WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2687 CPF

นักวิชาการซีพีเอฟ ย้ำการป้องกันโรคไก่ไทยเข้มแข็ง ผู้บริโภคมั่นใจเนื้อไก่ปลอดภัย

          ซีพีเอฟ ชูระบบคอมพาร์ทเมนต์ ให้ความมั่นใจอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่ป้องกันโรคไข้หวัดนกได้อย่างเป็นรูปธรรม แนะเกษตรกรเฝ้าระวังและคุมเข้ม พร้อมยกระดับระบบการควบคุมความปลอดภัยทางชีวภาพในฟาร์มสัตว์ปีกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคว่าเนื้อไก่และไข่ในประเทศยังปลอดภัย ผู้บริโภคควรเลือกซื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์จากแหล่งจำหน่ายที่มีมาตรฐาน และปรุงสุกทุกครั้งก่อนรับประทาน

          สพ..ดร.พัชรีภรณ์ นิลวิไล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สัตวแพทย์บริการด้านสัตว์ปีก นักวิชาการด้านโรคติดเชื้อไวรัสในสัตว์ปีก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ กล่าวว่าองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) มีรายงานการระบาดของโรคไข้หวัดนกหลากหลายสายพันธุ์ในหลายทวีปในปี 2565 ล่าสุดมีรายงานพบการระบาดของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์รุนแรงในประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชาและลาว สำหรับประเทศไทย กรมปศุสัตว์ร่วมมือกับผู้ประกอบการและเกษตรกรได้เตรียมความพร้อมรับมือกับการระบาด มีการเฝ้าระวังโรคสัตว์ปีกอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้มงวดด้านการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกบริเวณชายแดน การสุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์ปีกในพื้นที่เสี่ยงเพื่อสำรวจและเฝ้าระวังโรค ส่งเสริมการพัฒนาระบบการเลี้ยงสัตว์ปีกให้เข้าระบบฟาร์มมาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐาน Good Agricultural Practices (GAP) หรือ Good Farming Management (GFM) มากขึ้น รวมถึงให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับการพัฒนาระบบการป้องกันโรคและสุขศาสตร์ที่ดีภายในฟาร์ม

 

2687 CPF2

 

          ที่ผ่านมาซีพีเอฟให้ความสำคัญกับการป้องกันไข้หวัดนกอย่างจริงจังมาตลอด โดยฟาร์มสัตว์ปีกของบริษัท ตลอดจนเกษตรกรในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงไก่กับบริษัท ได้พัฒนาระบบการป้องกันโรคและมาตรฐานการจัดการฟาร์มสัตว์ปีกจนได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสัตว์ปีกจากกรมปศุสัตว์ และร่วมจัดทำโครงการปลอดโรคไข้หวัดนกภายใต้ระบบคอมพาร์ทเมนต์ ตามหลักการของ OIE ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้รูปแบบการบริหารจัดการในระบบคอมพาร์ทเม้นท์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปครบวงจรอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยแนวคิดที่ว่าวิธีที่ดีที่สุดก็คือต้องป้องกันตั้งแต่ต้นทางซีพีเอฟมุ่งเน้นให้ความรู้ และสร้างความตระหนักแก่พนักงานและเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ปีกถึงเรื่องสุขศาสตร์ การป้องกันโรค วิธีการสังเกตอาการของสัตว์ปีกป่วย และแนวทางการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคอย่างต่อเนื่อง สามารถป้องกันไม่ให้สัตว์ปีกเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          ซีพีเอฟ มุ่งเน้นเรื่องการติดตามสุขภาพฝูงสัตว์ปีกและเฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่อง โดยมีการกำหนดโปรแกรมการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจติดตามสถานะทางสุขภาพของสัตว์เป็นประจำทุกเดือน เช่น เก็บตัวอย่าง swab สัตว์ปีกพันธุ์เพื่อส่งตรวจแยกเชื้อไวรัสสำคัญ และเก็บตัวอย่างเลือดเพื่อตรวจติดตามสถานะทางภูมิคุ้มกันของฝูงสัตว์ปีกต่อโรคติดเชื้อสำคัญ สำหรับสัตว์ปีกเนื้อ จะมีการสุ่มเก็บตัวอย่าง swab และอวัยวะทุกฝูงก่อนปลด เพื่อส่งตรวจวิเคราะห์ว่าปราศจากการปนเปื้อนไวรัสสำคัญในสัตว์ปีก (ได้แก่ ไข้หวัดนกและนิวคาสเซิล) ควบคู่กับการตรวจสอบการปนเปื้อนของยาปฏิชีวนะและสารตกค้างต่างๆ นอกจากนี้ ยังได้เก็บตัวอย่างเนื้อที่เป็นผลิตภัณฑ์สุดท้ายส่งตรวจที่ห้องปฎิบัติการอีกครั้งเพื่อให้มั่นใจถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ขณะเดียวกัน ซีพีเอฟยังได้ร่วมกับกรมปศุสัตว์ และเกษตรกรในพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจเฝ้าระวังโรคในฟาร์มสัตว์ปีกที่เลี้ยงอยู่ในบริเวณ 1 กิโลเมตรรอบฟาร์มอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งเสริมการทำวัคซีนป้องกันโรคนิวคาสเซิลในฝูงสัตว์ปีกเลี้ยงหลังบ้าน และสนับสนุนการพ่นยาฆ่าเชื้อบริเวณที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการติดเชื้ออีกด้วย

