WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

 

วว./วช./บพท. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากจังหวัดกาฬสินธุ์ ด้วย 10 เทคโนโลยีการเกษตร

 

11789 MHESI ศุภมาส อิศรภักดี

 

          นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) มอบนโยบายขับเคลื่อนเชิงพื้นที่สนับสนุนให้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) นำ 10 เทคโนโลยีการเกษตรที่วิจัยและพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ไปพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการศึกษา ผู้ประกอบการและเกษตรกร ภายใต้โครงการแก้ไขปัญหาความยากจน เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) โดยการสนับสนุนงบประมาณจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ระบุผลดำเนินงานสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรแล้ว 60 ราย พร้อมพัฒนาหลักสูตรการเกษตร Quick win เพื่อพัฒนาบุคลากรสู่การเกษตรอุตสาหกรรม ได้แก่ Young smart famer, Agri business และจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Non-degree

 

11789 TISTR ดร ชุติมา

 

          ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า ภารกิจหลักที่สำคัญของ วว. คือ วิจัย พัฒนา และบูรณาการด้าน วทน. เพื่อสร้างคุณค่ามูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจประเทศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพ ตอบสนองการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรม สู่ภาคอุตสาหกรรมและวิสาหกิจชุมชน ผลักดันให้เกิดการนําไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญในการดำเนินงานของ วว. ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยเฉพาะส่วนภูมิภาคซึ่งถือเป็นโอกาสและหัวใจของประเทศในปัจจุบัน วว. จึงนำยุทธศาสตร์การใช้ประโยชน์ของ วทน. เข้าไปสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจฐานรากจากทรัพยากรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม ตอบสนองวิถีชีวิตในอนาคต (Inclusive Growth & Wellness) และรักษาทรัพยากร เพื่อส่งต่อให้คนรุ่นหลังได้ใช้ประโยชน์ต่อไปตามแนวทางการพัฒนาแบบยั่งยืน (Sustainable development) 

 

11789 วว ภาพรวมโครงการ

 

          วว. ในฐานะผู้ผลิตเทคโนโลยีของประเทศ มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนาบนฐานทรัพยากรชีวภาพ เพื่อให้ทรัพยากรชีวภาพถูกยกระดับการใช้ประโยชน์ ได้รับการส่งต่อเพื่อการเพิ่มมูลค่าและสร้างคุณค่า ปัจจุบัน วว. ดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ ในการวิจัยพัฒนาและผลิต 10 เทคโนโลยีด้านการเกษตร โดยได้นำไปพัฒนาศักยภาพของ นักเรียน นักศึกษา ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ดังนี้

          1) เทคโนโลยีเกษตรมูลค่าสูง จำนวน 4 เทคโนโลยี ได้แก่ 1.เทคโนโลยีดอกไม้กินได้ (Edible flower) 2.เทคโนโลยีไม้ดอกไม้ประดับและการเพาะเลี้ยงเยื่อ 3.เทคโนโลยีเห็ดเสริม Selenium และ 4.เทคโนโลยีการยืดอายุผักและเห็ด เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้เกษตรกร ลดความเสี่ยงจากราคาผลผลิตที่ผันผวนตามราคาตลาดโลก (ข้าวและมันสำปะหลัง) และเป็นอาชีพเสริมเพื่อเสริมอาชีพหลักให้กับเกษตรกร

 

11789 ดอกไม้กินได้

11789 เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

 

          2) เทคโนโลยีเกษตรปลอดภัย จำนวน 2 เทคโนโลยี ได้แก่ 1.เทคโนโลยี Hydroponic และ 2.เทคโนโลยีชีวภัณฑ์ มุ่งให้เกษตรกรที่ทำการเกษตรอยู่แล้วมีทักษะเพิ่มขึ้น (Reskill & Upskill) เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงตามความต้องการของตลาดที่เพิ่มมากขึ้น 

 

11789 hydroponic01

11789 สารชีวภัณฑ์jpg

 

          3) เทคโนโลยีเกษตรลดต้นทุน จำนวน 4 เทคโนโลยี ได้แก่ เทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยคุณภาพสูง ซึ่งปุ๋ยถือเป็นต้นทุนหลักในการทำเกษตร โดยให้เกษตรกรรู้จักการผลิตปุ๋ยใช้เองและมีต้นทุนการผลิตลดลง พร้อมทั้งการพัฒนาหลักสูตรด้านการเกษตรที่ถือว่าเป็นงาน Quick win เพื่อพัฒนาบุคลากรด้านการเกษตรสู่การเกษตรอุตสาหกรรม ได้แก่ Young smart famer, ผู้ประกอบการในธุรกิจการเกษตร Agri business นักพัฒนาชุมชน ให้มีองค์ความรู้เชิงลึกและทักษะด้านการเกษตร เพื่อนำความรู้ไปส่งเสริมและขยายผล ประกอบด้วยหลักสูตร เทคโนโลยีการผลิตไม้ดอกไม้ประดับ เทคโนโลยีการผลิตผัก และเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเชิงการค้า โดยจัดการเรียนการสอนในรูปแบบแบบ Non-degree การฝึกทำงาน พร้อมฝึกทักษะ ซึ่ง วว. ได้รับทุนวิจัยจากหน่วยงาน แล้วมอบเทคโนโลยีให้มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์นำไปขยายผลและปรับการดำเนินงานไปตามบริบทของเกษตรกรและพื้นที่ที่รับผิดชอบ โดยผ่านการทำความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและในพื้นที่ รวมทั้งหน่วยงานเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานให้ทุน (Funding agency) และหน่วยงาน function ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้เป็นเทคโนโลยีพร้อมใช้และพร้อมสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ใช้และพื้นที่ ซึ่งเป็นเจตนารมณ์หลักในการดำเนินงานของกระทรวง อว. 

 

11789 ดร ชุติมา รศ จิระพันธ์

 

          “...ผลการดำเนินงานโครงการแก้จนของ วว. บพท. และมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ มีเกษตรกรกรในโครงการได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้จำนวน 60 ราย ในพื้นที่ตำบลสงเปลือย อำเภอนามน ในกลุ่มของการพัฒนาปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยีด้านการผลิตสารชีวภัณฑ์ ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง การปรับปรุงดินที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกพืช เห็ดเสริม selenium การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อดอกไม้ เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ได้สร้างเครือข่ายพันธมิตรพื้นที่ในการดำเนินงาน ณ อำเภอนามน สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอนามน สำนักงานเกษตรอำเภอนามน และสนับสนุนการดำเนินงานด้านการตลาดโดย บริษัท สฤก จำกัด ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวเป็นการเสริมรายได้ให้กับรายได้หลัก (ได้แก่ การปลูกข้าว อ้อย มันสำปะหลัง) นอกจากนี้ วว. ยังได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ในการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ด้านการเกษตรแก้จน เพื่อเป็นพื้นที่เก็บองค์ความรู้ และ stock เชื้อ ให้กับเกษตรกร เพื่อนำไปใช้ในการดำเนินงานและพัฒนาให้เป็นธุรกิจการเกษตรที่ยั่งยืนต่อไป...” ผู้ว่าการ วว. กล่าวถึงการดำเนินงานทั้งในปัจจุบันและอนาคต

 

 

11789

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!