WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Agricuttureกษ.เตรียมเคาะราคายางเป้าหมาย-แผนการผลิต-แนวทางช่วยชาวสวนยางในพ.ค.นี้

  นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ คาดว่า ประมาณเดือนพ.ค.นี้ รัฐบาลจะสามารถกำหนดทิศทางราคายางต่อสาธารณะได้ว่าราคาเป้าหมายของรัฐบาลจะอยู่ที่เท่าไร เนื่องจากปีการผลิตและการจำหน่ายปี 58/59 จะเริ่มในเดือนพ.ค.58-เม.ย.59 ซึ่งรวมถึงรายละเอียดในการวางแผนการผลิต และการจำหน่ายให้สอดคล้องกับปริมาณผลผลิตในแต่ละเดือน และรัฐบาลจะใช้เครื่องมือใดในการบริหารราคา รวมทั้งเครื่องมือที่จะช่วยเกษตรกรมีอะไรบ้าง นโยบายของรัฐทั้ง 16 มาตรการ แบ่งเป็น 12 มาตรการสมัย คสช. และ 4 มาตรการยุค ครม.จะต้องปรับเปลี่ยนหรือทบทวนอย่างไร รวมทั้งโครงการมูลภัณฑ์กันชนจะปรับเปลี่ยนหลักเกณฑ์อย่างไร ซึ่งในขณะนี้โครงการนี้ยังเดินหน้าต่อไปก่อน

    ส่วนปัญหาการทุจริตในโครงการ ซึ่งประเด็นคือเงินทุกเม็ดที่ออกไปจากตลาดกลางไปถึงผู้รับ วันนี้กำลังตรวจสอบให้ชัดเจนว่าที่มีข่าวว่าเงินไปอยู่ที่พ่อค้านายทุนนั้น เส้นทางเงินมีที่มาที่ไปอย่างไร จำนวนเท่าไร รวมทั้งกรณีที่มีการระบุว่าจัดโควต้าเพื่อให้เงินถึงเกษตรกรเลยแบบนั้นไม่เรียกว่าการทำราคาในตลาดสูงขึ้น แต่เป็นการซื้อเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

   "เกษตรกรยังอยากให้มีโครงการนี้ต่อไป แต่ขอให้ปรับ" รมช.เกษตรฯ กล่าว

    พร้อมระบุว่า วันที่ 8-9 พ.ค.นี้ จะเดินทางไปคุนหมิง ประเทศจีน เพื่อเจรจาข้อตกลงที่จีนจะรับซื้อยางจำนวน 2 แสนตันจากไทย ซึ่งที่กำหนดว่าจะรับซื้อในราคาตลาดและบวกด้วยเงินเพิ่มพิเศษนั้น เงินเพิ่มพิเศษควรอยู่ในระดับเท่าไร/กก.จึงจะเหมาะสม ซึ่งจะต้องไปคุยกันในรายละเอียด

   รมช.เกษตรฯ ยังกล่าวถึง พ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทยว่ากำลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ โดยสาระสำคัญ คือ การควบรวมองค์กรที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการยางของประเทศไทยที่อยู่ในรูปของรัฐวิสาหกิจ 2 แห่ง คือองค์การสวนยาง(อสย.) และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(ส.ก.ย.) อยู่ในรูปของระบบราชการของกรม 1 แห่ง คือ กรมวิชาการเกษตร วัตถุประสงค์ใหญ่คือการจัดทำนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้ภาคเอกชน ภาคเกษตรกรเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยอยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ควบคุมยาง พ.ศ.2542 ซึ่งเกี่ยวข้องกับกฎระเบียบในการควบคุม เพื่อควบคุม กำกับ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมให้มีความสมดุล

   ส่วนพ.ร.บ.การยางแห่งประเทศไทย จะดูแลเรื่องนโยบายส่งเสริมสนับสนุน และแก้ไขปัญหาที่ยังมีความเห็นแตกแยกในฝ่ายต่างๆ เพราะ อสย.ทำเรื่องส่งออก สกย.ทำเรื่องการเพาะปลูก กรมวิชาการเกษตรทำเรื่องข้อมูลวิชาการ เมื่อนำแต่ละส่วนเข้ามาอยู่ร่วมกันแล้วทิศทางของอุตสาหกรรมยางพาราจะชัดเจนขึ้น และยังสามารถรวบรวมความคิดเห็นของภาคเอกชนมาร่วมในการกำหนดนโยบายได้

    นายอำนวย ยังกล่าวถึงอนาคตยางไทยใน AEC ว่า ทุกวันนี้ทุกประเทศใน AEC หันมาปลูกยางกันหมด เพราะหวังว่าราคายางจะกลับขึ้นไปแตะระดับ 100 บาทได้อีก แต่นักเศรษฐศาสตร์ยางโลกพยากรณ์แล้วว่ายากที่ราคาจะกลับไปอยู่ในจุดนั้น ดังนั้นไทยจึงอยู่ในภาวะที่น่าเป็นห่วง เนื่องจากมีต้นทุนสูง พร้อมเห็นว่าสิ่งที่ไทยต้องปรับคือ 1.พัฒนาตลาดกลางยางพาราของไทย ซึ่งปัจจุบันมี 10 แห่งทั่วประเทศ ยังไม่รวมตลาดเครือข่ายอีกหลายแห่ง ระบบตลาดจะช่วยให้เกษตรกรนำสินค้ามาวางให้ประมูลราคาที่ตลาดกลาง 2.พัฒนาระบบการค้ายางที่เป็นกระดาษ หรือ ETF โดยตลาดหลักทรัพย์เป็นผู้บริหารหลังการควบรวม AFET และ TFEX 3.เพิ่มการใช้ยางในประเทศจาก 14% เป็น 20-30% เพื่อลดความเสี่ยงด้านส่งออกเวลาตลาดส่งออกมีปัญหา 4.นโยบายบริหารการยางต้องชัดเจน ซึ่งหลังพ.ร.บ.การยางฯ บังคับใช้ควบคู่กับพ.ร.บ.ควบคุมการยางในการบริหารจัดการจะชัดเจนขึ้น

        อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!