WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

7293 DOA

กรมวิชาการเกษตร ชงปลูกงาอินทรีย์และ GAP เสริมรายได้หลังนา

          กรมวิชาการเกษตรสร้างชุมชนต้นแบบผลิตเมล็ดพันธุ์งาอินทรีย์ และงา GAP ชูเป็นพืชเสริมหลังนาโดยใช้เทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ราคาดี มีตลาดแน่นอน งาอินทรีย์สร้างรายได้ 10,600 บาทต่อไร่ ส่วนงา GAP สร้างรายได้8,080 บาทต่อไร่ 

          นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่าศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินงานวิจัยด้านการผลิตงาในสภาพนาระบบอินทรีย์ และเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)ในระหว่างปี 2564-2566ด้วยเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรซึ่งประกอบด้วย “พันธุ์งาดำอุบลราชธานี 3”การเตรียมดิน การปลูก การดูแลรักษา การจัดการปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยนำไปทดสอบในพื้นที่จริง ทำให้สามารถจัดการองค์ความรู้เป็นชุดเทคโนโลยีการผลิตงาในสภาพนาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยได้ถ่ายทอดสู่กลุ่มเกษตรกรภายใต้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวัตวิถีเกษตรอินทรีย์ลำเซบก ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล กลุ่มเกษตรกร ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง และกลุ่มเกษตรกรชุมชนเก่าขาม อำเภอน้ำยืน ในจังหวัดอุบลราชธานี 

          ในปี 2564 ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี มีโครงการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่แบบมีส่วนร่วม (MOU) จากหลายภาคส่วนได้แก่ กลุ่มเกษตรกร องค์การบริหารส่วนตำบลเก่าขาม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และ บริษัท ซิน ออแกนิค อินเตอร์ฟู๊ด จำกัด (ผู้ประกอบการ) โดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต ส่งผลให้มีตลาดรองรับที่ชัดเจน สามารถพัฒนาผลผลิตและคุณภาพงา ยกระดับราคาผลผลิต แต่อย่างไรก็ตามผลผลิตงาในปี 2564 ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้รับซื้อ ประกอบกับเมล็ดพันธุ์งาคุณภาพดีที่ผลิตโดยภาครัฐมีไม่พอเพียงต่อการขยายพื้นที่ปลูกงา 

          อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ดังนั้นปี 2565 ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี จึงได้ขยายกลุ่มเกษตรกรและเพิ่มพื้นที่ปลูกโดยต่อยอดเป็นโครงการพัฒนาชุมชนต้นแบบการผลิตเมล็ดพันธุ์งาอินทรีย์ และงา GAP ในสภาพนาเพื่อยกระดับรายได้ให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างเกษตรกรที่มีศักยภาพในการผลิตเมล็ดพันธุ์งาอินทรีย์และงา GAP ที่มีคุณภาพไว้ใช้เอง ในพื้นที่ที่มีประสบการณ์ในการปลูกงาแล้วคือ ตำบลเก่าขาม อำเภอน้ำยืน และ ตำบลขามเปี้ย อำเภอตระการพืชผล และ ตำบลท่าเมือง อำเภอดอนมดแดง จังหวัดอุบลราชธานี 

          จากโครงการดังกล่าวสามารถสร้างเกษตรกรต้นแบบผ่านกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้จากศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี (Train to trainer) จำนวน 10 ราย สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ทำให้เกิดแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ในชุมชน จำนวน 20 แปลง (18.5 ไร่) ผลผลิตเมล็ดพันธุ์งารวม 1,498 กิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 81 กิโลกรัมต่อไร่ รวมทั้งผลผลิตงาที่ได้เกษตรกรเก็บไว้ใช้เป็นเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ในฤดูกาลถัดไปจำนวน 100 กิโลกรัม ที่เหลือนำไปจำหน่ายภายในชุมชน ราคา 80บาทต่อกิโลกรัม และจำหน่ายผลผลิตให้กับบริษัทฯ ราคา 100 บาทต่อกิโลกรัม 

          “เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีความพึงพอใจต่อการปลูกงาเป็นพืชหลังนา ถึงแม้ว่าผลผลิตจะไม่สูงมากนัก แต่ราคาที่ได้รับสูงกว่าท้องตลาดถึง 2 เท่า เนื่องจากมีการประกันราคาจากบริษัทและมีตลาดที่แน่นอนในการจำหน่ายผลผลิต โดยเกษตรกรมีรายได้จากเมล็ดพันธุ์งาอินทรีย์ประมาณ10,600 บาทต่อไร่ และงา GAP ประมาณ 8,080 บาทต่อไร่ รวมทั้งเกษตรกรยังมีความต้องการที่จะปลูกงาหลังนาเพื่อเป็นพืชเสริมรายได้ต่อไป” อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว

 

 

A7293

Click Donate Support Web  

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100MTL 720x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!