WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สศก.เผยภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาสแรกปี 58 หดตัว ร้อยละ 1.5 ผลจากภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วง

      ไทยโพสต์ : นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์  เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไตรมาส 1 ปี 2558 มีการหดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ปัจจัยลบ ที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรหดตัวร้อยละ 1.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 ปัจจัยลบที่ทำให้ภาวะเศรษฐกิจเกษตรหดตัวในไตรมาสนี้ คือ ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ต่อเนื่องมาจนถึงไตรมาสแรกของปี 2558 ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนหลักมีน้อย ส่งผลกระทบค่อนมากต่อการเพาะปลูกพืชหลายชนิดในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง ซึ่งสาขาพืช หดตัวร้อยละ 3.8 จากพืชมีผลผลิตลดลงโดยเฉพาะข้าวนาปรัง ซึ่งกระทรวงเกษตร ฯ เห็นควรให้งดการปลูกข้าวนาปรังในปี 2557/58 จำนวน 7.77 ล้านไร่ สพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลอง โดยเด็ดขาดและส่งเสริมให้ปลูกพืชไร่ พืชผักที่ใช้น้ำน้อยแทนส่วนสาขาบริการทางการเกษตร หดตัวร้อยละ 2.7 สืบเนื่องจากการงดการส่งน้ำเพื่อการปลูกข้าวนาปรังรอบสอง ทำให้การจ้างบริการเตรียมดินและการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวลดลงตามไปด้วย

   ขณะที่สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 1.6 เนื่องจากการผลิตปศุสัตว์โดยรวมอยู่ในเกณฑ์ดี มีระบบการผลิตที่ได้มาตรฐาน รวมทั้งสภาพอากาศเย็นในช่วงต้นปีทำให้สัตว์เจริญเติบโตได้ดี ส่งผลให้สุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ น้ำนมดิบมีผลผลิตเพิ่มขึ้น สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 6.5 ผลผลิตประมงทะเลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั้งในส่วนของการเพาะเลี้ยงและการจับตามธรรมชาติ อีกทั้งปัญหาโรคตายด่วนคลี่คลายลงทำให้เกษตรกรผู้ผลิตส่วนใหญ่มีความมั่นใจจึงขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ส่วนสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.4 เนื่องจากไม้ยางพารา ไม้ยูคาลิปตัส น้ำผึ้งธรรมชาติครั่ง และถ่านไม้ เพิ่มขึ้น โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์จากป่ามีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะน้ำผึ้งและครั่ง ที่ตลาดต่างประเทศมีความต้องการเพิ่มขึ้น

   สำหรับ แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรปี 2558 คาดว่าจะหดตัวอยู่ในช่วงร้อยละ (-1.8) - (-0.8) โดยสาขาที่ผลิตหดตัวลง ได้แก่ สาขาพืช และสาขาบริการทางการเกษตร ส่วนสาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ ขยายตัวเพิ่มขึ้น สำหรับผลผลิตพืชที่ลดลง ได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ สับปะรดโรงงาน ยางพารา สำไย มังคุด และเงาะ ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ทั้งเนื้อไก่ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนการผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยง ปรับตัวดีขึ้นจากการดำเนินมาตรการสนการแก้ปัญหาของกรมประมงร่วมกับภาคเอกชนทำให้ปัญหาโรคตายด่วนคลี่คลายลง อย่างไรก็ตามการผลิตทางการเกษตรในช่วงปี 2558 ยังคงมีความเสี่ยงอย่างมากจากภาวะภัยแล้ง รวมถึงปัญหาฝนทิ้งช่วงที่อาจยาวนานไปจนถึงต้นฤดูเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคม 2558 ซึ่งจะสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตสินค้าการเกษตรามากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ จำเป็นต้องมีการติดตามและประเมินสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง เพื่อเตรียมมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร รวมทั้งปรับแผนการผลิตสินค้าเกษตร

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!