WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AAC1สรวิศ ธานีโต

กระทรวงเกษตรฯ ย้ำชี้แจงเวียดนามแล้ว ยืนยันหมูไทยตรวจไม่พบเชื้อ ASF พร้อมยกระดับ 7 มาตรการป้องกันเข้มข้น

    อธิบดีกรมปศุสัตว์ แจงกรณีเวียดนามประกาศห้ามนำเข้าสุกรจากไทยเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ผ่านมา ย้ำส่งหนังสือยืนยันผลตรวจโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ ASF ต่อทางการเวียดนามแล้ว ชี้ผลจากห้องปฏิบัติการที่ดำเนินการตามข้อกำหนดก่อนการส่งออกไปยังเวียดนาม ปรากฏว่า ‘ไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกา’แน่นอน พร้อมยกระดับมาตรการเฝ้าระวังและป้องกัน 7 ด้าน คุมเข้มทั้งในฟาร์มและด่านส่งออกทุกแห่ง

      นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งหนังสือชี้แจงเรื่องนี้ไปยังเวียดนามทันทีที่ได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวจากกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนามยืนยันว่าไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในหมูไทยตามรายงาน พร้อมตรวจสอบข้อมูลการสุ่มตรวจโรค ASF อย่างละเอียดอีกครั้ง ก็ไม่พบเชื้อในตัวอย่างแต่อย่างใด โดยได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงในทันที พร้อมส่งหนังสือแจ้งผลตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของสุกรแล้ว

      ขณะเดียวกัน ได้ยกระดับมาตรการตรวจสอบสุกรมีชีวิตก่อนการส่งออกให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยส่งหนังสือแจ้งผู้ประกอบการส่งออกสุกรทุกรายว่า สุกรมีชีวิตทุกชนิดที่จะส่งออกไปยังเวียดนาม ต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ด่านกักกันสัตว์ท่าออกอีกครั้ง ก่อนอนุญาตให้ส่งออก ด้วยการสุ่มเก็บตัวอย่างสุกรบนรถขนสุกรทุกคันบริเวณจุดขนถ่ายสุกรที่ท่าส่งออกหรือจุดที่ด่านกักกันสัตว์กำหนด 10 ตัวอย่างต่อคัน มีผลบังคับใช้ในทันที เพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมของประเทศเวียดนามที่กำหนดไว้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้ประเทศคู่ค้าถึงการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพสุกรของไทย

    “การระงับของเวียดนาม เป็นไปตามความเข้าใจคลาดเคลื่อนเดิม ที่แจ้งมาเมื่อเดือนพฤษภาคม ซึ่งเมื่อได้ชี้แจงไปยังเวียดนามแล้ว มีความเข้าใจเป็นอันดี โดยคาดว่าจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายสัตว์ผ่านประเทศอื่น ขณะที่ความต้องการบริโภคเนื้อหมูยังคงสูง และเชื่อว่าเวียดนามจะกลับมานำเข้าหมูไทยอีกในเร็วๆนี้ ขอยืนยันว่าการเลี้ยงสุกรของไทยมีมาตรฐานและมีมาตรการในการป้องกันโรคโดยเฉพาะ ASF เพื่อให้ไทยยังคงสถานะปลอดโรคนี้ โดยเน้นย้ำเกษตรกรผู้เลี้ยงและผู้ประกอบการ ร่วมกันยกระดับมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวดอยู่แล้วให้ที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

     ล่าสุดกรมปศุสัตว์ยกระดับการป้องกันให้เข้มข้นขึ้น โดยกำหนดมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF 7 ด้าน ได้แก่

  1. เร่งรัดติดตามการขึ้นทะเบียนผู้รวบรวมสุกรหรือพ่อค้าคนกลาง (broker) ในแต่ละจังหวัดให้เสร็จโดยเร็ว
  2. ปรับปรุงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายให้ง่ายต่อการปฏิบัติและให้มีประสิทธิภาพต่อการป้องกันโรค โดยผ่านคณะอนุกรรมการวิชาการ ให้ออกมาตรการโดยเร็วที่สุด
  3. ชี้แจงมาตรการและหลักเกณฑ์การเคลื่อนย้ายสุกรให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
  4. กองสารวัตรและกักกัน ให้เข้มงวดการตรวจสอบสุกร และผลิตภัณฑ์สุกรที่จะส่งออกไปต่างประเทศ โดยให้ดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่าง ณ ด่านขาออก หากพบสัตว์ผิดปกติให้ดำเนินการตามที่กรมปศุสัตว์กำหนดอย่างเข้มงวด 5. สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ตั้งคณะกรรมการพิจารณาการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกัน ASF
  5. สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์รวบรวมและแจ้งรายชื่อโรงฆ่าสัตว์ที่สามารถรองรับการบริหารจัดการ การดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคภายในจังหวัด ส่งให้ปศุสัตว์จังหวัดดำเนินการ และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด หากพบการกระทำผิด แจ้งข้อมูลที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือสายตรงผู้บริหารกรมโดยตรง

****************************

ข้อมูล-ข่าว : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (2 ก.ค. 2564) ข่าวปศุสัตว์

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!