WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1a 1Fruit

เฉลิมชัย มอบ อลงกรณ์ ชี้แจงมาตรการรับมือผลไม้ปี 2565 ต่อคณะกรรมาธิการสภา เผยไทยครองตลาดผลไม้จีนเป็นอันดับ 1 ส่งออกทำลายสถิติ พร้อมพิจารณาเยียวยาชาวสวนลำไยหาก ครม.เห็นชอบ’ณัฐวุฒิ’ พอใจการทำงานของฟรุ้ทบอร์ด เตรียมทำข้อเสนอสู่ที่ประชุม Fruit Board 17 ก.พ.นี้

      นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะทำงานจัดทำแผนการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจผลไม้ล่วงหน้าทั้งระบบ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าประชุมกับคณะกรรมธิการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม เมื่อวันที่ 3ก.พ. ที่ผ่านมา ที่รัฐสภาเพื่อตอบข้อซักถามและร่วมหารือแสดงความคิดเห็น โดยมี นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ เป็นประธาน ดร.ประกอบ รัตนพันธ์ คณะกรรมาธิการฯ พร้อมด้วย นายวีระกร คำประกอบ ที่ปรึกษากรรมการ และคณะกรรมาธิการฯ นายขจร เราประเสริฐ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ในฐานะเลขานุการ คณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ร่วมประชุมหารือให้ข้อมูล และผู้แทนภาคเอกชน ได้แก่ สมาคมทุเรียนไทย ผู้แทนสมาคมผู้ประกอบการส่งออกทุเรียน มังคุด และผู้แทนสมาคมผู้ค้าและส่งออกลำไยภาคตะวันออก เข้าร่วมประชุม

QIC 720x100

       นายอลงกรณ์ ชี้แจงถึงศักยภาพผลไม้ไทยและผลงานรัฐบาล โดยในปี 2564 ประเทศไทยครองส่วนแบ่งตลาดผลไม้ในจีน 45% เป็นอันดับ 1 และส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์กว่า 1.6 แสนล้านบาท (ม.ค - พ.ย 2564) โดยเฉพาะทุเรียนส่งออกทะลุแสนล้านเป็นครั้งแรก แม้จะเผชิญปัญหาด่านและการขนส่งจากผลกระทบโควิด19 โดยยึดแนวทางและมาตรการการบริหารจัดการผลไม้รวมทั้งการปฏิรูปเชิงระบบภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีเกษตรฯ และแนวทางการพัฒนาผลไม้ไทย พ.ศ. 2565 – 2570 นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ยังชี้แจงประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

        เช่น โครงการประกันราคาสินค้าเกษตรและผลไม้ โครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารสู่เกษตรมูลค่าสูง (กรกอ.) ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center: AIC) 77 จังหวัด และศูนย์ความเป็นเลิศ 23 แห่งสนับสนุนด้าน R&D การอบรมบ่มเพาะ และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เน้น Made in Thailand เช่น เทคโนโลยีจุลินทรีย์ขจัดการปนเปื้อนและคงสภาพความสดของผลไม้ได้เพิ่มขึ้น โดย AIC จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเทคโนโลยีไนโตรเจน (Nitrogen Technology ) รวมถึงการบริหารข้อมูลโดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ (National Big Data Center :NABC) การบริหาร Logistics ผลไม้ และสถานการณ์ด่าน รวมทั้งการขนส่งเส้นทางรถไฟจีน – ลาว

sme 720x100

       โดยขบวนรถไฟขนสินค้าเกษตรของไทยไปจีนเที่ยวปฐมฤกษ์ ออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ เมื่อวันที่ 27 ม.ค.2565 ส่วนการขนส่งผลไม้ไทยเหลือเพียงการก่อสร้างด่านตรวจพืชของจีนที่ด่านรถไฟโมฮ่านก็เริ่มใช้บริการได้ ในขณะที่สถานการณ์ด่านและการขนส่งมีแนวโน้มดีขึ้น ทั้ง 4 ด่านหลักเปิดบริการ ยกเว้นช่วงตรุษจีนแต่ยังมีความเสี่ยงจากมาตรการ Zero Covid ส่วนค่าระวางเรือเริ่มลดลงมีสายการเดินเรือเพิ่มขึ้น

      นายอลงกรณ์ ยังได้นำเสนอตัวเลขการส่งออกปี 2564 ซึ่งสามารถส่งออกทำสถิติสูงสุดทุเรียนทะลุแสนล้าน ทั้งนี้ 11 เดือน (ตั้งแต่ ม.ค. - พ.ย. 64) ส่งออกผลไม้ 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง จำนวน 1,992,751 ตัน คิดเป็นมูลค่า 165,624 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.75% เทียบกับปี 2563 ที่ส่งออก 1,718,228 ตันมูลค่า 117,673 ล้านบาท สำหรับทุเรียนส่งออก 903,700 ตัน ปริมาณเพิ่มขึ้น38.29% คิดเป็นมูลค่า 115,459 ล้านบาท เติบโต 59.11% เทียบกับปี 2563 ส่งออก 653,476 ตัน มูลค่า 72,566 ล้านบาท ทางด้านฤดูกาลผลิตปี 2565 คาดว่าจะมีผลผลิตออกมา 5,200,009 ตัน เพิ่ม 11.39% หรือเพิ่มกว่า 5 แสนตัน เทียบกับปี 2563 ที่มีปริมาณ 4,668,435 ตัน

