- Details
- Category: เกษตร
- Published: Tuesday, 11 November 2014 19:18
- Hits: 2044
จัดทีมลงแดนอีสาน สศข.5 ได้ฤกษ์ 10 พ.ย.นี้ ลงสำรวจนาปี-ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์-ถั่วเหลือง 57/58
ปูพรมแดนอีสาน พื้นที่นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5จัดทีมตะลุยพื้นที่สำรวจข้าวนาปี การตั้งแปลงทดสอบผลผลิตต่อไร่ หรือ Cutting ข้าวนาปี Cutting ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น1 และ Cutting ถั่วเหลืองรุ่น1 ปี 2557/58 ดีเดย์ 10 พฤศจิกายน ถึง 10 ธันวาคมนี้พร้อมกัน รวมกว่า 500 หมู่บ้าน
นายสมมาตร ยิ่งยวด ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5นครราชสีมา (สศข.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า สศข.5 ได้เตรียมแผนปฏิบัติงานออกจัดเก็บข้อมูลการสำรวจข้าวนาปีรายหมู่บ้าน สำรวจการตั้งแปลงทดสอบผลผลิตต่อไร่ หรือ Cutting ข้าวนาปี Cutting ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น1 Cutting ถั่วเหลืองรุ่น 1 ปีการเพาะปลูก 2557/58 ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ โดยจะออกทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 10 พฤศจิกายน - 10 ธันวาคม 2557 ภายในเขตหมู่บ้านตัวอย่างต่างๆ ที่ทำการเพาะปลูกข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น1 ถั่วเหลืองรุ่น1 ที่ได้ถูกกำหนดไว้โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างจากหมู่บ้านตัวอย่างจากส่วนกลาง ดังนี้
ข้าวนาปีจำนวน 487 หมู่บ้าน แยกเป็น นครราชสีมา 160 หมู่บ้าน ชัยภูมิ 65 หมู่บ้าน บุรีรัมย์ 138 หมู่บ้าน และสุรินทร์ 124 หมู่บ้าน Cutting
Cutting ข้าวนาปี จำนวน 22 หมู่บ้านโดยแยก นครราชสีมา 6 หมู่บ้าน ชัยภูมิ 4 หมู่บ้าน บุรีรัมย์ 6 หมู่บ้าน และสุรินทร์ 6 หมู่บ้าน
Cutting ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ รุ่น1 รวม 46 หมู่บ้าน โดยแยกเป็น นครราชสีมา 32 หมู่บ้าน ชัยภูมิ 14 หมู่บ้าน และ Cutting ถั่วเหลืองรุ่น1 รวม 6 หมู่บ้าน โดยเป็นของจังหวัดชัยภูมิทั้งหมด ซึ่งหมู่บ้านตัวอย่างจะกระจายอยู่ภายในเขตท้องที่ต่างๆ เพื่อที่จะนำเอาข้อมูลที่สอบถามจากผู้ที่เพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ มาทำการหาค่าประมาณการทางสถิติ และนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาปริมาณผลผลิตของพืชชนิดต่างๆ ที่เกษตรกรทำการเพาะปลูกอยู่ ว่าจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดในปีเพาะปลูกนี้ โดยจะทำการสำรวจปีละหนึ่งถึงสองครั้ง นำเอาข้อมูลที่ได้มาศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลในแต่ละปีว่าเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ในปัจจุบัน มีจำนวนผลผลิตเพิ่มมากขึ้นหรือน้อยลงกว่าเดิม เนื่องจากในแต่ละปีสภาพดินฟ้าอากาศมีสภาพที่แตกต่างกัน และนำมาเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้อย่างถูกต้องและตรงจุด ทั้งนี้ สิ่งสำคัญคือ ความร่วมมือจากเกษตรกรผู้ที่ทำการเพาะปลูกพืชในแต่ละชนิดและในแต่ละหมู่บ้านในการตอบแบบสอบถามและการให้ข้อมูล ซึ่งนับประโยชน์แก่ตัวเกษตรกรเอง และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนพัฒนาทางการเกษตรของประเทศได้ต่อไปในอนาคต
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร