WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1A1ด่านโมฮ่าน

จีนเปิดด่านโมฮ่าน นำเข้าทุเรียนไทยแล้ว 'อลงกรณ์' ย้ำต้องเข้มงวดมาตรการปัองกันปนเปื้อนโควิด แนะผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยงเพิ่มการขนส่งทางเรือทางอากาศเพิ่ม

       นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจากสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจํากรุงปักกิ่ง ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ว่า ด่านโม่ฮานในมณฑลยูนนานเปิดนำเข้าทุเรียนไทยจากด่านบ่อเต็นของลาวแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา

    หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วัน ระหว่างวันที่ 12 – 14 เมษายน จากตรวจพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์จากไทย โดยด่านเปิดทำการระหว่างเวลา 08.30 - 21.00 น. และในเวลา 17.30 - 21.00 น. เป็นช่วงให้รถบรรทุกเปล่าผ่าน ส่วนโหย่วอี้กวน (กว่างซีจ้วง) ยังเปิดให้บริการระหว่างเวลา 08.00 - 19.00 น. แต่มีความแออัดจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยง

   “ทั้งนี้ ขอให้ผู้ประกอบการดำเนินมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดและฆ่าเชื้อสินค้าตามข้อกำหนดของทางราชการอย่างเคร่งครัดตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board)”นายอลงกรณ์ กล่าว

    นายอลงกรณ์ ได้แนะนำให้เพิ่มการขนส่งทางเรือและทางอากาศ โดยกล่าวว่า ท่าเรือของจีนที่เปิดให้บริการนำเข้าผลไม้ไทยได้แก่ 1.ท่าเรือชินโจว (กว่างซีจ้วง) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือชินโจวสัปดาห์ละ 4 - 7 เที่ยว ระยะเวลา 3 - 8 วัน ระยะเวลาในการตรวจปล่อยและผ่านโกดังห่วงโซ่ควบคุมความเย็นประมาณ 3 - 4 วัน 2.ท่าเรือเสอโข่ว (เซินเจิ้น) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือเสอโข่วเฉลี่ยวันละ 1 - 4 เที่ยว ระยะเวลา 6 - 11 วัน ท่าเรือหนานซา (กว่างโจว) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือหนานซาเฉลี่ยวันละ 1 - 3 เที่ยว ระยะเวลา 5 - 9 วัน ส่วนท่าเรือเซินเจิ้นวาน และท่าเรือเซี่ยงไฮ้ แม้เปิดบริการแต่มีมาตรการตรวจโควิดเข้มข้นอาจเกิดความล่าช้ามากกว่าปกติ

     ในส่วนการขนส่งทางอากาศนั้น สนามบินเซินเจิ้น เป่าอัน มีเที่ยวบินคาร์โกของบริษัท S.F.รองรับน้ำหนักบรรทุก ประมาณ 25 ตันต่อเที่ยว จากสนามบินสุวรรณภูมิไปสนามบินเซินเจิ้น สัปดาห์ละ 6 เที่ยว (ยกวันวันเสาร์) ส่วนสนามบินเซียงไฮ้ ผู่ตงยังเปิดให้บริการ แต่เนื่องจากนครเซี่ยงไฮ้ขยายการล็อคดาวน์ออกไปอย่างไม่มีกําหนด ทำให้การตรวจปล่อยและขนส่งสินค้าล่าช้าติดขัด

    “ขอให้ผู้ส่งออกติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เพราะสถานการณ์ด่านนําเข้าของจีนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่”นายอลงกรณ์ กล่าว

 

ทุเรียนไทย ได้เฮ จีนเปิดด่านโมฮ่านนำเข้าทุเรียนไทยแล้ว 'อลงกรณ์'ย้ำต้องเข้มงวดมาตรการปัองกันปนเปื้อนโควิด แนะผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยงเพิ่มการขนส่งทางเรือและทางอากาศ

