WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

สินเชื่อรง.ยาง 1.5 หมื่นล.สะดุด แบงก์ออมสินวิ่งโร่แจงรัฐบาล

      แนวหน้า : สินเชื่อรง.ยาง 1.5 หมื่นล.สะดุด แบงก์ออมสินวิ่งโร่แจงรัฐบาล ผู้ขอกู้เป็นหนี้เสีย-ติดเครดิตบูโร

     ธนาคารออมสิน ส่งตัวแทนเข้าชี้แจงรัฐบาลปล่อยกู้ยางไม่ได้ พบผู้ขอกู้เป็นหนี้เสีย แถมขอกู้เกินจริง ชี้ช่องรัฐไฟเขียวปรับเกณฑ์ชดเชยความเสียหายแล้วชงเข้าครม.อนุมัติ

    แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางว่ายังไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน ซึ่งทางผู้บริหารออมสินได้เข้าชี้แจงต่อตัวแทนรัฐบาลแล้ว ถึงสาเหตุที่ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อในโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทได้ เนื่องจากผู้ประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อส่วนใหญ่มีคุณสมบัติไม่ครบ และเมื่อนำรายชื่อตรวจกับเครดิตบูโรพบว่ามีประวัติเป็นหนี้เสียเป็นส่วนใหญ่

    นอกจากนี้ พบว่าบางรายนอกจากจะขอกู้เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ให้กู้แล้ว ยังขอกู้เงินเพื่อนำไปซื้อที่ดิน โดยชี้แจงว่าต้องการขยายกำลังผลิต รวมทั้งขอเงินที่เป็นทุนหมุนเวียนด้วยอีก ซึ่งที่ผ่านมามีผู้ประกอบการมายื่นเอกสารขอสินเชื่อ แล้วประมาณ 20 ราย มียอดสินเชื่อที่ขอมาตั้งแต่หลักไม่ถึง 10 ล้านบาท ไปจนถึง 4,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อมีการตรวจเอกสารหลักฐานพบว่ามีลูกหนี้ที่ผ่านเกณฑ์ปล่อยกู้ได้อยู่เพียง 2-3 รายเท่านั้น ประกอบกับโครงการนี้รัฐบาลจะชดเชยให้เฉพาะดอกเบี้ย ส่วนความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อให้ธนาคารเป็นผู้แบกรับภาระเอง ดังนั้นการพิจารณาปล่อยสินเชื่อจึงต้องทำบนหลักการปล่อยสินเชื่อตามมาตรฐานของลูกค้าทั่วไป

    พร้อมกันนี้ ได้มีการหารือให้รัฐบาลช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ธนาคาร การปล่อยสินเชื่อเป็นหนี้เสีย แยกระดับการชดเชยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ เพื่อให้ธนาคาร สามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น ซึ่งหากรัฐบาลเห็นชอบก็จะต้องเสนอปรับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบต่อไป

    ก่อนหน้านี้ ครม. มีมติให้ธนาคารออมสิน ปล่อยสินเชื่อวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต เนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางในประเทศ ประสบปัญหาเครื่องจักร และเทคโนโลยีที่ใช้อยู่เป็นเครื่องจักรเก่าและล้าสมัย ทำให้ความสามารถในการแข่งขันต่ำ รวมทั้งเครื่องจักร และเทคโนโลยีส่วนใหญ่ ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และลงทุนสูง

   สำหรับ ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาง ทั้งจากน้ำยางข้น และยางแห้ง ที่ใช้ยางพาราในประเทศ เช่น ถุงมือยาง ยางยืด ยางล้อ ยางที่ใช้ในงานวิศวกรรม ต้องจดทะเบียนในไทย มีผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทยมากกว่า 50% ของทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วทั้งนี้การให้สินเชื่อเป็นประเภทเงินกู้ระยะยาว ไม่เกิน 10 ปี ผู้กู้จะชำระดอกเบี้ยเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนของธนาคารออมสิน ปัจจุบัน 2%

    ขณะที่หลักประกันในการขอสินเชื่อ เช่น ที่ดิน อาคาร สำนักงาน เครื่องจักร กรณีที่หลักประกันดังกล่าวไม่เพียงพอ สามารถใช้หลักประกันอื่นเพิ่มเติมตามที่ธนาคารออมสินกำหนด รวมถึงหนังสือค้ำประกันจากบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) เป็นหลักประกันเสริมได้

