- Details
- Category: เกษตร
- Published: Sunday, 15 February 2015 17:26
- Hits: 2162
สศก.ชี้ราคาน้ำมันลดช่วยต้นทุนผลิตสินค้าเกษตรลด หนุนความสามารถแข่งขัน
นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ขณะที่โลกกำลังเผชิญวิกฤติราคาน้ำมันลดลงอย่างมากในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จากระดับราคาที่เคยสูงกว่า 100 ดอลลาร์/บาร์เรล เมื่อเดือนมิ.ย.57 ลงมาเหลือเพียง 62.5 ดอลลาร์/บาร์เรล ในเดือนธ.ค.57 ซึ่งต่ำสุดในรอบ 5 ปีนั้น
สศก.ได้วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกมีแนวโน้มลดลง ประกอบด้วย 3 ปัจจัยใหญ่ คือ ความเฟื่องฟูของการผลิตน้ำมันในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆ ของโลก อุปสงค์หรือความต้องการซื้อน้ำมันที่ลดลงในหลายประเทศ และความก้าวหน้าของประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงของยานพาหนะ ซึ่งระดับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จะมีผลทำให้ต้นทุนของการผลิตสินค้าทางการเกษตรหลายประเภทลดลง ในเบื้องต้นคาดว่าต้นทุนการผลิตของภาคเกษตรปรับตัวลดลงซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกษตรกรสามารถนำเงินที่เหลือนั้น ไปลงทุนเพิ่มเพื่อการผลิตสินค้าและบริการต่อไป
ขณะที่รายงานจากมอร์แกน สแตนเลย์ ระบุว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นในระยะสั้น แต่ก็เป็นไปอย่างจำกัดและไม่ยั่งยืน เนื่องจากราคาน้ำมันในปัจจุบันมิใช่จุดต่ำสุดของตลาด ซึ่งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นในปัจจุบันจะเป็นความเคลื่อนไหวเพียงระยะสั้นๆ เท่านั้น เพราะมีปัจจัยหลักหลายอย่าง เช่น การปิดแท่นขุดเจาะน้ำมันหลายร้อยแห่งทั่วสหรัฐฯ ผู้ผลิตน้ำมันหลักของโลกอย่างกลุ่มโอเปกยังคงกำลังการผลิตเท่าเดิม และปัจจัยอื่นๆ ที่จะส่งผลให้ราคาน้ำมันลดลงไปได้อีก
ดังนั้น การวิเคราะห์ของ สศก.ในครั้งนี้ จึงตั้งสมมติฐานให้แนวโน้มระดับราคาน้ำมันลดลงจากระดับราคา 70 ดอลลาร์/บาร์เรล (เฉลี่ยเมื่อต.ค.57) มาจนถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กรณี คือ
1.กรณีที่ระดับราคาน้ำมันอยู่ที่โดยเฉลี่ย 50 ดอลลาร์/บาร์เรล พบว่า สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.505 โดยมีสาขาประมงลดต้นทุนได้สูงสุดได้ถึงร้อยละ 3.586 และต่ำสุดเพียงร้อยละ 0.146
2.กรณีที่ระดับราคาน้ำมันอยู่ที่โดยเฉลี่ย 40 ดอลลาร์/บาร์เรล พบว่า สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยร้อยละ 2.257 โดยมีสาขาประมงลดต้นทุนได้สูงสุดได้ถึงร้อยละ 5.378 และต่ำสุดเพียงร้อยละ 0.219
3.กรณีที่ระดับราคาน้ำมันอยู่ที่โดยเฉลี่ย 30 ดอลลาร์/บาร์เรล พบว่า สามารถลดต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรโดยเฉลี่ยร้อยละ 3.010 โดยมีสาขาประมงลดต้นทุนได้สูงสุดได้ถึงร้อยละ 7.171 และต่ำสุดเพียงร้อยละ 0.292
ดังนั้น เห็นได้ว่าหากระดับราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จะมีผลทำให้ต้นทุนของการผลิตสินค้าทางการเกษตรลดลงเช่นเดียวกัน (คำนวณจากต้นทุนเฉลี่ยสินค้าเกษตร 10 สาขาการผลิตสำคัญ) ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกษตรกรสามารถนำเงินที่เหลือนั้น นำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและ/หรือนำไปลงทุนเพิ่มเพื่อการผลิตสินค้าและบริการให้มากขึ้นต่อไป
สำหรับ การวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตร โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่สำคัญ 6 รายการ คือ ข้าว, มันสำปะหลัง, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์, ปาล์มน้ำมัน, ยางพารา และผลไม้ จะพบว่าเมื่อต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรลดลง จึงส่งผลต่อปริมาณสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของการเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรในตลาดโลกมากขึ้น และเมื่อการผลิตสินค้าเกษตรที่เพิ่มขึ้น จะก่อให้เกิดการปรับปรุงสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพและสอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการจ้างแรงงานภาคเกษตรมากขึ้น
