WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AA1Aลัมปีสกินเป็นในโค

กรมปศุสัตว์ยืนยันโรคลัมปีสกินเป็นโรคในโค กระบือและไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน

       นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่าโรคลัมปีสกิน เป็นโรคระบาดในโค กระบือ เท่านั้น โดยสามารถสามารถยืนยันองค์ความรู้ดังกล่าวได้จากข้อมูลทางวิชาการขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) และหน่วยงานบริการตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (APHIS : USDA) ซึ่ง OIE มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความรู้และปรับปรุงความทันสมัยทางวิชาการทุกปียังให้ข้อมูลว่าโรคลัมปีสกิน เป็นโรคระบาดในโค กระบือเท่านั้น และไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

      อธิบดีกรมปศุสัตว์ให้ข้อมูลว่าจากที่กรมควบคุมโรคได้แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรค 1-12 และผู้อำนวยการสถาบันป้องกันโรคเขตเมืองประสานกับหน่วยงานและเครือข่ายในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมควบคุมโรคลัมปีสกิน โดยระบุว่า ถึงแม้โรคลัมปีสกินไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร เนื่องจากมีรายงานพบผู้ป่วยซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีอาการผิวหนังเป็นแผลมีตุ่มนูน แตก สะเก็ด มีไข้ อ่อนเพลียแล้วตรวจพบเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes virus) และไวรัสลัมปีสกิน (Lumpy skin diseasevirus) ที่ผิวหนังซึ่งรายงานฉบับนั้นได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ และสร้างความตื่นตระหนกให้เกษตรกร เป็นอย่างมาก

       รายงานที่อ้างถึงนั้นเป็นรายงานที่พบผู้ป่วยในประเทศอียิปต์ซึ่งมีการตีพิมพ์เพียงฉบับเดียวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 ไม่มีรายงานเพิ่มเติมใดๆ ทั้งจากประเทศอียิปต์และประเทศอื่นๆ ที่มีการระบาดของโรคลัมปีสกิน ทั้งที่มีการระบาดของโรคลัมปีสกินอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย จีน เวียดนาม เมียนมา

       โดยในรายงานฉบับดังกล่าวนั้นมีการตรวจพบเชื้อไวรัส 2ชนิดคือ เชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์และเชื้อไวรัสโรคลัมปีสกินจากคนป่วยในตัวอย่างที่ผิวหนัง โดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม งูสวัดในคนซึ่งจะแสดงอาการตุ่มหนองที่ผิวหนัง ริมฝีปากและอวัยวะเพศรวมถึงเป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใสด้วย นอกจากนี้ในรายงานไม่ได้ระบุจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจหรือจำนวนตัวอย่างที่ให้ผลบวกแต่อย่างใด

        ดังนั้น จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเชื้อไวรัสชนิดใดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนังหรือเกิดจากไวรัสทั้ง 2ชนิดเพราะโดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคลัมปีสกินจะไม่ก่อโรคในผิวหนังปกติสันนิษฐานจากกรณีนี้น่าจะมีสาเหตุโน้มนำจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์มาก่อนและระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่ำมากร่วมกับมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโรคลัมปีสกินจึงตรวจพบเชื้อไวรัสโรคลัมปีสกิน

        ท้ายที่สุดนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอย้ำให้เกษตรกรและพี่น้องประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก เนื่องจากโรคลัมปีสกินไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน แต่เพื่อเป็นการสร้างสุขอนามัยที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แนะนำให้เกษตรกรล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์รักษาความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์ป่วยทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงสัตว์และพื้นที่โดยรอบ และสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อรักษาสัตว์ป่วยโรคลัมปีสกิน โดยเฉพาะที่มีรอยโรคที่ผิวหนัง

        ทั้งนี้หากเกษตรกรมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือ call center 063-225-6888

        https://www.facebook.com/116504086402205/posts/588686955850580/

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

 

EXIM One 720x90 C J

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

smed banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!