WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1A143 เรื่อง

กรมประมง เปิดเวทีโชว์ผลงานวิจัยใหม่ล่าสุด 143 เรื่อง ปรับรูปแบบจัดเต็มในงานประชุมวิชาการประมงออนไลน์ยุค New Normal

      กรมประมง จัดการประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2565 ภายใต้หัวข้อ ‘วิจัยการประมงสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG’ ระหว่างวันที่ 18 – 21 กรกฎาคม 2565 เปิดคลังโชว์สุดยอดผลงานวิจัย นวัตกรรม องค์ความรู้ และเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยในปีนี้มีนักวิจัยจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงนักวิจัยอิสระ ได้นำเสนอผลงานสู่สาธารณชนทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์ รวม 143 เรื่อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น อันจะนำไปสู่แนวทางการพัฒนางานวิจัยด้านการประมงให้มีคุณภาพและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

     นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงานประชุมวิชาการประมง ประจำปี 2565 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องประชุมพะยูน อาคารจุฬาภรณ์ว่า กรมประมงได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลงานวิจัย และนวัตกรรมใหม่ๆ ทุกสาขาอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการวิจัยไปประยุกต์ใช้สำหรับการพัฒนาภาคการประมงของประเทศให้ก้าวหน้าในทุกมิติ

      อีกทั้ง ยังเป็นการยกระดับคุณภาพมาตรฐานสินค้าประมงเพื่อเพิ่มมูลค่าและขีดความสามารถในการแข่งขัน รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรประมงให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องคำนึงถึงวิถีความเป็นอยู่ของผู้เกี่ยวข้องในภาคการประมง เพื่อให้การประกอบอาชีพเกิดความยั่งยืนอย่างแท้จริง

     สำหรับ การประชุมวิชาการ ประจำปี 2565 กรมประมงได้จัดประชุมวิชาการขึ้นในรูปแบบออนไลน์ภายใต้หัวข้อ ‘วิจัยการประมงสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG’ โดยมุ่งเน้นการสร้างสรรผลงานวิจัยที่สร้างความสมดุลให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตไปควบคู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน ทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีการทำประมงให้ทันสมัยและใช้ทรัพยากรประมงอย่างคุ้มค่านำสิ่งเหลือใช้ทางการประมงกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุดและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ ภายในงานแบ่งผลงานวิจัยออกเป็น 9 สาขา

      ประกอบด้วย สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด สาขาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง สาขาการประมงทะเล สาขาอาหารสัตว์น้ำ สาขาโรคสัตว์น้ำ สาขาพันธุกรรมสัตว์น้ำ สาขาอุตสาหกรรมสัตว์น้ำ สาขาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมประมง และสาขาเศรษฐกิจ สังคม และต่างประเทศ มีผลงานวิจัยทั้งหมด 143 เรื่อง แบ่งเป็นการนำเสนอภาคบรรยาย 85 เรื่อง และโปสเตอร์ 58 เรื่อง

    โดยมีหัวข้องานวิจัยที่น่าสนใจมากมาย อาทิ การพัฒนาแพลตฟอร์มปลาแห่งสยามเพื่อเป็นศูนย์กลางตลาดอิเล็กทรอนิกส์และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับปลาสวยงาม ศึกษาการใช้เทคโนโลยีควบคุมระบบเติมอากาศอัจฉริยะและพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดต้นทุนการผลิตกุ้งขาวแวนนาไมแบบพัฒนา การสกัดคอลลาเจนจากเกล็ดปลานวลจันทร์ทะเล การผลิตแม่พันธุ์ Superfemale (WW) ในปลาหมอ ฯลฯ

    นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ’วิจัยการประมงสู่การพัฒนาเศรษฐกิจ BCG’ โดยนายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดการพัฒนางานวิจัยในเชิงเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว ซึ่งจะเป็นบรรทัดฐานการนำไปใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เพื่อพัฒนาภาคการประมงให้เกิดความมั่นคงทางด้านอาหารและสร้างรายได้ นำไปสู่การพัฒนาด้านเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมตามแผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อน

      การพัฒนาประเทศไทย ด้วยโมเดล BCG พ.ศ.2565 ในสาขาเกษตรภาคการประมงเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อปี 2564 เห็นชอบให้มีการขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG และเป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป โดยในส่วนของกรมประมงนับเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนและขับเคลื่อนให้การดำเนินงานในภาคการประมงเดินไปสู่การเติบโตอย่างสมดุลและมีเสถียรภาพ รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น รวมถึงไปการอนุรักษ์ฟื้นฟู และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอย่างยั่งยืน

       อธิบดีฯ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับการประชุมวิชาการปีนี้ กรมประมงได้ปรับรูปแบบการจัดงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ด้วยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่มาเผยแพร่ผลงานวิจัยให้มีรูปแบบที่น่าสนใจมากยิ่งขึ้น โดยได้ถ่ายทอดสดผ่านระบบ ZOOM Meeting และ YouTube Channel สถานีประมงต้นแบบ และ Facebook กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมประมง

    ซึ่งจากรายงานพบว่าการจัดประชุมวิชาการประจำปี 2565 ได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดีจากผู้ให้ความสนใจ อาทิ บุคลากรกรมประมง คณาจารย์ นักวิจัย เกษตรกรชาวประมง ผู้ประกอบการภาคประมง นักศึกษา บุคลากรจากภาคเอกชน และประชาชน ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมงานประชุมอย่างเป็นทางการกว่า 800 คน ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถรับชมพิธีฯ เปิดย้อนหลังได้ทางลิงค์ https://www.youtube.com/watch?v=00fH9ldNbDk

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!