเพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ในลุ่มน้ำ โดยบางส่วนจะนำไปช่วยเหลือพื้นที่ข้าวตั้งท้องออกรวง ซึ่งกรมชลประทาน จะพยายามใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่เข้าไปเสริมการช่วยเหลือเกษตรกรให้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม ขอความมือจากทุกภาคส่วน ร่วมแรงร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อปัญหาการขาดแคลนน้ำรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!