WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

2234 agtechเอ็นไอเอผุดคอร์สออนไลน์ ‘AgTech4OTOP แพลตฟอร์มตลาดเพื่อเกษตรกร

ชวนเกษตรกรไทยอัพเกรดความรู้ก้าวสู่เกษตรกรวิถีใหม่

          สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ NIA ร่วมกับ 3 พันธมิตร ได้แก่ กรมพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากสตาร์ทอัพด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น หรือ AgTech4OTOP โดยดึงองค์ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการพัฒนาและยกระดับการเกษตรกรไทยมาสร้างเป็นหลักสูตรออนไลน์ให้เกษตรกร ชุมชน หรือผู้สนใจเข้ามาเรียนรู้และสามารถนำความรู้ไปต่อยอดกับการทำเกษตรในแบบของตนเองได้ เพื่อช่วยเตรียมพร้อมในการปรับตัวรับแนวทางเกษตรวิถีใหม่ที่เข้าไปเรียนรู้ได้ด้วยตนเองโดยไม่มีค่าใช้จ่าย...คลิกได้ที่ https://agtech4otop.nia.or.th/

 

2234 agtech3

 

          ดร.กริชผกา บุญเฟื่อง รองผู้อำนวยการด้านระบบนวัตกรรม NIA กล่าวว่า “NIA ได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการอำนวยการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์แห่งชาติ ในการดำเนินโครงการสร้างตลาดรูปแบบใหม่จากวิสาหกิจเริ่มต้นด้านการเกษตรสำหรับกลุ่ม OTOP เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น จึงได้ริเริ่มจัดทำหลักสูตรออนไลน์ “AgTech4OTOP แพลตฟอร์มตลาดเพื่อเกษตรกรขึ้น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร คนที่กำลังก้าวมาเป็นเกษตรกร หรือคนทั่วไปที่สนใจในธุรกิจเกษตร โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรครอบคลุมตั้งแต่เริ่มต้นผลิตสินค้าเกษตร จนถึงการทำการตลาด ประกอบไปด้วย 6 กลุ่มการเรียนรู้ โดยเริ่มจากกลุ่มที่แนะนำโครงการ AgTech4OTOP” พร้อมบทบาทของ 3 พันธมิตรที่จะช่วยสร้างโอกาสให้กับเกษตรกร กลุ่ม OTOP และสตาร์ทอัพสายเกษตร พร้อมเป็นประตูเชื่อมสู่โลกใหม่ ตลาดใหม่ และที่สำคัญได้หุ้นส่วนทางธุรกิจที่ดีที่จะจับมือเติบโตไปด้วยกัน

          ขยับเข้าสู่กลุ่มที่ 2 การเรียนรู้ เกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” เพื่อให้เห็นแนวทางในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร และวิธีการขึ้นทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย หรือ Geographical Indications, GI โดยรับเกียรติจากคุณปัจฉิมา ธนสันติ อดีตอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ปลุกปั้นกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาด้านสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ต่อด้วยกลุ่มที่ 3 ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญของการผลิตสินค้าเกษตรคือ มาตรฐานสินค้าเกษตร” โดยคุณนลินทิพย์ เพณี ผู้อำนวยการกองส่งเสริมมาตรฐาน สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ จะมาให้ความรู้และข้อแนะนำในการจะทำอย่างไรให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด เกิดการยอมรับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

 

2234 agtech4

 

          กลุ่มที่นวัตกรรมการเกษตร” จะเห็นได้ว่าปัจจุบันการผลิตสินค้าเกษตรเจอความท้าทายจากหลากหลายปัจจัยทั้งสภาพดิน ฟ้า อากาศ รวมถึงการบริหารจัดการผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว การขนส่ง ทำให้นวัตกรรมมีความจำเป็นต่อการนำมาประยุกต์ใช้ในการเกษตรเพิ่มขึ้น ในกลุ่มนี้จึงขออาสาพาไปเปิดโลกทัศน์การทำนวัตกรรมเกษตรกับ 3 สตาร์ทอัพไทยที่จะมาตอบโจทย์แก้ปัญหาทางการเกษตรได้อย่างตรงประเด็นได้แก่ 1) ฟาร์มเอไอ: ระบบการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการฟาร์ม โดย ดร. รัสรินทร์ ชินโชติธีรนันท์ ผู้ก่อตั้งลิสเซินฟิลด์ 2) เทวดาคอร์ป : ระบบการปลูกข้าวแม่นยำสูงแบบครบวงจร ด้วยการใช้โดรนไฮบริดด้านเกษตรแม่นยำสูงแบบครบวงจร ร่วมกับการบริหารจัดการ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าวได้ 2 เท่า โดยคุณธีรพงษ์ กาญจนกันติกุล ผู้ก่อตั้งเทวดาคอร์ป และ 3) แอคคูรา: ระบบบริหารจัดการน้ำตามความต้องการของพืช โดยใช้เทคโนโลยีด้านเซ็นเซอร์ในการเกษตร เพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผลผลิต อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุนด้วย โดยคุณปิยามร กันตะสิริพิทักษ์ ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารแอคคูรา

