WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1A117688

รมช.มนัญญา เปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้หนี้สหกรณ์ บูรณาการครั้งใหญ่ปิดช่องโหว่วการทุจทริต พร้อมหารือดีเอสไอ ปปง. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ วางโมเดลการดำเนินคดีและติดตามทรัพย์สหกรณ์ เพื่อลดความเสียหาย

       นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังเป็นประธานในพิธีเปิดศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ (War Room) โดยมี นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ (กสส.) นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ (กตส.) ผู้แทนกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้แทนสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ผู้แทนสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.)

     และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ณ ห้องประชุม 134 – 135 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เน้นย้ำในเรื่องการปราบปรามการทุจริตในทุกภาคส่วน ซึ่งจากปัญหาการทุจริตสหกรณ์ออมทรัพย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่เกิดขึ้น นายกรัฐมนตรีจึงได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2565 มีหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ ตรวจสอบ เร่งรัด ติดตามการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทุจริตในสหกรณ์ และให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะแก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์

        นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรฯ ได้มีการดำเนินการตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ทั่วประเทศเมื่อช่วงเดือนที่ผ่านมา พบปัญหาว่ามีความหละหลวม ที่ผ่านมาไม่มีการบูรณาการร่วมกันอย่างจริงจัง ตนในฐานะที่กำกับดูแลกรมส่งเสริมสหกรณ์ และกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จึงเข้ามาแก้ไข อย่างไรก็ตามยังมีข้อระเบียบต่างๆ ที่ต้องอาศัยสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ชุดนี้ขึ้นมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีก

      ทั้งนี้ ในการประชุมร่วมกับหน่วยงานทั้งหมด พบว่า ควรมีแนวปฏิบัติสำหรับเข้าตรวจสอบการทำงานของสหกรณ์ รวมถึงรูปแบบในการส่งเรื่องดำเนินคดีและรูปแบบในการติดตามทรัพย์ ยึด-อายัดทรัพย์ ให้เป็นรูปแบบที่ชัดเจนสำหรับให้ทุกสหกรณ์และผู้เกี่ยวข้องในการทำงานครั้งนี้ ไว้เป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน เพื่อให้การขับเคลื่อนสามารถเดินหน้าได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจะประสานกับดีเอสไอ และปปง.

       ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดำเนินคดีและมองเห็นช่องโหว่วความล่าช้าของกฎหมายและระเบียบสหกรณ์ได้เป็นอย่างดี โดยจะหารือร่วมกันและวางเป็นโมเดลแก้ปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ต่อไป เพื่อลดความเสียหายของสมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี และของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

     “ในการหารือคณะกรรมการฯ ชุดนี้ ได้มีการหยิบยกประเด็นการทุจริตของสหกรณ์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นการดำเนินการของตำรวจ จำนวน 58 สหกรณ์ จากทั้งหมด 252 สหกรณ์ จึงได้ขอให้ทางตำรวจเข้าช่วยติดตามความคืบหน้าของคดีทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดคอขวดหรือความล่าช้าในการเข้าตรวจสอบข้อมูลการทุจริตของสหกรณ์ในแต่ละแห่ง หากสะสางจุดนี้ได้ก็จะส่งผลต่อการสืบสวนในชั้นต่อไปได้เร็วขึ้น เนื่องจากพบว่าบางคดีติดค้างอยู่ในชั้นการสอบสวนของตำรวจเป็นเวลานาน 4 - 5 ปี” รมช.มนัญญา กล่าว

      ด้าน นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวว่า การดำเนินงานของสหกรณ์มีสินทรัพย์ทั้งหมด 3.58 ล้านล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 30 ก.ย. 64) และเติบโตขึ้นปีละ 200,000 ล้านบาท มีสมาชิกรวม 12 ล้านคน ดังนั้นการป้องกันการทุจริตและความเสียหายจึงเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมามีการทุจริตเกิดขึ้นมาโดยตลอด เนื่องจากมีช่องว่างทางกฎหมายหรือระเบียบปฏิบัติ

       ดังนั้น การตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ จึงเป็นแนวทางที่จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ให้ดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและเป้นการป้องปรามไม่ให้เกิดขึ้นอีก ซึ่งทุกหน่วยงานพร้อมที่จะสนับสนุนและช่วยเหลือกระทรวงเกษตรฯ ในการสะสางปัญหาครั้งนี้

