WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Cปตพงศ-พงบญปีติพงศ์ ผลักดันเกษตรแปลงใหญ่-บริหารจัดการน้ำเพื่อปรับโครงสร้างการผลิต

     นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการสัมมนาการขับเคลื่อนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของจังหวัด ระบบส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ และการบริหารจัดการน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาว่า หลายประเทศทั้งในอาเซียน และประชาคมโลก ยังคงเผชิญกับปัญหาทางเศรษฐกิจ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทย ทำให้ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ซึ่งรัฐบาลมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยให้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ซึ่งแนวทางหนึ่งที่รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำมาใช้ในการปรับโครงสร้างการผลิต คือ การปรับกลไกบริหารจัดการสินค้าในระดับจังหวัดให้มีกลไกที่เป็นเอกภาพในการวางแผนบริหารจัดการสินค้า และระบบการส่งเสริมเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่เพื่อสร้างความสมดุล ความต้องการสินค้า และปริมาณสินค้าที่ผลิตได้ภายในจังหวัด

    อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนระบบส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่ในระดับพื้นที่จะประสบความสำเร็จได้ หัวใจสำคัญอยู่ที่ผู้เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้จัดการแปลง ซึ่งจะเป็นผู้บริหารจัดการทุกกิจกรรม ตั้งแต่การจัดหาปัจจัยการผลิต การผลิต การควบคุมคุณภาพผลผลิต การเก็บเกี่ยว การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และการตลาด รวมถึงการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

    นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ยังจำเป็นต้องอาศัยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การผลิตภาคเกษตรเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวสำคัญของประเทศ ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของจังหวัด การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ และการบริหารจัดการน้ำ ถือเป็นโครงการบูรณาการที่สำคัญกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย หรือกระทรวงพาณิชย์ ที่ร่วมบูรณาการให้เกิดการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมในระดับพื้นที่ ซึ่งทั้งหมดจะนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันในการผลิตภาคเกษตรของประเทศ

    การขับเคลื่อนดำเนินนโยบายทั้ง 3 ด้านดังกล่าว มีกลไกการขับเคลื่อนใน 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับประเทศ คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยมีพลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ ประธานกรรมการ อธิบดีกรมชลประทานเป็นกรรมการและเลขานุการ ระดับกระทรวง คณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่และการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร โดยมีปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน และเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นกรรมการและเลขานุการ และระดับภูมิภาค คณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานอนุกรรมการ เกษตรและสหกรณ์จังหวัดเป็นอนุกรรมการและเลขานุการ ซึ่งกลไกการขับเคลื่อนทั้งหมด ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันนโยบายเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

     ด้านนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า การเกษตร  ส่วนใหญ่ของประเทศไทยเป็นเกษตรกรรายย่อย ที่มีพื้นที่ถือครองทางการเกษตรขนาดเล็กโดยเฉลี่ยรายละ 24 ไร่/ครัวเรือน และเป็นการผลิตที่มีลักษณะต่างคนต่างทำ ประกอบกับการผลิตภาคเกษตรของไทยเผชิญกับข้อจำกัดต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตที่สูง การผลิตที่ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่ยังจำกัดหรือการไม่สามารถเพิ่มปัจจัยการผลิตทั้งที่ดินและแรงงานได้มากเหมือนเช่นในอดีต

   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้กำหนดนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่และการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรระดับพื้นที่ ที่มีการดำเนินงานในลักษณะการรวมกลุ่มของเกษตรกรรายย่อยหลายๆ ราย เพื่อวางระบบการผลิตและการบริหารจัดการในแนวทางเดียวกัน เพื่อประหยัดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ซึ่งเกษตรกรยังคงเป็นเจ้าของพื้นที่และทำการผลิตเอง

    ทั้งนี้ การส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่ จะดำเนินการควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ทั้งพืช ประมง และปศุสัตว์ โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการเกษตรที่ยึดพื้นที่และสินค้าเป็นหลัก (Area And Commodity Approaches) ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยการบูรณาการ รวมถึงกำหนดผู้จัดการพื้นที่เป็นผู้บริหารจัดการทุกกิจกรรมตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ตั้งแต่การผลิต การควบคุมคุณภาพผลผลิต การเก็บเกี่ยว การบริหารจัดการโลจิสติกส์ และการตลาด

   ดังนั้น การสัมมนาครั้งนี้ สศก.ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร และสหกรณ์ ได้จัดขึ้นเพื่อรับมอบนโยบายการบริหารจัดการสินค้าเกษตรของจังหวัด การส่งเสริมการเกษตรแปลงใหญ่ และการบริหารจัดการน้ำจากผู้บริหารโดยตรง รวมทั้งรับฟังการชี้แจงแนวทางการดำเนินงาน และสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งคาดว่า ว่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ที่เกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้จัดการแปลงที่จะได้รับทราบนโยบายจากผู้บริหาร รวมทั้งแนวทางการดำเนินงานในพื้นที่ และข้อมูลต่างๆ และสามารถนำไปใช้ในการวางแผนและบริหารจัดการในระดับพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!