WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ธ.ก.ส. สรุปจ่ายเงินจำนำข้าว 9 วัน ให้ชาวนา 3.82 แสนราย เป็นเงินทั้งสิ้น 3.84 หมื่นลบ.

    ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) รายงานว่า ธ.ก.ส.สรุปการจ่ายเงินจำนำข้าว ปี 56/57 รวม 9 วัน ยอดจ่ายสะสม ณ ปัจจุบัน 382,338 ราย เงิน 38,488.31 ล้านบาท

    สรุปการจ่ายเงินจำนำข้าว ปี56/57 ยอด 26 พ.ค.57 จ่ายไป 3,544 ราย เงิน 311.94 ลบ. / 27 พ.ค.57 จ่ายไป 35,943 ราย เงิน 3,272.25 ลบ. / 28 พ.ค.57 จ่ายไป 61,661 ราย เงิน 6,660.41 ลบ./ 29 พ.ค.จ่ายไป 84,233 ราย เงิน 8,999.85 ลบ./ 30 พ.ค. จ่ายไป 118,569 ราย เงิน 11,633.78 ลบ./ 31พ.ค. จ่ายไป 41,697 ราย เงิน 3,893.79 ลบ./1 มิ.ย. จ่ายไป 2,737 ราย เงิน 260.25 ลบ/ 2มิ.ย. จ่ายไป 16,671 ราย เงิน 1,777.65 ลบ./3 มิ.ย. จ่ายไป 17,283 ราย เงิน 1,678.39 ลบ.รวมยอดจ่ายสะสม ณ ปัจจุบัน 382,338 ราย เงิน 38,488.31 ลบ

    ยอดจำจำข้าวเปลือกปี 56/57 มีเกษตรกร เข้าร่วมโครงการ1,691,720 ราย จำนวนข้าวเปลือก 11.81 ล้านตัน จำนวนเงิน 195,450 ล้านบาท ตัวเลขยอดใบประทวน และเงินจำนำข้าว ณ วันที่ 3 มิย.57 ธกส.ทยอยจ่ายไปแล้วจำนวน 1,140,273 ราย ปริมาณ 8,71 ล้านตัน จำนวนเงิน 139,554 ล้านบาท จากยอดจัดสรรทั้งหมด 150,000 ล้านบาท แบ่งเป็น เงินงบประมาณและเงินระบายข้าว 119,500 ลบ. เงิน กองทุน 10,500 ลบ. งบกลางที กกต.ให้ยืม 20,000 ลบ คง เหลือยอดค้างเกษตรกร 551,447 ราย ข้าว 3.10 ลต. เงิน 55,895.57 ลบ.

ธ.ก.ส.เสนอ คสช. อนุมัติเงินช่วยเหลือโครงการประกันภัยพืชผล วงเงิน 494 ลบ.

    นายลักษณ์ วจนานวัช  ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า เพื่อลดความเสียหายจากภัยพิบัติน้ำท่วม  ภัยแล้ง ธ.ก.ส. จึงเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) อนุมัติเงินช่วยเหลือโครงการประกันภัยพืชผล วงเงิน 494 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือชาวนาจ่ายค่าเบี้ยประกันภัย คาดว่าจะเริ่มดำเนินโครงการภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยกำหนดให้เกษตรกรจ่ายเบี้ยประกันตามพื้นที่ความเสี่ยง ระหว่าง 60-100 บาทต่อไร่ ขณะที่รัฐบาลช่วยจ่ายเบี้ยประกันจำนวน 375 บาทต่อไร่ รวมเป็นเบี้ยประกันภัย 457 บาทต่อไร่ โดยเมื่อเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะจ่ายชดเชยอัตรา 1,111 บาทต่อไร่ บวกกับการชดเชยจ่ายบริษัทประกันภัยอีก 1,113 บาทต่อไร่ รวมเป็น 2,224 บาทต่อไร่ เพื่อเป็นการดูแลข้าวนาปีที่จะดำเนินการในช่วงที่เกษตรกรได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าวไปแล้ว

