- Details
- Category: เกษตร
- Published: Saturday, 14 May 2022 18:28
- Hits: 4420
เฉลิมชัย ประกาศขับเคลื่อน '5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายปฏิรูปภาคเกษตร' สู่เกษตรมูลค่าสูง จับมือสภาอุตสาหกรรมฯ เดินหน้าโครงการจัดตั้งเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรทั่วประเทศ พร้อมดันประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองหลวงสับปะรดโลกเร่งตั้งศูนย์พัฒนาสั
นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day 2565 ณ แปลงสับปะรดของ นายสมชาย ทองประเสริฐ ม.10 ต.หนองหญ้าปล้อง อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี โดยมี นางกุลฤดี พัฒนะอิ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายนวนิตย์ พลเคน รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร นายอาณัติ หุ่นหลา เกษตรจังหวัดเพชรบุรี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จังหวัดเพชรบุรี นายอำเภอหนองหญ้าปล้อง หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ และเกษตรกรกว่า 200 คน เข้าร่วมงาน
ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มึการขับเคลื่อนการกระตุ้นการสร้างเศรษฐกิจรากฐานให้กับประเทศ ตลอดจนมีความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรม จึงได้วางแนวทางการพัฒนาภาคเกษตรกรรม 5 ยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารให้บรรลุเป้าหมาย ได้แก่ ยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต, เทคโนโลยีเกษตร 4.0, ‘3’s’ (Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน), การบริหารเชิงรุกแบบบูรณาการกับทุกภาคส่วน และยุทธศาสตร์เกษตรกรรมยั่งยืนตามแนวทางศาสตร์พระราชา
ภายใต้ 15 นโยบายหลัก เช่นนโยบายการส่งเสริมเกษตรพันธสัญญา (Contract Farming) เพื่อสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือในการพัฒนาศักยภาพการผลิตอย่างยั่งยืน ระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการ โดยร่วมกันยกระดับคุณภาพผลผลิตมีราคาที่เป็นธรรมสำหรัยเกษตรกร และนโยบายแปลงใหญ่เป็นตัวขับเคลื่อนเดินหน้าเกษตรมูลค่าสูงมุ่งเน้นการแปรรูปผลผลิตเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ควบคู่กับการใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่
โดยเน้นย้ำให้เกษตรกรและหน่วยงานราชการให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยี ทั้งจากศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC) รวมถึงภูมิปัญญาทัอวถิ่นและศาสตร์พระราชามาใช้ในกระบวนการผลิตทางการเกษตร เพื่อการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญ มุ่งหวังยกระดับรายได้เกษตรกรและสร้างความสามารถในการแข่งขันอย่างมั่นคง และยั่งยืน
อีกทั้ง ให้หน่วยงานในพื้นที่ร่วมกันดำเนินงานใน 2 โครงการใหญ่ ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยร่วมกันขับเคลื่อน คือ โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ และโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร
“เรากำลังเร่งขับเคลื่อน 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายปฏิรูปภาคเกษตรสู่เกษตรมูลค่าสูง โดยร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเดินหน้าโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรใน 18 กลุ่มจังหวัด ครอบคลุมทุกจังหวัดเพื่อยกระดับรายได้เกษตรกรทั่วประเทศ”นายอลงกรณ์ กล่าว
สำหรับ การจัดงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field Day 2565 ในวันนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรในการผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับความต้องการของตลาด และมีการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โดยสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรผ่านกิจกรรมต่าง ๆ เช่น งานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ในพื้นที่ของเกษตรกร
ซึ่งการถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยี มีเป้าหมายสำคัญ 2 ระดับ คือ 1. การทำให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้ถึงข้อมูลที่ต้องการเผยแพร่ และ 2. การทำให้กลุ่มเป้าหมายนำข้อมูลไปใช้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับความรู้ที่ได้รับ
ทั้งนี้ ด้วยสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวน ประกอบกับการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และการแข่งขันในตลาดโลกที่เพิ่มมากขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรมีความผันผวนเป็นอย่างมาก รวมถึงกลไกการค้าที่มุ่งเน้นคุณภาพและการตรวจสอบคุณภาพสินค้าเกษตรตั้งแต่การผลิตที่ต้นทาง และการบริโภคปลายทาง พี่น้องเกษตรกรจึงจำเป็นต้องมีข้อมูล และความรู้ที่ครบถ้วนอย่างรอบด้าน เพื่อพร้อมรับมือ อาทิ
การลดต้นทุนในกระบวนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันด้านราคาได้ดีขึ้น การเพาะปลูกตามความเหมาะสมของดินและการปรับปรุงบำรุงดิน เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพสูง การเพิ่มมูลค่าให้กับที่ดินของตนและการลดการพึ่งพากลไกราคาด้วยการทำไร่นาสวนผสม เศรษฐกิจพอเพียง และเกษตรทฤษฎีใหม่ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรด้วยการแปรรูปผลผลิต การบริหารจัดการน้ำเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นต้น
โดยกิจกรรมถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ (Field Day) ในวันนี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเตรียมความพร้อมของเกษตรกรก่อนเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ปี 2565 เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปลูกสับปะรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลผลิตเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพ สร้างผลตอบแทนให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี โดยจังหวัดเพชรบุรีมีพื้นที่ปลูกสับปะรดกว่า 67,000 ไร่ ได้ผลผลิตกว่า 130,000 ตันต่อปี ส่วนใหญ่เป็นสับปะรดโรงงานป้อนให้กับโรงงานในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ซึ่งอยู่ติดกัน
นอกจากนี้ จะมีการตั้งศูนย์สับปะรดที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตามข้อสั่งการของ นายฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อเพิ่มศักยภาพจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เป็นเมืองหลวงสับปะรดของโลก ในขณะที่กระทรวงเกษครและสหกรณ์ โดยกรมวิชาการได้พัฒนาสับปะรดโรงงาน ‘พันธุ์เพชรบุรี 2’ สำเร็จแล้วเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตต่อไร่สูง และเริ่มเผยแพร่หน่อพันธ์ุไปยังเกษตรกรแล้วได้มอบพันธุ์ปลาพันธุ์พืช และสารชีวภัณฑ์ให้กับเกษตรกรเพชรบุรี
และได้เยี่ยมชมนิทรรศการความรู้ต่างๆ เช่น การวิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จากต้นกล้วยฟางข้าวหญ้าเนเปีย ตลอดจนการให้บริการและความรู้กับเกษตรกรของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้ง 5 สถานี คือ สถานีการเพิ่มผลผลิต สถานีการลดต้นทุน สถานีพัฒนาคุณภาพผลผลิต สถานีเพิ่มมูลค่าสร้างทางเลือก และสถานีลดรายจ่ายเพิ่มรายได้รวมทั้งฟาร์มแพะ-โคต้นแบบ และฟาร์มผึ้ง ซึ่งมีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดจนข้าวเกรียบผำหรือไข่น้ำที่เป็นซูเปอร์ฟู้ดอีกด้วย.