WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gอนพงษ เผาจนดารมว.มหาดไทย ชี้นายกฯ ห่วงปัญหาภัยแล้ง กำลังเร่งแก้ไข-วอนสื่อเลี่ยงเสนอข่าวศึกแย่งน้ำ ชี้ไม่ช่วยแก้ปัญหา

   พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.กระทรวงมหาดไทย เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ ว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น โดยยอมรับว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ เริ่มเข้าข่ายการเกิดเอลนีโญแล้ว ซึ่งถือเป็นภัยแล้งรุนแรง เกิดประชาชนแย่งน้ำ ดังนั้นจึงต้องเร่งขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อเสริมน้ำ ทั้งเพื่อช่วยเหลือกานเกษตรที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก

   ด้านนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงมีมาตรการในการให้ความช่วยเหลือทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยในเบื้องต้นมาตรการต่างๆอาจจะต้องดูแลในส่วนของการปรับโครงสร้างระบบชลประทาน เพื่อที่จะให้มีเพียงพอกับความต้องการใช้น้ำ หลังจากพบว่าน้ำฝนตามฤดูกาลไม่เพียงพอ

   สำหรับ ก่อนการประกาศภัยแล้งนั้น มีเกษตรกรปลูกพืชแล้ว 3.45 ล้านไร่ ซึ่งในจำนวนดังกล่าวมี 800,000 ไร่ที่อยู่ในจุดเสี่ยง เนื่องจากปริมาณน้ำไม่เพียงพอ ดังนั้นจึงเตรียมขุดเจาะน้ำบาดาลมาเสริม ขณะที่ ส่วนที่เหลือ ประมาณ 1.3 ล้านไร่นั้น ที่ยังไม่มีการปลูกนั้น ทางการได้ประสานงานให้เกษตรเลื่อนชะลอการปลูกพืชเป็นเดือนก.ค.-ส.ค.

   นอกจากนี้ ยังแนะนำให้เกษตรกรเข้าใจว่าปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าปกติ จึงต้องหันปลูกพืชใช้น้ำน้อย อายุสั้นแทน เช่น ข้าวโพด และถั่วเขียว เป็นต้น

   รวมถึงการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เข้ามาปล่อยสินเชื่อ เพื่อปลูกพืชอื่นแทนระหว่างรอฝนตกในช่วงเดือนกรกฎาคม การขยายเวลาการชำระหนี้ให้กับเกษตรกรเป็นเวลาไม่เกิน 1 ปี

   ล่าสุด สถานการณ์ภัยแล้ง พบว่าปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลัก มีน้อย เช่น ภูมิพล สิริกิติติ์ เดือน พฤษภาคมน้ำอยู่ปริมาร 3800 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือฝนตกน้อยกว่าที่คาดการณ์ 60-70% และมีเกษตรกรปลูกข้าวในลุ่มเจ้าพระยา ในเขตชลประทาน เพื่อขึ้นเป็น 4 ล้านไร่ จากเดิม3 ล้าน 7 แสนไร่ ยังเหลืองพื้นที่ที่ไม่ได้ปลูก 1 ล้าน 3 แสนไร่ รัฐบาลจึงขอให้เกษตรกรชะลอปลูกข้าวออกไปจนถึงกรกฎาคม เพื่อฝนตกลงมา

   สำหรับปัญหาการแย่งน้ำที่จังหวัดสุพรรณบุรี ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาดไทย และกลาโหมเร่งชี้แจงทำความเข้าใจจากชาวนา

   พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯจะต้องชี้แจงเกษตรกรให้ทำความเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น รวมถึงอยากวิงวอนให้สื่อมวลชน อย่าเสอนข่าวประชาชนแย่งน้ำ หรือทะเลาะกัน เนื่องจากไม่ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น ซึ่งหากทุกฝ่ายสามารถทำความเข้าใจได้ มองว่าประเทศชาติคงไม่เกิดวิกฤติอย่างแน่นอน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!