      นายอลงกรณ์  พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานแก้ไขปัญหาผลไม้ล่วงหน้าในคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board) เปิดเผยวันนี้ว่า ได้รับรายงานจากสํานักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจํากรุงปักกิ่ง ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว ฝ่ายเกษตร ประจําสถานกงสุลใหญ่ ณ นครเซี่ยงไฮ้ว่า ด่านโม่ฮานในมณฑลยูนนานเปิดให้นำเข้าทุเรียนไทยจากด่านบ่อเต็นของลาวแล้วตั้งแต่วันที่ 15 เมษายนที่ผ่านมา

    หลังจากระงับการนำเข้าทุเรียนไทย 3 วันระหว่างวันที่ 12-14 เมษายน จากตรวจพบการปนเปื้อนโควิดในรถบรรทุกคอนเทนเนอร์จากไทย โดยด่านเปิดทำการระหว่างเวลา 08.30-21.00 น. และในเวลา 17.30 - 21.00 น.เป็นช่วงให้รถบรรทุกเปล่าผ่าน

     ส่วนโหย่วอี้กวน(กว่างซีจ้วง)ยังเปิดให้บริการระหว่างเวลา 08.00 -19.00 น. แต่มีความแออัดจึงควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยง

      นายอลงกรณ์เน้นย้ำว่า “ทั้งนี้ขอให้ผู้ประกอบการดำเนินมาตรการป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโควิดและฆ่าเชื้อสินค้าตามข้อกำหนดของทางราชการอย่างเคร่งครัดตามข้อสั่งการของดร.เฉลิมชัย  ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้(Fruit Board)”

      ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ได้แนะนำให้เพิ่มการขนส่งทางเรือและทางอากาศโดยกล่าวว่า ท่าเรือของจีนที่เปิดให้บริการนำเข้าผลไม้ไทยได้แก่ 1.ท่าเรือชินโจว(กว่างซีจ้วง)มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือชินโจวสัปดาห์ละ 4-7 เที่ยว ระยะเวลา 3-8 วัน ระยะเวลาในการตรวจปล่อยและผ่านโกดังห่วงโซ่ควบคุมความเย็นประมาณ 3-4 วัน 

       2.ท่าเรือเสอโข่ว(เซินเจิ้น) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือเสอโข่วเฉลี่ยวันละ 1-4 เที่ยว ระยะเวลา 6-11 วัน

      3.ท่าเรือหนานซา(กว่างโจว) มีเที่ยวเรือในเส้นทางระหว่างท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือหนานซาเฉลี่ยวันละ 1-3 เที่ยว ระยะเวลา 5-9 วัน

      ส่วนท่าเรือเซินเจิ้นวาน และท่าเรือเซี่ยงไฮ้ แม้เปิดบริการแต่มีมาตรการตรวจโควิดเข้มข้นอาจเกิดความล่าช้ามากกว่าปกติ

      ในส่วนการขนส่งทางอากาศนั้น สนามบินเซินเจิ้น เป่าอัน มีเที่ยวบินคาร์โกของบริษัท S.F. รองรับน้ําหนักบรรทุกประมาณ 25 ตันต่อเที่ยวจากสนามบินสุวรรณภูมิไปสนามบิน เซินเจิ้น สัปดาห์ละ 6 เที่ยว (ยกวันวันเสาร์)

      ส่วนสนามบินเซียงไฮ้ ผู่ตงยังเปิดให้บริการแต่เนื่องจากนครเซี่ยงไฮ้ขยายการล็อคดาวน์ออกไปอย่างไม่มีกําหนด ทำให้การตรวจปล่อยและขนส่งสินค้าล่าช้าติดขัด

      “ขอให้ผู้ส่งออกติดตามข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิดเพราะสถานการณ์ด่านนําเข้าของจีนอาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่”นายอลงกรณ์กล่าว

 

 Click Donate Support Web 

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100GC 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!