สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดมุมมองสถานการณ์ค่าเงินเรียลของบราซิลที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่องต่อการส่งออกน้ำตาลทรายของไทย ระบุ ค่าเงินภายในประเทศของบราซิลและของไทยหากอ่อนค่าลง จะส่งผลต่อปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากแนวโน้มเงินเรียลของบราซิลอ่อนค่า พบว่าค่าเงินเรียลของบราซิลมีแนวโน้มอ่อนค่าลงตั้งแต่ พ.ศ. 2554 อยู่ที่ 12.3 เรียลต่อเหรียญสหรัฐ ลดลงมาจนถึง 2.6 เรียลต่อเหรียญสหรัฐ ใน ปี 2558 จากการขาดดุลของดุลการชำระเงินระหว่างประเทศและปัจจัยอื่นๆ ทางเศรษฐกิจ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาเศรษฐกิจของบราซิลมาสักระยะเวลาหนึ่ง ดังนั้น จึงเป็นโอกาสที่การส่งออกน้ำตาลของบราซิลจะมีมากยิ่งขึ้น ประกอบกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย ทั้งนี้ หากแนวโน้มของค่าเงินเรียลอ่อนค่ามากขึ้นเท่าใดก็จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของประเทศคู่แข่งทุกประเทศและ/หรือ อย่างประเทศไทยมากขึ้นเท่านั้น โดยมูลค่าการส่งออกน้ำตาลของบราซิล สูงสุดในปี 2554 ถึง 1.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนปี 2557 มูลค่าการส่งออกน้ำตาล ได้ลดลงมาเหลือเพียง 0.96 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องมาจากปริมาณการใช้ในประเทศเพิ่มมากขึ้นเพื่อนำไปผลิตเอทานอลบางส่วน และประกอบกับราคาน้ำตาลในตลาดโลกค่อนข้างทรงตัว
มูลค่าการส่งออกน้ำตาลของบราซิล ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 – 2557 หน่วย : พันเหรียญสหรัฐ
คู่ค้า/ปี
|
Importers
|
2010
|
2011
|
2012
|
2013
|
2014
|
World
|
World
|
12,951,279
|
15,154,129
|
13,030,316
|
12,013,920
|
9,616,253
|
ที่มา : Sources : ITC calculations based on US Census Bureau statistics since January, 2014.
สำหรับการส่งออกน้ำตาลทรายของไทย มีความสำคัญที่จะเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ การส่งออกสินค้าเกษตรกรรมจึงเป็นกลไกที่สามารถจะทำให้สร้างรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมากและจะเป็นผลดีต่อเกษตรกรด้วย โดยมูลค่าการส่งออกน้ำตาลของไทย พบว่าปริมาณการบริโภคน้ำตาลภายในประเทศที่มีเหลือสามารถส่งออกไปขายในต่างประเทศได้ ใน ปี 2555 มีมูลค่าการส่งออกสูงสุดถึง 4.2 พันล้านเหรียญสหรัฐและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากอดีตที่ผ่านมา โดยในปี 2557 สามารถส่งออกได้มูลค่า 2.9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแนวโน้มคาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีอัตราการขยายตัวจะไม่มากนัก หากสามารถรักษาระดับการแข่งขันในตลาดโลกไว้ได้
มูลค่าการส่งออกน้ำตาลของไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2553 – 2557 หน่วย : พันเหรียญสหรัฐ
คู่ค้า/ปี
|
2010
|
2011
|
2012
|
2013
|
2014
|
World
|
2,373,068
|
3,883,822
|
4,273,418
|
3,151,792
|
2,944,940
|
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 2558
ในการนี้ สศก. ได้วิเคราะห์ถึงอุปสงค์การส่งออกน้ำตาลของไทยและบราซิล พบว่า แนวโน้มการส่งออกน้ำตาลของบราซิลนั้น หากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่าเงินเรียลอ่อนค่าลงตั้งแต่ 2.5 – 3.5 เรียลต่อเหรียญสหรัฐ จะส่งทำให้บราซิลสามารถส่งออกในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำตาลล่วงหน้า ณ ตลาด นิวยอร์ค มีมูลค่าการส่งออกรวม ตั้งแต่ 9.60 – 14.70 พันล้านเหรียญสหรัฐ และหากแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่าเงินบาทอ่อนค่าลงตั้งแต่ 31-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ จะส่งทำให้ไทยสามารถส่งออกในปริมาณที่เพิ่มขึ้นตามราคาน้ำตาลล่วงหน้า ณ ตลาด นิวยอร์ค มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ ตั้งแต่ 3.1-3.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ดังนั้น ความสัมพันธ์อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศกับมูลค่าการส่งออกน้ำตาลของบราซิลและของไทย จึงมีทิศทางที่ตรงกันข้ามกัน กล่าวคือ หากค่าเงินภายในประเทศของบราซิลและของไทยอ่อนค่าลงย่อมส่งผลต่อปริมาณการส่งออกที่เพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงค่าเงินเรียลที่มีต่อมูลค่าการส่งออกน้ำตาลไปตลาดโลก
ค่าเงินบาท
|
มูลค่าการส่งออกน้ำตาล
|
|
ค่าเงินเรียล
|
มูลค่าการส่งออกน้ำตาล
|
(บาทต่อเหรียญสหรัฐ)
|
(พันล้านเหรียญสหรัฐ)
|
|
(เรียลต่อเหรียญสหรัฐ)
|
(พันล้านเหรียญสหรัฐ)
|
31.00
|
3.10
|
|
2.50
|
9.60
|
32.00
|
3.40
|
|
2.70
|
9.90
|
33.00
|
3.50
|
|
3.00
|
11.20
|
34.00
|
3.70
|
|
3.50
|
14.70
|
ที่มา : จากคำนวณของศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร 2558
|