WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.เกษตรฯ แจงสถานการณ์ไข่ไก่ เผย มี.ค.-พ.ค. สะดุดปัญหาล้นตลาดช่วงปิดเทอม

      ก.เกษตรฯ แจงสถานการณ์ไข่ไก่ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ระบุ ประสบกับปัญหาไข่ไก่ค้างสต๊อกช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม แนะ ส่งเสริมให้สหกรณ์มีการวางแผนการตลาดเพื่อบรรเทาปัญหาควบคู่พัฒนาสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดเออีซี

  นายฉัตรชัย เต้าทอง ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 3 อุดรธานี (สศก.3) เปิดเผยถึงการติดตามสถานการณ์ผลิตไข่ไก่ในพื้นที่รับผิดชอบจังหวัดหนองคาย พบว่า มีเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่อยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอำเภอเมืองหนองคายและอำเภอท่าบ่อ โดยมีปริมาณผลผลิตไข่ไก่ประมาณวันละ 500,000 ฟองต่อวัน ซึ่งเพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคในจังหวัดหนองคาย โดยปัจจุบันจังหวัดหนองคายมีสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตั้งขึ้นใหม่ในปี 2557 จำนวน 5 สหกรณ์ คือ สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่บนบ่อปลางามเจริญ จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตาบลเวียงคุก จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตาบลปะโค จำกัด สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตำบลบ้านเดื่อ จำกัด และสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ตาบลน้ำโมง จำกัด มีตลาดหรือลูกค้าประจำ เป็นส่วนราชการ เช่น โรงเรียนที่มีโครงการอาหารกลางวันสาหรับเด็กนักเรียน เป็นต้น

   อย่างไรก็ตาม เนื่องจากช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม สหกรณ์จะประสบกับปัญหาไข่ไก่ค้างสต๊อกเป็นจำนวนมากไม่สามารถจำหน่ายได้ สาเหตุจากโรงเรียนปิดเทอม โรงเรียนจึงงดรับไข่ไก่จากฟาร์มสมาชิกสหกรณ์ประกอบกับเทศกาลกินเจ ประชาชนทั่วไปบริโภคไข่ไก่น้อยลง อีกทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ยังมีการลดราคาไข่ไก่  ทำให้ในช่วงเดือนดังกล่าวเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก

   อย่างไรก็ตาม สานักงานสหกรณ์จังหวัดหนองคายได้ให้ความช่วยเหลือสหกรณ์ โดยให้สหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชื่อมโยงจำหน่ายไข่ไก่ให้กับศูนย์กระจายสินค้าสหกรณ์จังหวัดหนองคาย(สหกรณ์นิคมฯ โพนพิสัย จากัด) เพื่อให้ศูนย์กระจายสินค้าช่วยกระจายให้กับสมาชิกสหกรณ์ นอกจากนี้ ยังส่งเสริมสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่เชื่อมโยงกับสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัดหนองคาย และสหกรณ์ต่างๆ ในจังหวัดใกล้เคียง คือ จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดอุดรธานีและ จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งสหกรณ์ต่างๆ ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือตามกำลังของแต่ละสหกรณ์

   ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาไข่ไก่ล้นตลาดซึ่งเป็นปัญหาที่จะเกิดขึ้นเหมือนทุกๆ ปี จึงควรมีการส่งเสริมให้สหกรณ์มีการวางแผนการตลาดในช่วงเดือนช่วงเดือนมีนาคม – พฤษภาคม และช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปี และควรมีการพัฒนาสหกรณ์ผู้เลี้ยงไก่ไข่ เพื่อเตรียมพร้อมกับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งจะเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคของการจำหน่ายไข่ไก่ของเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ไข่

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!