WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน

เฉลิมชัย โชว์ผลงานเพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน (Sustainable Agriculture) ปี 64 กว่า 1.7 ล้านไร่ เร่งเครื่องวางหมุดฟาร์มเกษตรอินทรีย์ทุกตำบล ดึง พอช. ลุยชุมชนสีเขียวพร้อม ผนึก ศธ.ปั้นกรีนสกูล

       นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวันนี้ (18 พ.ย.) ว่าดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มอบหมายให้ตนเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ครั้งที่ 3/2564 ผ่านระบบ ZOOM

        โดยมี นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม นายสถาพร ใจอารีย์ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน นายธีระ วงษ์เจริญ ประธานเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ นายปริญญา พรศิริชัยวัฒนา ประธานชมรมเกษตรอินทรีย์แห่งประเทศไทย ตัวแทนหน่วยงานกระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เครือข่ายของมูลนิธิเกษตรอินทรีย์ไทย ตัวแทนภาคเกษตรกร ร่วมในการประชุม

QIC 580x400

       นายอลงกรณ์ กล่าวว่า จากความร่วมมือของทุกภาคีภาคส่วน ทำให้การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืนในปีนี้มีความก้าวหน้าอย่างมากจากรายงานการดำเนินงานของหลายหน่วยงานสามารถขยายพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน ประจำปีงบประมาณ 2564 ได้กว่า 1,766,269.15 ไร่ ทั้งในรูปแบบของเกษตรผสมผสาน เกษตรทฤษฎีใหม่ และเกษตรอินทรีย์

        นอกจากนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนระดับตำบล (Tambom Sustainable Agriculture Development Project: TAP) ซึ่งมีเป้าหมาย 7,255 ตำบล ทั่วประเทศ โดยจะเน้นส่งเสริมการทำเกษตรกรรมยั่งยืนทั้งในทุกตำบล และเชื่อมโยงกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เกิดเกษตรกรรมยั่งยืนกินได้ อยู่ได้ และอยู่ดี ภายใต้แนวคิด ‘บริหารโดยชุมชน เป็นของชุมชน เพื่อชุมชน’ ใน 21 แนวทางได้แก่

sme 580x400

      1) 1 ตำบล 1 เกษตรทฤษฎีใหม่ 2) 1 ตำบล 1 ร้านค้าเกษตรตำบล 3) 1 ตำบล 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ 4) 1 ตำบล 1 product champion 5) 1 ตำบล 1 วนเกษตร 6) 1 ตำบล 1 กลุ่ม Young smart 7) 1 ตำบล 1 เกษตรธรรมชาติ 8) 1 ตำบล 1 แปลงสมุนไพร 9) 1 ตำบล 1 เกษตรผสมผสาน 10) 1 ตำบล 1 กลุ่มปศุสัตว์ 11) 1 ตำบล 1 เครือข่ายศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม 12) 1 ตำบล 1 กลุ่มประมง  13) 1 ตำบล 1 องค์กรกองทุนฟื้นฟูเกษตรกร

       14) 1 ตำบล 1 ท่องเที่ยวเกษตร 15) 1 ตำบล 1 โครงการชลประทานชุมชน 16) 1 ตำบล 1 เครือข่าย ศพก. 17) 1 ตำบล 1 ธนาคารต้นไม้ (ผลิตและจำหน่ายต้นกล้า) 18) 1 ตำบล 1 วิสาหกิจชุมชน 19) 1 ตำบล 1 กลุ่มเครื่องจักรกลเกษตร 20) 1 ตำบล 1 ตลาดออนไลน์ 21) 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรพลังงาน ซึ่งที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการของโครงการ ก่อนนำเสนอ รมว.กษ.เพื่อการขับเคลื่อนต่อไป

        ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้เน้นย้ำถึงความจำเป็นที่จะต้องขับเคลื่อนด้านเกษตรกรรมยั่งยืนในโลกยุคใหม่หลัง COVID-19 เพื่อพัฒนาและเปลี่ยนแปลงภาคการเกษตรไทย ตามยุทธศาสตร์ ‘3’s (Safety-Security-Sustainability-เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคงและเกษตรยั่งยืน’ ของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.กษ. ตามยุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ เพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกต่อไป

ais 580x400

       นอกจากนี้ ที่ประชุมยังรับทราบความก้าวหน้าในการดำเนินงานโครงการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในเมือง (Sustainable Urban Agriculture Development Project : SUAD Project) และโครงการธนาคารสีเขียว (Green Bank) ซึ่งขยายการดำเนินงานไปในระดับชุมชน เมือง จังหวัด และกลุ่มจังหวัด(เขต)ทั่วประเทศ พร้อมเพิ่มการขับเคลื่อนในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมภายใต้คณะทำงานอุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) 

hino2021

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!