- Details
- Category: เกษตร
- Published: Monday, 22 June 2015 21:50
- Hits: 2100
กรมชลฯ เผยสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วปท. ยังน้อย ฝนตกต่ำกว่าเกณฑ์
ศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศล่าสุด(22 มิ.ย. 58) มีปริมาณน้ำรวมกัน จำนวน 32,251 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุอ่างฯขนาดใหญ่รวมกันทั้งหมด
สถานการณ์น้ำในเขื่อนใหญ่ภาคเหนือ อาทิ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ มีปริมาณน้ำ 73 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 28 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกิ่วลม จ.ลำปาง มีปริมาณน้ำ 49 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 45 ของความจุอ่างฯ เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 4,123 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 31 ของความจุอ่างฯ เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,465 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 131 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 14 ของความจุอ่างฯ มีน้ำไหลลงอ่างฯใหญ่ภาคเหนือ รวมทั้งสิ้น 3.78 ล้านลูกบาศก์เมตร
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี มีปริมาณน้ำ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 20 ของความจุอ่างฯ เขื่อนน้ำอูน จ.สกลนคร มีปริมาณน้ำ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำ 486 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของความจุอ่างฯ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา มีปริมาณน้ำ 82 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 26 ของความจุอ่างฯ ฯ เขื่อนลำนางรอง จ.บุรีรัมย์ มีปริมาณน้ำ 63 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ อ่างฯใหญ่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีน้ำไหลลงอ่างฯใหญ่ รวมกัน 3.31 ล้านลูกบาศก์เมตร
สำหรับ ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 76 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 8 ของความจุอ่างฯ เขื่อนกระเสียว จ.สุพรรณบุรี มีปริมาณน้ำ 89 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 37 ของความจุอ่างฯ เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา มีปริมาณน้ำ 41 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 10 ของความจุอ่างฯ เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก มีปริมาณน้ำ 15 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 7 ของความจุอ่างฯ
สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ส่วนใหญ่ยังมีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากทางตอนบนยังมีฝนตกน้อยต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย โดยกรมอุตุนิยมวิทยา คาดว่าปริมาณฝนจะตกชุกตามฤดูกาลประมาณปลายเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งกรมชลประทานจะบริหารจัดการน้ำในช่วงระยะเวลานี้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อพื้นที่การเกษตรที่ปลูกไปแล้ว รวมทั้ง เพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดด้วย
ที่มา ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย