WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1A3A1นราพัฒน์ แก้วทอง

กระทรวงเกษตรฯ เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 43 (43rd AMAF) และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 (21st AMAF Plus Three)

      นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยระดับรัฐมนตรี (AMAF Leader) เข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 43 (43rd AMAF) และการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 (21st AMAF Plus Three) พร้อมด้วย นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าคณะผู้แทนไทยระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM AMAF Leader) รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร รองอธิบดีกรมประมง ผู้อำนวยการสำนักการเกษตรต่างประเทศ ผู้แทนกรมปศุสัตว์ และผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผ่านระบบการประชุมทางไกลออนไลน์

     โดยการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้ ครั้งที่ 43 (43rd AMAF) รัฐมนตรีเกษตรอาเซียน 10 ประเทศ ได้แลกเปลี่ยนนโยบายและแนวทางในการฟื้นฟูด้านการเกษตรและป่าไม้ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ซึ่งประเทศไทยได้กล่าวเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นไปตามกรอบการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมด้านการเกษตร โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เน้นสร้างงาน สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร แรงงานคืนถิ่น และให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบ Area-based Approach ด้วยการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภายในกระทรวง และใช้กระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน

     นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีนโยบาย ขับเคลื่อน 3S ได้แก่ 1) ความปลอดภัย-Safety ได้แก่ ความปลอดภัยอาหาร มาตรฐาน และการตรวจสอบย้อนกลับ 2 (ความมั่นคง มั่งคั่งของภาคเกษตรและอาหาร-Security ได้แก่ ความมั่นคงอาหาร สุขภาพ ความปลอดภัยทางชีวภาพและความมั่นคงของเกษตรกร และ 3) ความยั่งยืนของภาคการเกษตร-Sustainability ได้แก่ การให้ความสำคัญกับการผลักดันเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Model ในภาคเกษตร เพื่อให้ภาคการเกษตรของไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการเพิ่มมูลค่าและการมีของเสียเป็นศูนย์ ภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด

     ทั้งนี้ ที่ประชุมให้ความเห็นชอบเอกสารทั้งหมด 27 ฉบับ และรับทราบเอกสารทั้งหมด 6 ฉบับ ในสาขาต่างๆ ด้านพืชประมง ปศุสัตว์ ด้านมาตรฐาน ด้านป่าไม้ฯลฯ รวมถึงรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา องค์การระหว่างประเทศ และคู่ภาคีอื่นๆ และรับทราบการเห็นชอบใน ASEAN Guidelines on Promoting the Utilisation of Digital Technologies for ASEAN Food and Agricultural Sector ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการดำเนินการการกำหนดรูปแบบการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของการเกษตรในภูมิภาคพลิกโฉมภาคการเกษตรในภูมิภาคโดยใช้ดิจิทัล

     รวมทั้งเห็นชอบข้อเสนอแนะของนโยบายประมงอาเซียน ASEAN General Fisheries Policy (AGFP) Feasibility Study เพื่อมุ่งเน้นความพยายามในการดำเนินการอย่างเต็มรูปแบบตามกรอบนโยบายการประมงระดับภูมิภาค โดยรวมถึงประเด็นด้านขยะทะเล(marine debris) โดยประเทศไทยได้เน้นย้ำเกี่ยวกับการดำเนินการตามแผนงานและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับด้านประมงของอาเซียน การเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมายหรือการทำประมงไอยูยู

       โดยประเทศไทยมุ่งพัฒนาความร่วมมือผ่านการสร้างเครือข่ายอาเซียนเพื่อการต่อต้านการทำประมงไอยูยู หรือ AN-IUU ซึ่งจะเป็นช่องทางในการแบ่งปันข้อมูลที่จำเป็นกับประเทศสมาชิกอาเซียน นอกจากนี้ ประเทศไทยสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศเสริมสร้างและพัฒนากิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเพื่อควบคุมป้องกันโรคระบาดสัตว์ โดยใช้ภูมิปัญญาและประสบการณ์ร่วมกันของภูมิภาคในการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคและโรคระบาด และสร้างความมั่นใจว่าการค้าสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยได้รับการป้องกันจากการแพร่ระบาดของโรคจากสัตว์สู่คนในอนาคตด้วย

     สำหรับ การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการเกษตรและป่าไม้กับรัฐมนตรีของจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี ครั้งที่ 21 (21st  AMAF Plus Three) รัฐมนตรีเกษตรอาเซียน 10 ประเทศ และรัฐมนตรีเกษตรของประเทศบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี) ได้แลกเปลี่ยนนโยบายและแนวทางในการฟื้นฟูด้านการเกษตรและป่าไม้

      ภายหลังสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 โดยที่ประชุมรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการตามยุทธศาสตร์อาเซียนบวกสาม (APTCS) ปี 2559-2568 ที่ประชุมยินดีกับการพัฒนายุทธศาสตร์อาเซียนว่าด้วยพลังงานชีวมวลที่ยั่งยืนเพื่อชุมชนเกษตรกรรมและการพัฒนาชนบทในปี 2563-2573 (ASEAN Strategy on Sustainable Biomass Energy for Agriculture Communities and Rural Development in 2020-2030)

       และแนวทางอาเซียนในการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคอาหารและการเกษตร (ASEAN guidelines on promoting the utilisation of digital technologies in the food and agriculture sector)พร้อมทั้ง รับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานของ APTERR และรับทราบการดำเนินงานของ AFSIS ในการเสริมสร้างศักยภาพด้านระบบข้อมูลสารสนเทศความมั่นคงทางอาหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และการตีพิมพ์รายงานสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มของสินค้า 5 ชนิด คือ ข้าว ข้าวโพด อ้อย ถั่วเหลือง และมันสำปะหลัง

     ทั้งนี้ ประเทศไทยให้ความสำคัญต่อความมั่นคงทางอาหาร โดยเฉพาะในภาวะวิกฤตโควิด-19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบห่วงโซ่อาหาร ประเทศไทยเห็นควรส่งเสริมความร่วมมืออย่างใกล้ชิดของอาเซียนบวกสามมากยิ่งขึ้น ในด้านการแบ่งปันข้อมูลความมั่นคงด้านอาหารระหว่างประเทศในกลุ่มอาเซียนบวกสาม การส่งเสริมความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาในด้าน Food system

     ขณะเดียวกัน ประเทศไทยในฐานะประเทศเจ้าภาพ ยังคงสนับสนุนสำนักเลขาธิการ APTERR และ AFSIS และส่งเสริมบทบาทและความรับผิดชอบที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มที่ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงด้านอาหาร การบรรเทาความยากจน และการกำจัดภาวะทุกโภชนาการภายในภูมิภาค

       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงความท้าทายของการระบาดของ COVID-19 ภัยธรรมชาติ ภาวะฉุกเฉินและเหตุการณ์ด้านมนุษยธรรมอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในภูมิภาคอาเซียน และท้ายที่สุดประเทศไทยยังสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล รวมทั้งเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียวในภาคการเกษตรและป่าไม้ เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานอาหาร การผลิตทางการเกษตรที่ใช้นวัตกรรมและยั่งยืน รวมทั้งระบบอาหารอีกด้วย.

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!