WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

3844 DOA

กรมวิชาการเกษตรแนะวิธีรับมือเพลี้ยอ่อนและหนอนเจาะฝักข้าวโพด

          นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ในช่วงที่ข้าวโพดหวานและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์อยู่ในระยะออกดอกถึงระยะติดฝักให้เกษตรกรเฝ้าระวังเพลี้ยอ่อนข้าวโพดเข้าทำลาย โดยตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของใบ และช่อดอกตัวผู้ ถ้าช่อดอกมีเพลี้ยอ่อนเกาะกินอยู่มากจะส่งผลให้ช่อดอกไม่บาน การติดเมล็ดน้อยและทำให้เมล็ดแก่เร็ว ทั้งที่เมล็ดยังไม่เต็มฝัก หากมีการระบาดมาก จะพบกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของลำต้น กาบหุ้มฝัก โดยเพลี้ยอ่อนชนิดมีปีกบินมาจากแปลงใกล้เคียง ตั้งแต่ข้าวโพดอายุประมาณ 15 วัน หลังจากนั้นอีก 1 - 2 สัปดาห์ จะพบเพลี้ยอ่อนออกลูกเป็นตัวอ่อนรวมกันเป็นกลุ่มโดยเฉพาะบริเวณใต้ใบ โดยเพลี้ยอ่อนจะแพร่ขยายจากใบล่างขึ้นมาบนใบเรื่อยๆ และขยายพันธุ์เพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วจนพบปริมาณสูงสุดในระยะข้าวโพดกำลังผสมเกสร มักพบเกาะเป็นกลุ่มๆ ดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของต้นข้าวโพด เช่น ยอด กาบใบ โคนใบ กาบฝัก โดยจะพบมากที่สุดบริเวณช่อดอก ทำให้บริเวณที่ถูกดูดกินแสดงอาการเป็นจุดสีเหลืองปนแดง

          การป้องกันกำจัดในแหล่งที่มีการระบาดเป็นประจําในฤดูแล้งหากสํารวจพบเพลี้ยอ่อนข้าวโพดแพร่กระจายจากใบล่างขึ้นมาและเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วแปลง ควรป้องกันกําจัดก่อนข้าวโพดแทงช่อดอกตัวผู้ หรือก่อนดอกบานซึ่งจะให้ผลในการควบคุมได้ดี หากมีการระบาดเกิดขึ้นเฉพาะจุดให้พ่นสารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เบตา-ไซฟลูทริน 2.5% EC อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไดอะชินอน 60% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร โดยการพ่นสารฆ่าแมลงในระยะออกดอกควรพ่นเฉพาะจุด เมื่อพบความหนาแน่นของเพลี้ยอ่อนมากกว่า 25 เปอร์เซ็นต์ ของช่อดอก และควรหลีกเลี่ยงพ่นสารเมื่อตรวจพบด้วงเต่า และแมลงหางหนีบ ซึ่งเป็นตัวห้ำของเพลี้ยอ่อน หลังจากข้าวโพดติดฝักแล้ว

 

BANPU 720x100QIC 720x100

 

          ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กล่าวว่า นอกจากนี้ ให้เฝ้าระวังหนอนเจาะฝักข้าวโพด โดยแม่ผีเสื้อจะวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ตามเส้นไหมที่ปลายฝักข้าวโพดหรือที่ช่อดอกตัวผู้ หนอนกัดกินที่ช่อดอก และเมื่อเริ่มติดฝักตัวหนอนจะกัดกินเส้นไหมของฝัก และเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในบริเวณปลายฝัก ทำความเสียหายให้แก่คุณภาพฝักโดยตรง เนื่องจากปลายฝักเสียหาย และถ้าพบระบาดมากปลายฝักจะเน่า เนื่องจากความชื้นจากมูลของหนอนที่ถ่ายไว้ ซึ่งหนอนเจาะฝักข้าวโพดทำความเสียหายได้มากเมื่อเกิดการระบาดก่อนที่ขบวนการผสมเกสรจะเกิดขึ้น หากการระบาดรุนแรงจะทำให้เก็บผลผลิตไม่ได้ เนื่องจากหนอนกัดกินเส้นไหมจนแหว่งหมดไป ทำให้ข้าวโพดไม่ได้รับการผสมพันธุ์ ฝักที่ได้จึงไม่ติดเมล็ด หรือเกิดเป็นข้าวโพดฟันหลอขึ้น

          วิธีการป้องกันกำจัดแนะนำให้ใช้วิธีกล โดยพื้นที่ปลูกข้าวโพดขนาดเล็กใช้วิธีการจับหนอนที่ปลายฝักทิ้ง หรือใช้มือบีบปลายฝักให้หนอนตายโดยไม่ต้องเก็บทิ้ง และควรเดินเก็บหนอนทุกวันในระยะติดฝัก อย่างไรก็ตามเนื่องจากผีเสื้อของหนอนเจาะฝักข้าวโพดจะวางไข่ที่ยอดเกสรตัวผู้ และที่ไหมข้าวโพดในระยะผสมเกสร จึงควรหมั่นตรวจปลายฝักข้าวโพดในระยะนี้ หากพบหนอนวัย 1-2 เฉลี่ย 10-20 ตัวต่อ 100 ต้น พ่นสารฆ่าแมลงฟลูเฟนนอกซูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะฝักที่หนอนลงทำลายไหม พ่นซ้ำตามความจำเป็น โดยพ่นที่ปลายฝักบริเวณไหมโผล่ หากพบการระบาดมากจึงพ่นที่เกสรตัวผู้ส่วนบนสุด ทั้งนี้สารฆ่าแมลงควรใช้ในระยะที่หนอนยังเล็กจะได้ผลดี สำหรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เมื่อฝักติดเมล็ดแล้ว ไม่จำเป็นต้องใช้สารฆ่าแมลง

 

A3844

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100TU720x100sme 720x100

ais 720x100NHA720x100

เจนเนอราลี่

วิริยะ_720x100.gif

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!