 

TU720x100

เจนเนอราลี่

 

          สพ..ดร.พัชรีภรณ์ นิลวิไล แนะนำเพิ่มเติมว่า เพื่อป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้เชื้อไวรัสก่อโรคและเชื้อจุลชีพอื่นเข้ามาภายในฟาร์ม ฟาร์มเลี้ยงไก่ควรมีระบบป้องกันโรคที่ดี โดยมีหลักการที่ควรปฏิบัติ ดังนี้ 1) การแยกบริเวณพื้นที่อยู่อาศัยและพื้นที่เลี้ยงสัตว์ปีกให้ชัดเจน มีรั้วรอบขอบชิด สามารถป้องกันสัตว์ปีกจากนอกฟาร์ม 2) จำกัดบุคคลเข้าฟาร์มเท่าที่จำเป็นเท่านั้น 3) ฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อยานพาหนะทุกชนิดก่อนเข้ามาไปภายในฟาร์ม 4) ล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเตรียมโรงเรือนก่อนเลี้ยงไก่รุ่นใหม่ 5) ซ่อมแซมโรงเรือน โครงสร้าง และอุปกรณ์การเลี้ยงให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน 6) ป้องกันสัตว์พาหะอื่นๆ โดยเฉพาะ หนู ด้วงดำและแมลงวันซึ่งเป็นพาหะนำโรค 7) มีระบบการบำบัดและกำจัดน้ำเสีย และ 8) จัดการของเสียและน้ำจากฟาร์มให้ถูกวิธี เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม มีหลายประเทศกำลังประสบปัญหาไข้หวัดนกอยู่ในขณะนี้ เกษตรกรผู้ผลิตสัตว์ปีกต้องมีมาตรการเฝ้าระวังและดูแลฝูงสัตว์ปีกที่เข้มข้นขึ้น โดยใช้มาตรการการป้องกันโรคตั้งแต่ต้นทาง และการเลี้ยงด้วยวิธีที่ถูกต้อง ตามคำแนะนำของกรมปศุสัตว์และสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มอย่างเคร่งครัด มั่นใจได้ว่าป้องกันโรคไข้หวัดนกได้อย่างแน่นอนหากปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง กรณีที่เกษตรกรผู้เลี้ยงพบสัตว์ปีกตายกะทันหัน หรือมีอาการผิดปกติ ต้องแจ้งสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มและหน่วยงานปศุสัตว์ในพื้นที่โดยเร็ว หากพบการเคลื่อนย้ายสัตว์ปีกผิดกฎหมายหรือพบสัตว์ปีกตามธรรมชาติแสดงอาการป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินการตรวจวินิจฉัยต่อไป

 

2687 CPF3

 

          สำหรับวิธีการป้องกันตัวเองให้ห่างไกลจากไวรัสไข้หวัดนก ควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ปีกที่ไม่ทราบประวัติ รวมถึงมูลและสารคัดหลั่ง หรือสัตว์ปีกที่มีอาการหรือสงสัยว่าป่วย หากสัมผัสแล้วให้ใช้สบู่ล้างมือให้สะอาดทันที สำหรับผู้ที่เดินทางที่กลับจากพื้นที่ที่มีรายงานการระบาด ควรสังเกตสุขภาพตัวเอง หากรู้สึกมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ให้ไปพบแพทย์โดยเร็ว รวมถึงสวมหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรค

          ส่วนของผู้บริโภคสามารถกินไก่ เป็ด และสัตว์ปีกอื่นได้อย่างมั่นใจ โดยเลือกซื้อจากแหล่งจำหน่ายที่เชื่อถือได้ ระบบการผลิตผ่านการรับรองมาตรฐาน โดยสังเกตสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK” หรือเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์มีฉลากแจ้งข้อมูลสำคัญที่ชัดเจน เช่น วันผลิต วันหมดอายุ นอกจากนี้ต้องปรุงสุกก่อนรับประทาน โดยการปรุงอาหารที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส นาน 3.5 วินาที จะสามารถฆ่าเชื้อไวรัสไข้หวัดนกได้

 

A2687

 Click Donate Support Web

EXIM One 720x90 C JGC 720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ais 720x100NHA720x100

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!