WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร แจ้งข่าวดี EU มีมติรับรองพืชปรับแต่งจีโนม (GEd) และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ ปลอดภัยสูง เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม และไม่เป็นพืช GMOs

 

2287 DOA Rapipat

          นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 7 ก.พ. 2567 EU โดย รัฐสภายุโรป (European parliament) มีมติรับรองเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม หรือเทคนิคจีโนมแบบใหม่ (GEd, New Genomic Techniques (NGTs), Genome editing) เป็นผลให้พืชที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (GEd) และเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ มีความปลอดภัยสูง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่จัดเป็นพืช GMOs และจะถูกพิจารณาเช่นเดียวกับพืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์แบบปกติ ไม่ใช้กฎหมายและหลักเกณฑ์เดียวกันกับพืช GMOs อีกต่อไป 

          ผลการลงมติในครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหารของยุโรป และการทำให้การผลิตทางการเกษตรเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กฎระเบียบใหม่นี้จะอนุญาตให้มีการพัฒนาพันธุ์พืชที่ได้รับการปรับปรุงให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถรับประกันผลผลิตที่สูงขึ้น ทนต่อสภาพอากาศและใช้ปุ๋ย ยาฆ่าแมลงน้อยลง โดยในขั้นตอนหลังจากนี้ รัฐสภายุโรปจะดำเนินการเจรจากับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในการร่างกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องต่อไป

          อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ผลการลงมติของสหภาพยุโรปครั้งนี้ ตอบโจทย์ และสอดคล้องกับนโยบายของร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงนโยบายของรัฐบาลอย่างถูกเวลา ซึ่งสมาชิกสภายุโรปเห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมที่มีความปลอดภัยสูงต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม มาช่วยในการลดต้นทุน เพิ่มคุณภาพและผลผลิตด้านการเกษตร ดังนั้นถึงเวลาแล้วที่ประเทศไทยโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร จะเร่งดำเนินการขับเคลื่อนเทคโนโลยี genome editing หรือ gene editing (GEd) ภาคเกษตรสู่ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร และร่างหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมสำหรับประเทศไทย”

 

2287 DOA GEd

 

          ปัจจุบันเทคโนโลยี GEd ได้รับการสนับสนุนจากองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO), OECD มี 13 ประเทศประกาศสนับสนุนในที่ประชุมองค์การการค้าโลก (WTO) การใช้ประโยชน์เมล็ดพันธุ์ร่วมกันทั้งเชิงการค้าและการบริโภค โดยกว่า 40 ประเทศทั่วโลก อาทิ แคนาดา อเมริกา บราซิล อาร์เจนตินา ชิลี ญี่ปุ่น จีน อังกฤษ สวิสเซอร์แลน ฟิลิปปินส์ เคนยา รัสเซีย และออสเตรเลีย ประกาศใช้นโยบาย No foreign DNA = not GMOs โดยถือว่าพืช GEd มีความปลอดภัยเช่นเดียวกับพืชปกติทั่วไป

          “กรมวิชาการเกษตรได้รับหนังสือจากนายวรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ประธานคณะกรรมการเทคนิคด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ เรื่องการจัดทำ “แนวทางการพิจารณาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (genome editing)” เพื่อเป็นเกณฑ์ด้านเทคนิควิชาการสำหรับพิจารณาสิ่งมีชีวิตที่พัฒนาโดยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมที่ไม่เข้าข่ายสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม ซึ่งถือเป็นข่าวดีในรอบ 30 ปี ที่ประเทศไทยจะสามารถใช้เทคโนโลยี GEd ที่ไม่มียีนถ่ายฝากจากสิ่งมีชีวิตอื่น และแก้ไขพันธุกรรมที่มีความจำเพาะและแม่นยำ ทำได้ง่าย ใช้เวลาสั้น มีต้นทุนต่ำ ไม่ต่างจากการกลายพันธุ์ ที่สำคัญไม่ใช่ GMOs และเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีความปลอดภัยสูง” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

 

 

2287

Click Donate Support Web 

SME 720x100 66

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C J

MTL 720x100

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

 

 

AXA 720 x100aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

SME 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

gen 720x100

 

TOA 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!