          เมื่อได้สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานแล้ว การขนส่งและเคลื่อนย้ายสินค้าก็นับเป็นอีกหัวใจสำคัญในการที่จะรักษาคุณภาพของสินค้าให้คงอยู่ตั้งแต่การผลิตจนถึงมือผู้บริโภค จึงเป็นที่มาของกลุ่มการเรียนรู้ที่การบริหารจัดการขนส่งสินค้าเกษตร” โดยดร. ดนัย คาคัสซี รองประธานบริหาร บริษัท อินเตอร์ เอ็กเพรส โลจิสติกส์ จำกัด จะเล่าถึงกระบวนการเกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดความเข้าใจในระบบการบริหารจัดการขนส่งสินค้าเกษตร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสินค้าของตนเอง เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสินค้าคุณภาพ ปลอดภัย และมีความสดใหม่ นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากคุณจุฑารัตน์ พัฒนาทร ผู้อำนวยการฝ่ายประกันคุณภาพ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ที่มาเล่าประสบการณ์ของการบริหารจัดการและการประกันคุณภาพของสินค้าเกษตร

          สำหรับกลุ่มการเรียนรู้สุดท้ายในกลุ่มที่ 6 จะแนะนำ 10 สตาร์ทอัพด้านการเกษตรที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่นเข้ามาช่วยเพิ่มช่องทางตลาดให้เกษตรกรทีไม่ได้เป็นเพียงช่องทางการตลาดเท่านั้น แต่ยังเข้าไปร่วมการพัฒนาสินค้าและสร้างแบรนด์สินค้าของเกษตรกรให้เป็นที่จดจำ เพียงคลิก https://agtech4otop.nia.or.th/clip_cate/introduce-10startup/

 

2234 agtech2

 

          ดร.กริชผกา ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า หลักสูตรการเรียนรู้นี้ช่วยเข้ามาตอบโจทย์สำคัญของเกษตรกร หรือชุมชนที่จำเป็นต้องหาทางออกใหม่ๆ รับมือการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่วิถีชีวิตในรูปแบบใหม่ที่ถูกเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 และในโอกาสนี้ขอฝากผู้บริโภคทั้งบุคคลทั่วไป หรือกลุ่มธุรกิจ เช่น ร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า โรงงานแปรรูป ฯลฯ ที่สนใจสินค้าเกษตรคุณภาพดีและมีให้เลือกหลากหลายช่วยสนับสนุนแพลตฟอร์มของสตาร์ทอัพเกษตรไทย ซึ่งนอกจากจะช่วยสนับสนุนสินค้าจากเกษตรกรแล้ว เมื่อเข้าไปใช้งานมากขึ้น สตาร์ทอัพเจ้าของแพลตฟอร์มก็จะเห็นโอกาสและแนวทางการปรับปรุงแพลตฟอร์มให้ตอบโจทย์ทั้งเกษตรกร และผู้บริโภคได้ตรงใจมากขึ้นด้วย สิ่งสำคัญยิ่งคือการตอบโจทย์ให้เกิดการหมุนเวียนสร้างหุ้นส่วนสามารถเติบโตไปด้วยกันทั้งเศรษฐกิจ ชุมชน และธุรกิจสตาร์ทอัพด้านการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

          รายละเอียดเพิ่มเติมที่ https://agtech4otop.nia.or.th/ หรือ Facebook : AgTech4OTOP หรือ สอบถามโทร 098-257 0888 (ทินวัฒน์) อีเมล [email protected]

 

A2234

COREHOON

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

FBS728

EXNESS

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!