      จากการตรวจสอบข้อมูลข้อบกพร่องทุจริตของสหกรณ์ในภาพรวมทั้งประเทศ มีจำนวน 252 สหกรณ์ ยอดความเสียหายรวม 18,000 ล้านบาท แยกเป็น สหกรณ์ในภาคการเกษตร 148 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 2,092 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น สหกรณ์การเกษตร 140 แห่ง 1,964 ล้านบาท สหกรณ์ประมง 2 แห่ง 3.97 ล้านบาท สหกรณ์นิคม 6 แห่ง 99.91 ล้านบาท และสหกรณ์นอกภาคการเกษตร (ออมทรัพย์ ร้านค้า เครดิตยูเนี่ยน และบริการ) จำนวน 104 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 18,000 ล้านบาท

     ส่วนใหญ่เป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ จำนวน 40 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 3,300 ล้านบาท และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน 37 แห่ง มูลค่าความเสียหาย 13,333 ล้านบาท โดยการทุจริตในระบบสหกรณ์ มักจะทุจริตกันในระดับฝ่ายจัดการและระดับกรรมการบริหารสหกรณ์ ส่วนในระดับสมาชิกนั้นหากในระดับจัดการหรือระดับบริหารมีการควบคุมที่ดี ทำให้สมาชิกเกิดการทุจริตได้น้อย การรวบรวมข้อมูลความเสียหายที่เกิดขึ้นจากปัญหาการทุจริตในระบบสหกรณ์ครั้งนี้ ของสหกรณ์การเกษตรและสหกรณ์ออมทรัพย์ มาจากการสั่งการให้ทุกจังหวัดรวบรวมเข้ามาตัวเลขทุจริตเหล่านี้ จะนำมาใช้เป็นข้อมูลในการแก้ไขตามกรณีแต่ละสหกรณ์

        นอกจากนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ประมวลผลโดยแยกประเด็นการทุจริตของสหกรณ์ แบ่งออกได้ 11 ประเด็น ได้แก่ ทุจริตเกี่ยวกับเงินสด 11% ทุจริตเกี่ยวกับเงินฝากของสหกรณ์ 6% ทุจริตเกี่ยวกับเงินรับฝากของสมาชิก 9% ทุจริตเกี่ยวกับเงินกู้ 21% ทุจริตเกี่ยวกับธุรกิจจัดหาสินค้ามาจำหน่าย 13% ทุจริตเกี่ยวกับธุรกิจรวบรวม 5% ทุจริตเกี่ยวกับธุรกิจบริการ/ส่งเสริมการเกษตร 1% เบิกค่าใช้จ่ายเป็นเท็จ 1% นำทรัพย์สินของสหกรณ์ไปขายโดยมิชอบ 0% นำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวแล้วบันทึกบัญชีเป็นเงินยืมทดรอง 2% ทุจริตประเด็นอื่นๆ 11%

        ซึ่งจะเห็นได้ว่า รูปแบบการทุจริตในสหกรณ์ จะแยกเป็นการทุจริตเกี่ยวกับเงินกู้จะมากที่สุด รองลงมาเป็นการทุจริตเกี่ยวกับการจัดหาสินค้ามาจำหน่ายและทุจริตเกี่ยวกับเงินสด ตามลำดับ ปัจจุบันได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาจนได้รับการชดใช้ความสียหายจากการทุจริตมาโดยลำดับ ตัวเลข ณ วันที่ 1 มิถุนายน 2565 เหลืออยู่ 18,333 ล้านบาท โดยมีสหกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย 252 แห่ง แต่เมื่อเทียบกับสหกรณ์ในประเทศทั้งหมด 6,000 กว่าแห่งที่ยังดำเนินการปกติ จำนวนสหกรณ์ 252 แห่งที่มีการทุจริต เทียบได้ยังไม่ถึง 1% ของจำนวนสหกรณ์ที่มีอยู่ในประเทศไทยทั้งหมด

        ตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 18 พ.ค.2565 นายกรัฐมนตรีได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ โดยคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าว มีหน้าที่ตรวจสอบการทุจริตในสหกรณ์ ตรวจสอบ เร่งรัด ติดตามการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการทุจริตในสหกรณ์ และให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะแก่กรมส่งเสริมสหกรณ์ เพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ เนื่องจากที่ผ่านมามีการทุจริตเกิดขึ้นในสหกรณ์หลายแห่ง จึงได้ประสานความร่วมมือไปยังสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน. (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อร่วมกันติดตามยึดอายัดทรัพย์สินจากผู้ที่ทุจริตยักยอกทรัพย์ของสหกรณ์ มีการเร่งรัดการดำเนินคดี เพื่อบรรเทาและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์ต่างๆ

