WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยางพาราของอาเซียนและโลก

 AECอนาคตยางพาราไทย

      วันที่ 23 เมษายน 2558 คณะเศรษฐศาสตร์ และศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยร่วมกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ได้จัดสัมมนาเรื่อง 'AEC : อนาคตยางพาราไทย วิกฤติหรือโอกาส' ผมเป็นหนึ่งในวิทยากรที่ขึ้นบรรยายร่วมกับวิทยากรอีก  2 ท่าน คือ คุณขุนศรี ทองย้อย รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส กลุ่มธุรกิจพืชครบวงจร บริษัทซีพี และคุณบุญหาญ อู่อุดมยิ่ง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่สำคัญคือมีปาฐกถาจากรัฐมนตรีช่วยว่าการเกษตร นายอำนวย ปะติเส ด้วย ผมขอนำเรื่องยางพารามานำเสนอท่านผู้อ่าน

 AECดร อทธ      มาเลเซียได้ประกาศว่าจะเป็นศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางพาราของโลก หากพิจารณาจากความเป็นจริงทั้งด้านกำลังการผลิตยางพาราของไทย และตลาดรถยนต์ที่ใหญ่กว่ามาเลเซีย เราน่าจะเป็นศูนย์กลางยางพาราได้ง่ายกว่ามาเลเซีย  เมื่อพิจารณาอุตสาหกรรมต้นน้ำ (Upstream) กลางน้ำ (Middle Stream) และปลายน้ำ (Downstream) ของอุตสาหกรรมยางพารา ประเทศมาเลเซียมีมูลค่าของห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมยางพาราเท่ากับ 4 แสนกว่าล้านบาท ในขณะที่ไทยมีมูลค่าอุตสาหกรรมยางพาราอยู่ที่ 9 แสนล้านบาท มาเลเซียมีมูลค่าของอุตสาหกรรมต้นน้ำอยู่ที่ 34,933 ล้านบาท โดยมีผลผลิตส่วนใหญ่มากจากเกษตรกรรายย่อยน้อยละ 94 และที่เหลือเป็นผลผลิตจากรายใหญ่ (Estate) ในขณะที่ไทยมีมูลค่าอุตสาหกรรมต้นน้ำ 304,543 ล้านบาท โดยผลผลิตต้นน้ำร้อยละ 93 มาจากเกษตรกรรายย่อย ในอุตสาหกรรมต้นน้ำทั้งสองประเทศมีแตกต่างกันที่ผลผลิตของต้นน้ำมาเลเซียเป็นการผลิตยางก้อน (Cup Lump) ส่วนประเทศไทยเน้นการผลิตน้ำยางสดเป็นหลัก 

และเมื่อข้ามไปดูอุตสาหกรรมกลางน้ำ (Midstream) ของทั้งสองประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของอุสาหกรรม มาเลเซียมีมูลค่าอุตสาหกรรมกลางน้ำ 275,659 ล้านบาท ไทยมีมูลค่า 438,994 ล้านบาท เนื่องจากโครงการการผลิตของต้นน้ำที่แตกต่างกันทำให้อุตสาหกรรมกลางน้ำของมาเลเซียเน้นการผลิตยางแท่ง (Block Rubber) คิดเป็นร้อยละ 83 อีกร้อยละ 7 เป็นการผลิตน้ำยางข้น (Concentrated Rubber) ส่วนไทยมีการผลิตที่หลากหลายมากกว่ามาเลเซีย โดยร้อยละ 41 เป็นการผลิตยางแท่ง ยางแผ่นร้อยละ 25 น้ำยางข้น 20 เปอร์เซ็นต์ 

       สำหรับ อุตสาหกรรมกลางน้ำมีประเด็นที่น่าสนใจของทั้งประเทศ คือ เปอร์เซ็นต์การส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ โดยสินค้าหลักทั้ง 3 ประเภทผลิตภัณฑ์ของไทยนั้นส่วนใหญ่ร้อยละ 70-80 นำผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออก เช่น ผลผลิตน้ำยางข้นร้อยละ 77 นำไปส่งออก ในขณะที่ร้อยละ 90 ของยางแท่งนั้นนำไปส่งออกเช่นกัน หันไปดูฝั่งของมาเลเซียบ้าง ยางแท่งของมาเลเซียที่เป็นผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่นั้น ร้อยละ 80 ก็นำไปส่งออกนอกประเทศ เมื่อคิดทุกประเภทของผลิตภัณฑ์กลางน้ำมาเลเซียที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปลายน้ำพบว่าใน 100 เปอร์เซ็นต์มาเลเซียนำไปใช้เป็นวัตถุดิบ 40 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่ประเทศไทยนำผลิตภัณฑ์ของอุตสาหกรรมกลางน้ำไปใช้เพียงร้อยละ 14 เท่านั้น 

