WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมหมาย ภาษ copyธ.ก.ส.ช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 9 ล้านราย สั่งเดินหน้าแก้เยียวยาปัญหาภัยแล้งทั่วประเทศ

    ประธานบอร์ด ธ.ก.ส.ร่วมประชุมผู้ถือหุ้น ยืนยัน ธ.ก.ส.มุ่งช่วยเหลือและพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกร เผยในปีบัญชีที่ผ่านมามีเกษตรกรได้รับประโยชน์แล้วกว่า 9 ล้านราย เร่งเดินหน้าสั่งการพนักงานเข้าช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งอย่างเต็มที่

     นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ได้เข้าร่วมการประชุมผู้ถือหุ้นประจำปีบัญชี 2557 ของ ธ.ก.ส. ณ ห้องรอยัลจูบิลลี่ บอลล์รูม ศูนย์การประชุมและนิทรรศการอิมแพ็ค เมืองทองธานี อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยนายสมหมายกล่าวว่า ในปีบัญชีที่ผ่านมา ธ.ก.ส.สามารถดำเนินงานตามแผนการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผลการดำเนินงานของ ธ.ก.ส.ออกมาในระดับที่น่าพอใจ  โดยผลงานที่ ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการช่วยเหลือ พี่น้องเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาลและตามพันธกิจของธนาคาร  ประกอบไปด้วย  

    1) การช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58  จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อย ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกินรายละ 15 ไร่  ธ.ก.ส. จ่ายเงินให้ชาวนาแล้ว 3,567,829 ราย พื้นที่ 38.88 ล้านไร่ จำนวนเงิน 38,886.61 ล้านบาท โครงการลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อการผลิตแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2557/58 ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการลดดอกเบี้ยเงินกู้ให้ลูกค้าแล้ว จำนวน 1,003,413 ราย วงเงินกู้ 29,961.70 ล้านบาท โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร วงเงิน 20,000 ล้านบาท มีสถาบันเกษตรกรได้รับอนุมัติเงินกู้แล้ว 316 แห่ง จำนวนเงิน 12,231.52 ล้านบาท โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2557/58  

   ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อจำนวน 79,438 ราย ปริมาณข้าว 474,932.52 ตัน จำนวนเงิน 6,731.58 ล้านบาท 

      2) โครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2557  มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ จำนวน 55,567 ราย พื้นที่ 831,816 ไร่ เกษตรกรขอรับค่าสินไหม จำนวน 11,516 ราย พื้นที่ 202,812.50 ไร่  3) การให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย ฤดูการผลิต 2556/2557 ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยแล้ว 147,900 ราย จำนวนเงิน 16,528 ล้านบาท 4) โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน มีเกษตรกรขอขึ้นทะเบียน จำนวน 103,641 ราย ลูกหนี้ ที่ผ่านการเจรจาแล้ว 99,677 ราย ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อแก่เกษตรกรลูกค้าที่ไกล่เกลี่ยสำเร็จแล้ว จำนวน 30,162 ราย เป็นจำนวนเงิน 2,710.90 ล้านบาท

    5) แนวทางการพัฒนายางพาราทั้งระบบและการแก้ไขปัญหาราคายางพารา จำนวน 5 โครงการ คือโครงการสนับสนุนเงินทุนหมุนเวียนแก่สถาบันเกษตรกรเพื่อใช้ในการรวบรวมยางพารา วงเงินสินเชื่อ 10,000 ล้านบาท ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อแล้วจำนวน 322 แห่ง จำนวนเงิน 3,252.80 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อสถาบันเกษตรกรแปรรูปยางพารา วงเงินสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท ธ.ก.ส. จ่ายสินเชื่อแล้วจำนวน 46 แห่ง จำนวนเงิน 253.14 ล้านบาท โครงการชดเชยรายได้แก่เกษตรกรชาวสวนยาง ในอัตราไร่ละ 1,000 บาท รายละไม่เกิน 15 ไร่  ธ.ก.ส. จ่ายเงินให้เกษตรกร  ชาวสวนยางแล้ว จำนวน 767,518 ราย พื้นที่ 7.70 ล้านไร่ จำนวนเงิน 7,704.27  ล้านบาท โครงการสร้างมูลภัณฑ์กันชนเพื่อรักษาเสถียรภาพราคายาง ธ.ก.ส. อนุมัติเงินกู้ให้กับองค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) เพื่อนำไปซื้อยางพาราในราคาชี้นำตลาด วงเงิน 12,000 ล้านบาท อ.ส.ย. เบิกรับเงินกู้แล้ว จำนวน 9,200 ล้านบาท โครงการสนับสนุนสินเชื่อเกษตรกรชาวสวนยางรายย่อยเพื่อประกอบอาชีพเสริม ครัวเรือนละไม่เกิน 100,000 บาท จ่ายสินเชื่อแก่เกษตรกรแล้วจำนวน 26,217 ราย จำนวนเงิน 2,386.51 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการตามโครงการต่างๆ ที่ผ่านมานั้น มีพี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์ไปแล้วถึง 9 ล้านราย

     “สำหรับปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ธ.ก.ส.ได้ กำชับให้พนักงานของ ธ.ก.ส. ออกไปเยี่ยมเยียน ให้คำแนะนำ รวมทั้งพิจารณาให้ความช่วยเหลือ กรณี ที่มีผลกระทบต่อ กำหนดชำระหนี้เดิม ธ.ก.ส.จะดำเนินการขยายเวลาการชำระหนี้ออกไปให้ เหมาะสมสอดคล้องกับรายได้ตามควรแก่กรณีต่อไปขอให้พี่น้องเกษตรกร ไม่ต้องกังวลใจในเรื่องนี้” นายสมหมายกล่าว

สำนักประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ธ.ก.ส. โทร 02 558 6100 ต่อ 6733, 6734,6740

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!