      และขณะนี้ได้มีการจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ขึ้น ตั้งอยู่ชั้น 2 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งศูนย์ดังกล่าวจะทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลการทุจริตในสหกรณ์ ติดตามความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์เป็นรายกรณี ใช้เป็นวอร์รูมในการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ ป้องกันความเสียหายที่จะลุกลามและมีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งสรุปผลรายงานต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดยตรง เพื่อจะเป็นข้อมูลสำหรับนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีได้ทันกับสถานการณ์

       นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน ที่ผ่านมา นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานขึ้นอีก 3 คณะ ได้แก่ 1. คณะทำงานสืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง กรณีเกิดการทุจริตในสหกรณ์ มีอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมกับผู้แทนจาก ปปง. กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีหน้าที่ในการสืบสวนสอบสวนการทุจริตในสหกรณ์ รวบรวมพยานหลักฐานและสรุปผลการสืบสวนสอบสวนเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ 2. คณะทำงานรวบรวมและตรวจสอบ กรณีทุจริตของสหกรณ์ มีนางบริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ ที่ปรึกษาปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานคณะทำงาน

      ร่วมกับรองอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้ตรวจราชการกรมส่งเสริมสหกรณ์ นักวิชาการตรวจสอบบัญชี จากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และเจ้าหน้าที่กลุ่มตรวจการสหกรณ์ของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์มูลเหตุของการเกิดทุจริตในสหกรณ์ ปัญหาอุปสรรคที่ทำให้การแก้ไขเกิดความล่าช้า รวมถึงพิจารณาเสนอแนวทางการตรวจสอบ พร้อมทั้งวางมาตรการป้องกันการทุจริตในสหกรณ์ และการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อทำข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาทุจริตในสหกรณ์แก่คณะกรรมการฯ เพื่อให้การแก้ไขเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

และ 3. คณะทำงานปรับปรุงระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการตรวจสอบงบการเงิน กรรมการและผู้บริหารสหกรณ์ มีนายสรรเสริญ อัจจุตมานัส ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมาย อดีตเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นประธานคณะทำงาน ร่วมกับผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการบัญชีและการสอบบัญชี กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ผู้แทนจาก สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการเงินสหกรณ์ และนิติกรชำนาญการพิเศษ จากกรมส่งเสริมสหกรณ์ ทำหน้าที่ในการทบทวนระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวกับการตรวจสอบงบการเงิน กรรมการและผู้บริหารสหกรณ์ และรายงานผลต่อประธานคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการทุจริตในสหกรณ์ พร้อมทั้งเชิญผู้มีความรู้ความสามารถเข้ามาให้คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการทุจริตสหกรณ์

      สำหรับ ความคืบหน้าการแก้ไขการทุจริตของสหกรณ์ออมทรัพย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขณะนี้ติดตามยึดอายัดทรัพย์ เบื้องต้น 300 ล้านบาท เหลือติดตามตัวผู้กระทำผิดมารับโทษ และกรมส่งเสริมสหกรณ์ได้มีการตั้งคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่แทน คณะกรรมกรสหกรณ์ชุดก่อนหน้านี้ ซึ่งนายทะเบียนสหกรณ์ได้สั่งให้หยุดปฏิบัติการหน้าที่ชั่วคราวเพิ่มอีก 30 วัน และขณะนี้การดำเนินคดีอยู่ระหว่างที่ สน.นางเลิ้งร่วมทำงานกับกรรมการชุดปฏิบัติหน้าที่แทนเพื่อรวบรวมข้อมูลรายบุคคลที่จะนำส่งเรื่องเข้าไปดำเนินคดี

      นอกจากนั้น กรณีการทุจริตสมาชิกสหกรณ์ที่เกิดก่อนวันที่ 1 ม.ค.65 ทางสหกรณ์ออมทรัพย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีการคืนเงินเข้าระบบบัญชีสมาชิกเรียบร้อยแล้ว สำหรับกรณีสมาชิกที่โดนทุจริตตั้งแต่ 1 ม.ค.65 เป็นต้นไป อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อดำเนินการต่อไป ทั้งนี้ ขอความร่วมมือสมาชิกที่ต้องการถอนเงินที่ได้คืน ว่ามีเงื่อนไขเบิกถอนได้บัญชีละไม่เกิน 2 ล้าน

 

 Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!