โดยสินค้าข้าว เมื่อระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 แต่ถ้าหากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 ทั้งนี้หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้ปริมาณการผลิตข้าวนาปี จากจำนวนการผลิตข้าว 27.1 ล้านตันและการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 28.2 ล้านตัน
มันสำปะหลัง เมื่อระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 แต่ถ้าหากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้ปริมาณการผลิตข้าวนาปี จากจำนวนการผลิตมันสำปะหลัง 30.0 ล้านตันและการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 30.1 ล้านตัน
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 แต่ถ้าหากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ทั้งนี้หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้ปริมาณการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากจำนวนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4.8 ล้านตันและการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.9 ล้านตัน
ยางพารา เมื่อระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 แต่ถ้าหากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตยางพาราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 ทั้งนี้หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้ปริมาณการผลิตยางพารา จากจำนวนการผลิตข้าว 4.41 ล้านตันและการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.43 ล้านตัน
ปาล์มน้ำมัน เมื่อระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตปาล์มน้ำมัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 แต่ถ้าหากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตปาล์มน้ำมันเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 ทั้งนี้หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้ปริมาณการผลิตปาล์มน้ำมัน จากจำนวนการผลิตข้าว 12.5 ล้านตันและการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 13.2 ล้านตัน
ผลไม้(เงาะ) เมื่อระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 50 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตเงาะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.3 แต่ถ้าหากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ ระดับ ราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงจะส่งผลต่อปริมาณการผลิตเงาะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 ทั้งนี้หากระดับราคาน้ำมันอยู่ที่ 30 ดอลลาร์/บาร์เรล จะทำให้ปริมาณการผลิตเงาะ จากจำนวนการผลิตข้าว 0.32 ล้านตันและการขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 0.33 ล้านตัน
ทั้งนี้ แนวโน้มราคาน้ำมันลดลง จะส่งผลทำให้ต้นทุนของการผลิตสินค้าทางการเกษตรลดลง ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งทำให้เกษตรกรสามารถนำเงินที่เหลือนั้น นำไปปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรและ/หรือนำไปลงทุนเพิ่มเพื่อการผลิตสินค้าและบริการให้มากขึ้น จะทำให้ผลผลิตรวมทางการเกษตรในระดับเศรษฐกิจมหภาคทางการเกษตรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.018 เมื่อระดับราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 1 หากแนวโน้มระดับราคาน้ำมันเปลี่ยนแปลงลดลง จะทำให้ผลผลิตเศรษฐกิจมหภาคทางการเกษตรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นนั่นเอง
สำหรับ การวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อที่มีต่อเศรษฐกิจการเกษตรรายสาขา โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่สำคัญ 6 รายการ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน ยางพาราและผลไม้ จะพบว่าต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรลดลง จึงส่งผลทำให้ปริมาณการผลิตสินค้าเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของการเพิ่มระดับขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรในตลาดโลกมากขึ้นตามไปด้วย
อินโฟเควสท์