WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

AG-เลอศกดก.เกษตรฯ เผยพิษภัยแล้งชะลอทำนาปี เชื่อกระทบผลผลิตลดเล็กน้อย 11% มั่นใจ ภาค ศก.การเกษตรดีขึ้นตามลำดับ

   สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แจง สถานการณ์ภัยแล้งดึงชะลอการทำนาปี เผย ไม่กระทบปริมาณผลผลิตมากนัก คาด ผลผลิตนาปีลดเหลือ 24.14 ล้านตันจากปีที่ผ่านมา เชื่อ การคลี่คลายของวิกฤติเศรษฐกิจโลกบวกกับมาตรการภาครัฐที่ช่วยเหลือภาคเกษตรอย่างต่อเนื่อง จะสะท้อนเศรษฐกิจภาคเกษตรดีขึ้นตามลำดับ พร้อมจับตามองรายงานของ Clina กับการผลิตภาคเกษตรใน 60 ปีข้างหน้าของไทยต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น

   นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในขณะนี้ว่า หลังจากที่ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศงดส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวนาปีต่อเนื่องและข้าวนาปรังในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่กลอง ส่งผลต่อเนื่องถึงฤดูกาลเพาะปลูกข้าวนาปี โดยกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่า ในช่วงเวลานี้จะยังมีฝนตกน้อย และจะเริ่มตกชุกตามฤดูกาลในช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือนกรกฎาคม ดังนั้น ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำจึงยังน้อยกว่าปกติมาก ทำให้ต้องประกาศให้ชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาและแม่กลองออกไปก่อน จนกว่าถึงช่วงฝนตกชุกตามฤดูกาล

   หากติดตามการรายงานสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร ของสำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่เดือนต้นปี 2558 ประกอบกับเมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองเชิงพลวัตแล้ว จะพบว่า เอลนีโญมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรส่วนใหญ่สูงกว่าค่าปกติและขยายพื้นที่ไปทางตะวันออกมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยคาดหมายว่าความผิดปกติของอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกและระบบบรรยากาศในเขตศูนย์สูตรมีแนวโน้มสูงกว่าค่าปกติอย่างต่อเนื่อง และจะคงเป็นปรากฏการณ์เอลนีโญตลอดปี 2558

   จากปรากฎการณ์ดังกล่าว กอปรกับปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้น ย่อมส่งผลให้ประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรทิศทางที่ลดลง นอกจากนี้ รายงานของ Clina (2007) ได้กล่าวถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อผลิตภาพการผลิตในภาคการเกษตรในช่วง 60 ปีข้างหน้าว่า จะส่งผลให้ผลิตภาพของภาคเกษตรในประเทศต่างๆทั่วโลก เปลี่ยนแปลงไป ดังนี้

   ประเทศไทย ลาว อินเดีย ออสเตรเลียตะวันตกและเหนือ อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่ลดลงมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ส่วนประเทศมาเลเซีย พม่า เวียดนาม กัมพูชา ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เป็นกลุ่มประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่ลดลงในช่วง 15 -25 เปอร์เซ็นต์ ประเทศออสเตรเลียตะวันออกและใต้ เป็นกลุ่มประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่ลดลงในช่วง 5 -25 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประเทศจีน มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่เป็นไปได้ทั้งลดลง 5 เปอร์เซ็นต์ และ เพิ่มขึ้น 5 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากจีนเป็นประเทศที่มีพื้นที่จำนวนมาก และประเทศนิวซีแลนด์ มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่คงที่ถึงเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนสหรัฐอเมริกาตอนเหนือ มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่เพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 5 เปอร์เซ็นต์ ถึงมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์

ที่มา ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!