WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1AACดร.ทองเปลว กองจันทร์

ปลัดเกษตรฯ เร่งรัดการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้แล้วเสร็จตามเป้าหมาย พร้อมสนับสนุนการขับเคลื่อน 4 คณะอนุกรรมการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

      ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ผ่านระบบทางไกลออนไลน์ Application Zoom โดยที่ประชุมได้รายงานสรุปความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ ซึ่งปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 16 มิ.ย. 64) มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 29,365 ราย แบ่งเป็น เกษตรกรทั่วไป จำนวน 28,009 ราย และเกษตรกรโครงการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ (5 ประสานฯ) จำนวน1,356 ราย มีการจ้างแรงงานเกษตรทฤษฎีใหม่ระดับตำบล 14,061 ราย มีการอบรมกระบวนการเรียนรู้ 4 เวที ให้แก่เกษตรกรทั้งหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

       การวิเคราะห์พื้นที่และวางแผนการผลิต การรวมกลุ่ม และการเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ระหว่างการดำเนินการ และมีการขุดสระเก็บกักน้ำ รอบที่ 1 จำนวน 18,196 ราย / 1,981 ตำบล มีผลการดำเนินงานที่ขุดเสร็จแล้ว 7,514 ราย อยู่ระหว่างการดำเนินการ 10,682 ราย รอบที่ 2 จำนวน 11,636 ราย / 1,673 ตำบล อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง

     นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการ 1 ตำบล 1 กลุ่ม 20 เกษตรทฤษฎีใหม่ของคณะอนุกรรมการฯ 4 คณะ ได้แก่ 1) คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาพื้นที่ โดยได้มีการเร่งรัดดำเนินการในส่วนของการขุดสระเก็บน้ำ ทั้งในส่วนของการปรับแก้ไขรูปแบบ การจัดซื้อจัดจ้างให้ถูกต้องตามระเบียบราชการ การดำเนินการให้ทันเวลา รวมถึงการประชาสัมพันธ์เชิงรุกและการสร้างการรับรู้แก่เกษตรกร เพื่อสร้างความมั่นใจในการเข้าร่วมโครงการ 2) คณะอนุกรรมการด้านการพัฒนาอาชีพและการตลาด มีเป้าหมายในการดําเนินการจัดตั้งกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ตําบลต้นแบบอย่างน้อยจังหวัดละ 1 ตําบล ในพื้นที่ดําเนินการ 70 จังหวัด

       โดยได้กําหนดให้มีหน่วยงานเจ้าภาพประสาน ติดตาม ผลักดันและสนับสนุนการขับเคลื่อนงานจัดตั้งกลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ตําบลต้นแบบด้านพัฒนาอาชีพและการตลาดในระดับภูมิภาคแบ่งเป็น กรมส่งเสริมสหกรณ์รับผิดชอบจังหวัดในภาคเหนือ 16 จังหวัด กรมปศุสัตว์รับผิดชอบจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด กรมส่งเสริมการเกษตรรับผิดชอบจังหวัดในภาคกลางและตะวันออก 22 จังหวัด และกรมประมงรับผิดขอบจังหวัดในภาคใต้ 14 จังหวัด

      ทั้งนี้ ได้กําหนดแนวทางการปฏิบัติงาน 8 ขั้นตอน คือ (1) การคัดเลือกและประเมินศักยภาพเกษตรกรเป้าหมายที่ได้รับการขุดสระเรียบร้อยแล้ว ภายในวันที่ 30 มิ.ย. 64 (2) การส่งเสริมการรวมกลุ่ม จัดทําแผนพัฒนาและเพิ่มศักยภาพกลุ่มที่คัดเลือก ภายในวันที่ 30 ก.ค. 64 (3) การอบรมถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิต/การตลาด ภายในวันที่ 30 ก.ค. 64 (4) กลุ่มต้นแบบเริ่มดําเนินการผลิตตามแผน ตั้งแต่ ส.ค. 64 (5) การเตรียมความพร้อมด้านการตลาดของกลุ่มต้นแบบฯ ตามแผนพัฒนาภายในวันที่ 30 ก.ย. 64 (6) การส่งเสริมการจําหน่ายผลผลิต (ต.ค. –ธ.ค. 64) ทั้งผลผลิตฤดูการผลิต 1 ภายในเดือน ธ.ค. 64 เป้าหมายเพื่อการบริโภคลดรายจ่าย เหลือขายตลาดในชุมชน และการพัฒนาสู่การผลิตเพื่อจําหน่ายมากขึ้นในฤดูกาลผลิตถัดไป (7) การผลักดันสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน ภายใน ธ.ค. 2564 และ (8) พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่ 3) คณะอนุกรรมการด้านการติดตามงานในพื้นที่ เร่งรัดดำเนินการติดตามผ่านระบบสารสนเทศ ทั้งกำหนดแนวทางในการ ถาม-ตอบ ข้อมูลโครงการ1 ตำบล 1 กลุ่มเกษตรทฤษฎีใหม่

     รวมถึงติดตามการแก้ไขปัญหา ทั้งในส่วนของปัญหาและอุปสรรค และแนวทางการแก้ไขในระดับพื้นที่ เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด และ 4) คณะอนุกรรมการด้านการติดตามและประเมินผล ได้มีการติดตามประเมินผลครั้งที่ 1 ระหว่างเดือน ก.พ. - มี.ค. 64 ในพื้นที่กลุ่มตัวอย่าง 35 จังหวัด จำนวน 1,661 ราย ทั้งเกษตรกร ผู้รับจ้างงาน และเจ้าหน้าที่ พบว่า 1) การส่งเสริมองค์ความรู้ และฝึกอบรม หลักสูตรปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาเกษตรทฤษฎีใหม่ เนื่องจากเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19) ทำให้การส่งเสริมองค์ความรู้ และฝึกอบรม ดำเนินการอยู่ที่ร้อยละ 13 2) ในส่วนของการสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง และกรมพัฒนาที่ดิน ยังไม่ได้ดำเนินการสนับสนุนปัจจัยการผลิตให้แก่เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ เนื่องจากต้องดำเนินการภายหลังจากการขุดสระเก็บน้ำและการปรับปรุงบำรุงดิน และ 3) เกิดกระแสเงินหมุนเวียนจากการจ้างแรงงานในชุมชน และการจัดจ้างขุดสระ รวม 433 ล้านบาท

      "อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มีการติดตามการดำเนินงานอย่างใกล้ชิด และได้เร่งรัดการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย ถูกต้อง และทันเวลา โดยเฉพาะการขุดสระเก็บกักน้ำ เพื่อให้หน่วยงานที่ดูแลเรื่องปัจจัยการผลิตสามารถเข้าดำเนินการต่อได้ทันที นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้เห็นชอบในหลักการแนวทางการจัดฝึกอบรมเกษตรกรผ่านสื่ออิเลคทรอนิกส์ ซึ่งเป็นผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 โดยจะนำแนวทางดังกล่าว ไปหารือกับคณะกรรมการกลั่นกรองเพื่อพิจารณาให้เหมาะสมตามแต่ละพื้นที่ต่อไป"ดร.ทองเปลว กล่าว

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

BITKUB Ad

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!