- Details
-
Category: เกษตร
-
Published: Thursday, 16 April 2015 16:48
-
Hits: 2003
ซีพีเอฟ ย้ำใบเหลืองอียู-เทียร์ 3 สหรัฐ ไม่กระทบยอดขาย
บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารจำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ มั่นใจกรณีสหภาพยุโรปประกาศให้ใบเหลืองห้ามนำเข้าสินค้าประมงที่มาจากการทำประมงผิดกฏหมายและการค้ามนุษย์ของสหรัฐ (เทียร์ 3) จะไม่กระทบการค้าของบริษัทเนื่องจากสินค้ากุ้งของบริษัทมาจากการเลี้ยงในฟาร์ม ขณะเดียวกันธุรกิจของบริษัทไม่มีเรือประมง
นายโฆษิต โลหะวัฒนะกุลรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการตลาดการค้าต่างประเทศ ซีพีเอฟ กล่าวว่า ต่อกรณีที่ อียู ประกาศจะห้ามนำเข้าสินค้าประมงที่มาจากการทำประมงผิดกฏหมาย (ใบเหลือง) และการถูกกล่าวหาโดยรัฐบาลสหรัฐว่าไทยมีการค้ามนุษย์และใช้แรงงานผิดกฏหมายบนเรือประมง ทั้งยังจะประกาศลดระดับชั้นประเทศไทยไปอยู่ใน เทียร์ 3 (Tier 3 Watch List)ซึ่งเป็นระดับชั้นที่มีการค้ามนุษย์รุนแรงที่สุดนั้น บริษัทขอยืนยันการปฏิบัติการตรวจสอบภายในเข้มงวดตลอดห่วงโซ่การผลิตทั้งคู่ค้าและบริษัทตั้งแต่กลางปีที่ผ่านมาและเริ่มเดินหน้าตรวจสอบทั้งระบบโดยหน่วย งานตรวจสอบอิสระชั้นนำระดับสากล เพื่อให้มั่นใจว่าตลอดขบวนการผลิตของบริษัทปราศจากปั้ญหาแรงงาน และเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาบริษัทได้เริ่มดำเนินการตรวจสอบร่วมกับหน่วยงานอิสระชั้นนำระดับสากลเพื่อยืนยันความถูกต้องและความเข้มงวดในระบบตรวจสอบย้อนกลับ
“การประกาศใบเหลืองของ อียู และการลดระดับชั้นประเทศไทยไปอยู่ใน เทียร์ 3ไม่กระทบต่อยอดขายและการค้าปกติของบริษัท” นายโฆษิตกล่าว
นายสมชาย เตรียมชัยพิศุทธิ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหารซีพีเอฟ กล่าวว่า ไม่อียูไม่ให้ใบเหลืองกับไทย การแข่งขันของสินค้ากุ้งในกลุ่มประเทศดังกล่างของไทยก็แข่งขันยากอยู่แล้ว เพราะไทยถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ไป ทำให้ไทยเสียเปรียบคู่แข่ง
อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการเตรียมการหาแหล่งผลิตสินค้าเพื่อทดแทนการส่งออกจากประเทศไทยไว้ตั้งแต่ปี2556โดยจะใช้การผลิตจากโรงงานที่เวียดนามเพื่อส่งออกไปยังอียูแทน ซีพีเอฟ ยังมีฐานการผลิตอีกหลายแห่งที่จะสามารถส่งออกไปอียูได้
นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้ว ในปีนี้ยังมีปัญหาเรื่องค่าเงินด้วยจะทำให้การค้าจะลำบากกว่าปีอื่นๆ ทั้งรัสเซีย ญี่ปุ่น ยุโรป ออสเตรเลีย แต่ตลาดโลกจะโดนหมด ในเรื่องยอดขายดูตามผลผลิตกุ้ง ธุรกิจเสียหายเพราะโรคกุ้ง EMSจากผลผลิตของประเทศไทย 600,000 ตัน ปี 2555และผลผลิตลดเรื่อยจากโรคตั้งแต่ปี 2556 เหลือ 240,000 ตัน เมื่อปี 2557 ทำให้การส่งออกลดลงตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่ไปตลาดสหรัฐฯ สัดส่วนเกิน 50%ของการส่งออกประเทศ
ส่วนปีนี้ผลผลิตคาดว่าจะเพิ่มขึ้นโดยประเทศไทยตั้งเป้าส่งออกไว้ 27,000 ตัน 2015ซึ่งปกติ ซีพีเอฟมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ10-20% สำหรับการบริโภคกุ้งในเอเซียยังคงเพิ่มขึ้นทุกปีและมูลค่าไม่ลดลง ตัวอย่างเช่น ในปี 2555 กุ้งขนาด 60 ตัว/กก. ราคา 160-170 บาท/กก. แต่ตอนนี้ราคา 200 บาท/กก.