WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เกษตรฯชี้โอกาสสินค้า ออร์แกนิก สดใสในตลาดอาเซียน

     ไทยโพสต์ : เกษตรฯชี้โอกาสตลาดสินค้า ‘ออร์แกนิก’แนวโน้มสดใสในตลาดอาเซียน ขณะที่แหล่งผลิตมีน้อย โดยเฉพาะพืชผัก-ผลไม้ แนะเกษตรกรพัฒนาพื้นที่ปลูกเพิ่มมูลค่าผลผลิตทำเงิน

     นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยว่า ไทยถือเป็นแหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์หรือออร์แกนิก (Organic) ที่มีศักยภาพ ภายหลังกรอบความตกลงประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี(AEC) เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 คาดว่า สินค้าเกษตรอินทรีย์จะมีโอกาสทางการตลาดสูงและมีแนวโน้มสดใส แต่ปัจจุบันพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยยังมีไม่มากโดยเฉพาะพืชผักและผลไม้ โดยมีแปลงปลูกพืชชนิดดังกล่าวได้รับการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์จากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพียง 1,084 ฟาร์ม รวมพื้นที่ประมาณ 10,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นผักอินทรีย์ ประมาณ 500 ฟาร์ม เกษตรอินทรีแบบผสมผสาน ประมาณ 300 ฟาร์ม ไม้ผลอินทรีย์กว่า 100 ฟาร์ม อีกทั้งยังมีชาอินทรีย์ เห็ด และสมุนไพรอินทรีย์ เป็นต้น

     นอกจากกนั้น ยังมีข้าวอินทรีย์ซึ่งรับรองมาตรฐานโดยกรมการข้าว และสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยส่วนหนึ่งยังได้รับการตรวจสอบรับรองตามมาตรฐาน IFOAM โดยสำนักงานมาตรฐานอินทรีย์ (มกท.) ที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรฯได้ร่วมจัดทำมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของอาเซียน (ASEAN Standards for Organic Agriculture : ASOA) ขณะเดียวกันยังเร่งเทียบเคียงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ไทยกับมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ของเอเซีย (AROS) ด้วย ซึ่งคาดว่า จะส่งผลดีต่อการค้าและการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยไปยังตลาดอาเซียนและทุกประเทศในทวีปเอเซีย และช่วยผลักดันมูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์เพิ่มสูงขึ้นจากเดิมที่มีมูลค่าการส่งออกปีละกว่า 5,000 ล้านบาท

    อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวอีกว่า ผู้ผลิตพืชผักและผลไม้อินทรีย์ของไทยมีทั้งผู้ผลิตรายเดี่ยว ได้แก่ ผู้ประกอบการเอกชนรายใหญ่ รายกลาง และเกษตรกรรายย่อย และกลุ่มผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ ซึ่งดำเนินธุรกิจในรูปแบบสถาบันเกษตรกร อาทิ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน สหกรณ์ผู้ผลิตเกษตรอินทรีย์ และเครือข่ายของบริษัทธุรกิจการเกษตร อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตดังกล่าวจำเป็น ต้องเร่งพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีสินค้าหลากหลายชนิดและมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการ และให้มีผลผลิตป้อนตลาดอย่างต่อเนื่อง พร้อมพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า เป็นแนวทางที่จะช่วยเสริมศักยภาพการแข่งขันให้กับสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยในตลาดโลกได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!