ส่วนอุตสาหกรรมปลายน้ำ (Downstream) ของมาเลเซียมีมูลค่า 155,918 ล้านบาท โดยเป็นผลผลิตภัณฑ์ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย ยางล้อรถยนต์ ในขณะที่ประเทศไทยมีมูลค่าของอุตสาหกรรมปลายน้ำอยู่ที่ 407,755 ล้านบาท ประเทศไทยจะต้องตั้งเป้าหมายว่าจะเป็นศูนย์กลางยางพาราของอาเซียนและของโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการยกระดับรายได้ของเกษตรกรและปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมยางพาราทั้งระบบนั้นทั้งสองส่วนนี้ต้องไปด้วยกัน การได้ปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมยางพาราแต่เกษตรกรสวนยางพารายังได้รับราคายางพาราที่ยังต่ำอยู่ ก็คือว่าไม่ใช่นโยบายที่ถูกต้อง  

       อย่างไรก็ตาม การไปถึงเป้าหมายดังกล่าวจะต้องดำเนินการดังต่อไปนี้คือ ข้อที่หนึ่งต้องตั้งคณะกรรมการคำนวณต้นทุนยางพาราของประเทศใหม่ทั้งหมด ตัวเลขต้นทุนต้องมาจากทุกภูมิภาคของประเทศ เพราะแต่ละภูมิภาคจะมีต้นทุนการผลิตที่แตกต่างกัน แล้วจึงมาคำนวณเป็นของประเทศ เพราะการมีต้นทุนที่ไม่สะท้อนความเป็นจริงของพื้นที่จะทำให้การช่วยเหลือจากรัฐบาลไม่ตรงกับข้อเท็จจริง (ข้อนี้เกษตรกรก็ควรบริหารจัดการลดต้นทุนการผลิตด้วย) ข้อที่สองต้องลดพื้นที่ปลูก ปัจจุบันไทยมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งหมด 20 ล้านไร่ จะต้องลดพื้นที่ให้เหลือ 15 ล้านไร่ใน 10 ปีข้างหน้า นั่นคือต้องลดพี้นที่ลงปีละ 5 แสนไร่  แต่การลดพื้นที่ต้องหาพืชเศรษฐกิจอื่นๆ เข้ามาแทนที่ให้กับเกษตรกร ขณะเดียวกันการลดพื้นที่ลงจะทำให้ผลผลิตลดลง ผลผลิตของไทยต้องยืนอยู่ที่ 4 ล้านตัน แต่หันไปเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตให้สูงขึ้น โดยต้องปรับผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นอยู่ที่มากกว่า 300 กก.ต่อไร่ ปัจจุบันอยู่ 200 กก.ต่อไร่ ซึ่งถือว่าต่ำ ข้อที่สาม ต้องเพิ่มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบภายในประเทศเพื่อป้อนให้กับโรงงานแปรรูป ซึ่งตรงนี้ต้องสร้างความต้องการยางพาราจากโรงงานแปรรูปที่มีอยู่เดิม และผลักดันโรงงานใหม่เพื่อสร้างความต้องการยางพาราให้เพิ่มขึ้นอีก 

      ปัจจุบันความต้องการใช้วัตถุดิบจากโรงงานมีเพียงร้อยละ 13 เราต้องสร้างความต้องการให้เพิ่มเป็นร้อยละอยู่สองช่วงคือเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 และ ร้อยละ 40 หากเราสามารถดันให้มีการใช้วัตถุดิบให้เพิ่มขึ้นจะทำให้มูลค่าของห่วงโซ่อุปทานยางพาราของไทยเพิ่มขึ้นอีก 1.7 ล้านล้านบาท (กรณีที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20) และเพิ่มเป็น 2.5 ล้านล้าน (กรณีเพิ่มเป็นร้อยละ 40) ข้อที่สี่ ผลักดันให้เกิด “Rubber City” โดยเรา ซึ่งพื้นที่ที่เหมาะสม ตามที่รัฐบาลตั้งใจจะให้เป็นคือตรงนิคมอุตสาหกรรมฉลุง อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา แต่มีอีกพื้นที่หนึ่งที่น่าสนเพราะอยู่ใกล้กับมาเลเซียคือ ตรงด่าน “Durian Burung” บริเวณโกตาปูตรา รัฐเคดะ แต่ตรงนี้อาจจะสร้างพื้นฐานมากหน่อยเมื่อเทียบกับตรงนิคมฯ ฉลุง หาก Rubber City เกิดขึ้นเร็วความต้องการยางพาราของไทยเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมยางพาราก็จะมีมากขึ้น

โดย CP Group / วันที่โพสต์ 29 เม.ย. 2558 โดย ผศ.ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!