WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สมาคมกุ้งไทย คาด ปี 58 ผลิตกุ้งได้ 2.5-3 แสนตัน มากกว่าปีนี้ที่ผลิตได้ราว 2.3 แสนตัน จากปัญหาโรค EMS

    นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย คาดว่าในปี 58 จะสามารถผลิตกุ้งได้ 2.5-3 แสนตัน และจะเข้าสู่ภาวะปกติ จากปีนี้ที่ผลิตได้ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 8% หรือผลิตได้ประมาณ 2.3 แสนตัน เนื่องมาจากปัญหาโรคตายด่วน (EMS) ที่เผชิญมาตั้งแต่ปลายปี 54

       นอกจากนี้ คาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ในการเร่งแก้ปัญหากีดกันทางการค้า, เรื่องแรงงานภาคบังคับ และปัญหาที่ถูกสหภาพยุโรป(EU) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(GSP) เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน

    สำหรับการส่งออกกุ้งไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ต.ค.57) มีปริมาณอยู่ที่ 129,432 ตัน คิดเป็นมูลค่า 51,722 ล้านบาท ซึ่งหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 56 แล้ว ปริมาณการส่งออกกุ้งลดลง 26.34% และมูลค่าลดลง 8.09%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ส.กุ้งไทยคาดปี 58 ผลิตกุ้งได้ 2.5-3 แสนตัน หลังปีนี้ลดลงจากโรค EMS

   นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย คาดว่าในปี 58 จะสามารถผลิตกุ้งได้ 2.5-3 แสนตัน และจะเข้าสู่ภาวะปกติ จากปีนี้ที่ผลิตได้ลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 8% หรือผลิตได้ประมาณ 2.3 แสนตัน เนื่องมาจากปัญหาโรคตายด่วน (EMS) ที่เผชิญมาตั้งแต่ปลายปี 54

     ขณะที่การส่งออกในปี 58 คาดว่า จะเติบโตได้ประมาณ 20% โดยคาดว่าจะจะส่งออกกุ้งได้ปริมาณ 2 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออกประมาณ 7.5-8 หมื่นล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าเมื่อถึงเดือนธ.ค.57 จะส่งออกได้ 1.6 แสนตัน คิดเป็นมูลค่าส่งออกเกือบ 6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากกุ้งยังเป็นอาหารที่ทั่วโลกยังต้องการ โดยอัตราการบริโภคกุ้งสูงราว 4 หมื่นปอนด์/คน/ปี สูงกว่าทูน่าที่ความต้องการบริโภคอยู่ที่ 3.6 หมื่นปอนด์/คน/ปี

      ทั้งนี้ การส่งออกกุ้งไทยในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ต.ค.57) มีปริมาณอยู่ที่ 129,432 ตัน คิดเป็นมูลค่า 51,722 ล้านบาท สำหรับตลาดส่งออกกุ้งของไทย ในปี 57 ได้แก่ สหรัฐฯ 42% ญี่ปุ่น 24% สหภาพยุโรป 13% ออกสเตรเลีย 4% และอื่นๆ 17% ซึ่งหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 56 แล้ว ปริมาณการส่งออกกุ้งลดลง 26.34% และมูลค่าลดลง 8.09%

    ส่วนสถานการณ์ด้านราคา ไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่นอนเนื่องจากยังมีหลายปัจจัยที่ต้องจับตาดู แต่เชื่อว่าราคาปีหน้าน่าจะยังทรงตัวใกล้กับในปีนี้

      โดยปัจจัยที่ต้องจับตาดูในปีหน้าคือการถูกตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP ของยุโรป ที่จะเริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม 2558 ที่จะทำให้ผู้ประกอบการเสียภาษีส่งออกกุ้งเพิ่มขึ้นเป็น 12% จาก 4% ซึ่งจะทำให้ความสามารถการแข่งขันของผู้ประกอบการลดลง จึงอยากให้รัฐบาลเร่งเจรจาข้อตกลงการค้าเสรีหรือ FTA ไทย-อียู เพื่อให้ภาษีเป็น 0% รวมทั้งหากไทยยังไม่เร่งแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ที่ไทยถูกจัดอยู่ในระดับต่ำ หรืออยู่ในบัญชี Tier3 ทางอียูจะส่งการแจ้งเตือน และหลังจากนั้นภายใน 6 เดือน จะสั่งห้ามการนำเข้าสินค้าประมงทุกชนิดจากไทย ซึ่งสมาคมฯ เคยชี้แจงแล้วว่าไทยใช้กุ้งจากฟาร์มเลี้ยง แต่อียูก็ใช้ประเด็นเรื่องไทยใช้ปลาป่นเป็นอาหารเลี้ยงกุ้งซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานผิดกฎหมายมาเป็นเงื่อนไขกับไทย เรื่องการขจัดการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU) ซึ่งล้วนแต่ยังเป็นอุปสรรคการค้าที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไทย

   นอกจากนี้ ในปีหน้ายังต้องติดตามภาวะเศรษฐกิจโลก อัตราแลกเปลี่ยน และราคาน้ำมันด้วย

    "คาดหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างเต็มที่ในการเร่งแก้ปัญหากีดกันทางการค้า, เรื่องแรงงานภาคบังคับ และปัญหาที่ถูกสหภาพยุโรป(EU) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร(GSP) เพื่อช่วยให้อุตสาหกรรมกุ้งไทยอยู่รอดได้อย่างยั่งยืน"นายสมศักดิ์ กล่าว

    ส่วนการแก้ปัญหาเรื่องโรคตายด่วน(EMS) ที่เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเผชิญมาตั้งแต่ปี 54 ปัจจุบันก็ได้มีการพยายามแก้ไขปรับปรุงกันอย่างต่อเนื่อง ทั้งเลือกพันธุ์ลูกกุ้งที่ดี มีการทำความสะอาดบ่อไม่ให้เกิดการหมักหมมของสิ่งสกปรกและเชื้อโรค มีการพักบ่อเมื่อ มีน้ำสำรองเพียงพอ ทำให้สถานการณ์การเพาะเลี้ยงกุ้งเริ่มกลับมาสดใสอีกครั้ง

     อย่างไรก็ตาม อยากขอร้องให้ภาครัฐพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเรื่องเงินทุน เนื่องจากการพัฒนาการปรับปรุงการเลี้ยงต้องใช้เงินลงทุนสูง

     นายสมศักดิ์ กล่าวว่า จากปัญหาวิกฤตที่ไทยต้องเผชิญหลายเรื่องมาตั้งแต่ปี 54 ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไทยลดลง จนต้องเสียแชมป์ส่งออกกุ้งในตลาดสหรัฐฯ มาอยู่อันดับ 4 ส่วนแบ่งการตลาดเหลือ 10% จากเดิมที่เคยมีส่วนแบ่งการตลาด 30% แต่เราก็พยายามแก้ปัญหามาอย่างต่อเนื่องทำให้เชื่อว่าเราจะสามารถทวงแชมป์การส่งออกกุ้งกลับมาได้ในที่สุด

      "เราเจอวิกฤตแรงจนผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ตอนนี้เราชนพื้นแล้วและกำลังฟื้น"นายสมศักดิ์ กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!