     เบื้องต้นคาดว่า จะมีเกษตรกรให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการ 1.5 ล้านไร่ จากนาข้าวทั้งหมด 65 ล้านไร่ เพราะรัฐบาลมีแรงจูงใจด้วยการช่วยสนับสนุนการจ่ายเบี้ยประกันให้ส่วนหนึ่ง ขณะที่บริษัทประกันวินาศภัยที่เข้าร่วมโครงการมีความสามารถในการรับประกันได้เท่านี้ รวมทั้งเมื่อพิจารณาประวัติการเกิดภัยธรรมชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีพื้นที่เสี่ยงระดับเดียวกับที่วางเป้าหมายไว้

นายกสมาคมโรงสีข้าว ชี้ อานิสงค์ คสช.สั่งตรวจสต็อกข้าว ทำราคาข้าวเปลือกขยับราคา ขึ้นตันละ 300 บาท

            นายมนัส กิจประเสริฐ นายกสมาคมโรงสีข้าวไทย  กล่าวว่า  ผลจากที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)มีมติให้ตรวจสต๊อกข้าวทั่วประเทศก่อนมีการระบายข้าว ทำให้ปริมาณสินค้าที่จะเข้าสู่ตลาดหายไป ประกอบกับมีความต้องการซื้อจากต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง  ทำให้ในขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในประเทศเริ่มปรับราคาขึ้นในระดับ 7,300 – 7,500บาทต่อตัน เพิ่มจากเดือนเม.ย.ที่ผ่านมาเฉลี่ยตันละ300บาท  โดยเบื้องต้นประเมินว่าราคาข้าวจากนี้ไม่น่าจะต่ำกว่าตันละ 7,000บาท แต่หากต้องการให้ราคาข้าวมีเสถียรภาพการระบายไม่ควรออกมาระบุว่าจะดำเนินการขายในปริมาณเท่าใดและภายในช่วงใด แต่ต้องดำเนินการอย่างโปร่งใสซึ่งสมาคมฯได้หารือกันภายในเพื่อหาแนวทางดูแลราคาข้าวอย่างยั่งยืนเพื่อเสนอให้ คสช.

     ราคาข้าวขึ้นมา ขานรับที่จะมีการตรวจสต๊อกข้าวรัฐแน่นอนทำให้ข้าวหายออกไปจากตลาดทันที จากเดิมที่จะมีข้าวทยอยออกมาเรื่อยๆ ตามแผนที่รัฐได้ระบายออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งราคาข้าวที่ปรับเพิ่มขึ้นไม่ได้ทำให้โรงสีมีกำไรมากเพราะก่อนหน้านี้โรงสีต้องแย่งซื้อข้าวในตลาดเนื่องจากกำลังการผลิตของโรงสีสูงกว่าปริมาณข้าวถึง 3เท่า

คสช.เตรียมตั้งกรรมการตรวจสอบการใช้งบประมาณ สร้างความโปร่งใส

     พ.อ. วินธัย สุวารี รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เตรียมแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบ การใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องความโปร่งใสต่อการดำเนินงานและโครงการต่างๆ  โดยมุ่งสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน

ธ.ก.ส. ตั้งนิติบุคคลพิจารณาปล่อยกู้คนทั่วไป-ช่วยแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ

     ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ตั้งนิติบุคคลเข้ามาทำหน้าที่ตัดสินใจปล่อยสิ้นเชื่อลูกค้าอาชีพทั่วไป ตามนโยบายของของ คสช.

    นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.) เผยว่า ธนาคารพร้อมตั้งนิติบุคคลให้เข้ามาพิจารณาปล่อยสินเชื่อให้ลูกค้ารายย่อยประกอบอาชีพทั่วไป ตามนโยบายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่สั่งให้สถาบันการเงินของรัฐศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบ โดยธนาคารจะเดินหน้าศึกษาปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อยดังกล่าว ด้วยการทำงานร่วมกับองค์กรในท้องถิ่น อาทิ กองทุนหมู่บ้าน สถาบันการเงินชุมชน สหกรณ์ที่เชื่อมโยงกับทางการเกษตร

   ส่วนวิธีการปล่อยกู้จะให้องค์กรในท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณา จากนั้น ธ.ก.ส.จะสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้ โดยวางเป้าหมายเพิ่มสถาบันการเงินชุมชนเพิ่มอีก 3,000 แห่ง ภายใน 3 ปี

            อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!