    ก่อนหน้านี้ นายสมชาย หาญหิรัญ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สาเหตุยางพาราลดต่ำลง ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากผลผลิตยางพาราที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การดำเนินโครงการสนับสนุนสินเชื่อผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางเพื่อขยายกำลังการผลิตหรือปรับเปลี่ยนเครื่องจักรการผลิต จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้ราคาปรับสูงขึ้น

ออมสิน เต้นสินเชื่อ'ยาง'ไม่ออก ผู้ขอกู้ตกเกณฑ์-หวั่นเพิ่มหนี้เสีย

   ไทยโพสต์ * ออมสินหารือรัฐ บาล ปล่อยกู้สินเชื่อยาง 1.5 หมื่นล้านบาทไม่ออก เหตุผู้ขอกู้ตกคุณสมบัติ หวั่นเพิ่มหนี้เสียให้ธนาคาร เล็งขอแยกบัญชีรับชดเชยความเสียหาย

    รายงานข่าวจากทำ เนียบรัฐบาล ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ยางพารา ว่ายังไม่ได้รับอนุมัติเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน ซึ่งผู้บริ หารออมสินได้เข้าชี้แจงต่อตัว แทนรัฐบาลถึงสาเหตุที่ไม่สามารถปล่อยสินเชื่อในโครง การสนับสนุนสินเชื่อผู้ประ กอบการผลิตภัณฑ์ยางวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทได้ เพราะผู้ประกอบการที่ยื่นขอสินเชื่อส่วนใหญ่มีคุณสมบัติไม่ครบ

   โดยเมื่อนำรายชื่อมาตรวจสอบกับเครดิตบูโร พบว่ามีประวัติเป็นหนี้เสียเป็นส่วนใหญ่ บางรายนอกจากจะขอกู้เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่อง จักรตามวัตถุประสงค์แล้ว ยังขอกู้เงินเพื่อนำไปซื้อที่ดิน โดยชี้แจงว่าต้องการขยายกำลังผลิต รวมทั้งขอเงินที่เป็น ทุนหมุนเวียนด้วยอีก

   ซึ่งมีผู้ประกอบการยื่น เอกสารขอสินเชื่อแล้วประ มาณ 20 ราย มียอดสินเชื่อที่ขอตั้งแต่ไม่ถึง 10 ล้านบาท จนถึง 4 พันล้านบาท และมีผ่านเกณฑ์ปล่อยกู้เพียง 2-3 รายเท่านั้น ประกอบกับโครง การนี้รัฐบาลจะชดเชยให้เฉพาะ อัตราดอกเบี้ย ส่วนความเสียหายที่เกิดจากการปล่อยสินเชื่อ ให้ธนาคารเป็นผู้แบกรับภาระเอง ดังนั้น การพิจารณาปล่อยสินเชื่อ จึงต้องทำบนหลักการปล่อยสินเชื่อตามมาตรฐานของลูกค้าทั่วไป

   "ได้หารือให้รัฐบาลช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นในกรณีที่ธนาคารปล่อยสินเชื่อและกลายเป็นหนี้เสีย โดยเสนอให้แยกระดับการชดเชยตามความเสี่ยงของลูกหนี้ เพื่อให้ธนาคารสามารถปล่อยสินเชื่อได้มากขึ้น หากรัฐบาลเห็นชอบ จะเสนอปรับเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป" รายงานข่าวระบุ

   ผู้ขอเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ยาง ทั้งจากน้ำยางข้นและยางแห้ง ที่ใช้ยางพาราในประเทศเป็นเงินกู้ระยะยาวไม่เกิน 10 ปี ผู้กู้จะชำระดอกเบี้ยเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำ 6 เดือนของธนาคารออมสิน ปัจจุ บัน 2% แบ่งชำระหนี้เป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 ปีที่ 1-3 พักชำระเงินต้นและดอกเบี้ย ระยะที่ 2 ปีที่ 4-5 พักชำระเงินต้น ชำระเฉพาะดอกเบี้ย และระยะ 3 ปีที่ 6-10 ชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ย.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!