วิริยะ 720x100

      สำหรับ มาตรการบริหารจัดการผลไม้ปี 2565 ประกอบด้วย 17 มาตรการ เพื่อดูแลบริหารจัดการผลไม้ทั้งระบบ เป็นมาตรการหลักในการขับเคลื่อน อาทิ 1.มาตรการเร่งรัดตรวจและรับรอง GAP ซึ่งมีเป้าหมายในปี 2565 ไม่ต่ำกว่า 120,000 แปลง 2. มาตรการช่วยผู้ประกอบการหรือเกษตรกรหรือล้ง กระจายผลผลิตผลไม้ออกนอกแหล่งผลิต กิโลกรัมละ 3 บาท ปริมาณ 80,000 ตัน 3. มาตรการเสริมสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกโดยจะช่วยเหลือดอกเบี้ย 3%

       และช่วยผู้ส่งออกที่ส่งออกผลไม้อีกกิโลกรัมละ 5 บาท ปริมาณ 60,000 ตัน 4. กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สนับสนุนให้มีการใช้พระราชบัญญัติเกษตรพันธสัญญา การทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าด้านผลไม้ โดยจะสนับสนุนให้มีการทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า เพื่อเกษตรกรได้ทราบว่าขายผลไม้ได้เท่าไหร่ มีคนซื้อที่มีหลักประกัน เซ็นสัญญาตามกฎหมายชัดเจนไม่ต่ำกว่า 30,000 ตัน 5. มาตรการส่งเสริมการบริโภคผลไม้ในประเทศ เป็นต้น

       ส่วนในกรณีเกิดวิกฤติได้มีการออก5มาตรการแก้ไขปัญหาล่วงหน้าทั้งระบบ ปี 2565 ได้แก่ 1) มาตรการป้องกันเพื่อเตรียมความพร้อมรองรับเหตุการณ์ไม่ปกติ 2) มาตรการช่วยเหลือในการกระจายสินค้า ควบคุม คุณภาพและกระตุ้นการบริโภคผลไม้ 3) มาตรการช่วยเหลือสนับสนุนการส่งออกผลไม้ไทย 4) มาตรการแปรรูปสร้างมูลค่าเพิ่มผลไม้ 5) มาตรการช่วยเหลือเยียวยาและฟื้นฟูเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ไม่ปกติ

TU720x100

      นอกจากนี้ นายอลงกรณ์ ได้ชี้แจงประเด็นเรื่อง GAP ว่า กรมวิชาการมีการถ่ายโอนภารกิจมอบให้เอกชนรับรองแปลงสวน GAP ตาม มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อปี 2553 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมา นำร่องแปลงที่มีพื้นที่มากกว่า 50 ไร่ ปีที่สองจะถ่ายโอนตั้งแต่พื้นที่ 20 ไร่ ขึ้นไป ปีที่สามจะถ่ายโอนพื้นที่ตั้งแต่ 10 ไร่ ขึ้นไป และในปีสุดท้ายจะถ่ายโอนภารกิจทั้งหมด โดยที่กรมวิชาการเกษตรจะตรวจรับรองให้เฉพาะสมาชิกของกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์การเกษตร เกษตรแปลงใหญ่

      และกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชน ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทางราชการจัดตั้งขึ้นมาเท่านั้น โดยมีหน่วยตรวจรับรองเอกชน ที่ได้รับการถ่ายโอนภารกิจตรวจรับรองมาตรฐาน GAP แทนราชการ โดยกรมวิชาการจะดูแลอัตราค่าบริการที่เหมาะสมเป็นธรรม ซึ่งนายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณ ประธานคณะกรรมาธิการฯ แสดงความพอใจต่อการชี้แจงครั้งนี้และการทำงานของฟรุ้ทบอร์ด โดยจะทำหนังสือเป็นข้อเสนอถึงรัฐมนตรีเกษตรฯ ในฐานะประธาน Fruit Board ต่อไป

GC 720x100

     นายอลงกรณ์ กล่าวในท้ายที่สุดว่า ขอบคุณคณะกรรมาธิการฯ ที่ห่วงใยชาวสวนและมีข้อเสนอที่ดี โดยคณะกรรมการบริหารจัดการผลไม้ซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน จะมีการประชุมครั้งต่อไปวันที่ 17 ก.พ. และจะนำข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการเข้าสู่วาระการประชุมเพื่อพิจารณาปัญหาความเดือนร้อนของชาวสวนลำไย ฤดูกาลผลิตปี 2564 และแนวทางช่วยเหลือ เช่น มาตรการเยียวยา ทั้งนี้ขึ้นกับ ครม. รวมทั้งข้อเสนอของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาคมต่างๆ เช่น เรื่อง Green lane เรื่องด่าน เรื่องการผ่อนผันผ่อนปรน GAPเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของเกษตรกรโดยเฉพาะชาวสวนรายย่อย.

 

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BANPU 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!