- Details
- Category: เกษตร
- Published: Wednesday, 27 March 2024 16:20
- Hits: 9622
วว. ต้อนรับองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ในโอกาสเยี่ยมชม สถานีวิจัยลำคอง โครงสร้างพื้นฐานพลังงาน/เทคโนโลยีเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ
นายมนตรี แก้วดวง ผู้อำนวยการ สถานีวิจัยลำตะคอง หน่วยงานในสังกัด ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) พร้อมด้วย ดร.พนิดา เทพขุน นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมพลังงานและสิ่งแวดล้อม ดร.เจต พานิชภักดี นักวิจัยอาวุโส ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมวัสดุ และคณะนักวิจัย บุคลากร สำนักจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม วว. ร่วมให้การต้อนรับ ดร.วิจารย์ สิมาฉายา ผู้อำนวยการ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยและเลขาธิการองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Thailand Business Council for Sustainable Development : TBCSD) พร้อมด้วยคณะผู้แทนองค์กรสมาชิก TBCSD ได้แก่ บริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) บริษัทแอสเซทไวส์ จำกัด (มหาชน) บริษัทดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) บริษัทจระเข้คอร์ปอเรชั่น จำกัด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บริษัท ปตท.น้ำมันและค้าปลีก จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัทราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) บริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) บริษัทเอสซีบีเอกซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัทโตโยต้ามอเตอร์ประเทศไทย จำกัด บริษัทเหล็กทรัพย์ จำกัด ภายใต้กิจกรรม “TBCSD Trip สัญจร ศึกษาดูงานการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทน ก้าวใหม่ของความท้าทายด้านพลังงานในอนาคต” ในโอกาสเยี่ยมชม สถานีวิจัยลำตะคอง อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ (ยางพารา) และศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ของ วว. ในวันที่ 26 มีนาคม 2567 ณ สถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา
สถานีวิจัยลำตะคอง ดำเนินการวิจัยทางด้านการเกษตรและการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนและสังคม มีภารกิจและเป้าหมายมุ่งวิจัย พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ควบคู่ไปกับการสร้างจิตสำนึก การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านงานวิจัยเพื่อนําไปสู่เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน
อาคารถ่ายทอดเทคโนโลยีสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ (ยางพารา) ให้บริการแบบองค์รวม (Total solution) ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยงานวิจัย ยกระดับการทดลองผลิตเพื่อทดลองตลาดและการวิเคราะห์ทดสอบวัสดุผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติและถ่ายทอดเทคโนโลยี รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ในการสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติ บนพื้นฐานการใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อรองรับกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน อาทิ นวัตกรรมแปรรูปผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ ทั้งในรูปแบบผลิตภัณฑ์จากน้ำยางและผลิตภัณฑ์จากยางแห้ง
ศูนย์สาธิตการผลิตพลังงานทดแทนจากชีวมวลและขยะ ภายในศูนย์ประกอบด้วย 3 เทคโนโลยี ได้แก่ แก๊สซิฟิเคชัน ไบโอแก๊ส และการคัดแยกขยะ โดยเทคโนโลยีการคัดแยกขยะเป็นการแยกส่วนประกอบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม โดยขยะที่สามารถเผาไหม้ได้เปลี่ยนเป็นแก๊สเชื้อเพลิงด้วยกระบวนการแก๊สซิฟิเคชัน ส่วนขยะที่สามารถหมักหรือน้ำเสียจะนำเข้ากระบวนการไบโอแก๊สเพื่อเปลี่ยนเป็นแก๊สซีวภาพ นอกจากนี้ในกระบวนการแก๊สซิฟิเคชันได้ทำการศึกษาของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาเปลี่ยนแก๊สเชื้อเพลิง ได้แก่ เหง้ามัน ซังข้าวโพด และกะลาปาล์ม เป็นต้น ส่วนเทคโนโลยีไบโอแก๊สได้มีการศึกษาของเสียและพืชทางเลือกผลิตเป็นพลังงานได้แก่ กากมันสำปะหลัง กากตะกอนน้ำเสีย และข้าวฝ้างหวาน เป็นต้น
3916