WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ก.เกษตรฯเดินหน้าขึ้นทะเบียนแรงงานประมง,คาดส่งออกกุ้งปีนี้ยังลดลงจากโรค EMS

   นายวิมล จันทรโรทัย รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การแก้ไขปัญหาแรงงานในเรือประมง การแก้ไขปัญหา IUU และสถานการณ์การเลี้ยงกุ้งภายหลังการเกิดโรค EMS ว่า จำนวนเรือประมงที่มีแรงงานต่างด้าว จำนวน 9,339 ลำ เป็นของเจ้าของเรือจำนวน 7,452 ราย จากการตรวจสอบข้อมูลมีแรงงานต่างด้าวที่จดทะเบียนในเรือเหล่านี้จำนวน 33,423 คน ดังนั้น กรมประมงจะประสานงานกับกรมการปกครองและกรมเจ้าท่าในการตรวจสอบแรงงานต่างด้าวอีกจำนวน 22,671 คนว่าจดทะเบียนกับนายจ้างเรือประมงใดและอยู่ที่ใด รวมถึงการสำรวจสวัสดิภาพต่างๆเพิ่มเติมด้วย เพื่อให้สามารถควบคุมดูแลได้อย่างทั่วถึง กำหนดกรอบระยะเวลาการลงทะเบียนแรงงานประมงที่เหลือ สิ้นสุดวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นให้แก่ระบบเศรษฐกิจว่าแรงงานที่อยู่ในเรือประมงเป็นแรงงานที่ถูกต้อง

   สำหรับ สถานการณ์การผลิตกุ้งในปี 57 ทางกรมประมงประเมินไว้ที่ 200,000 ตัน ซึ่งมีปริมาณลดลงกว่าปี 56 เนื่องจากการเลี้ยงกุ้งยังไม่เต็มพื้นที่ ดังนั้นต้องมีการจำแนกพื้นที่ลงเลี้ยงแล้วและยังไม่ได้ลง เพื่อหาวิธีการบริหารจัดการต่อไป สำหรับเกษตรกรที่ยังไม่เลี้ยงกุ้ง อาจมีสาเหตุมาจากการขาดความเชื่อมั่นในพันธุ์กุ้งหรือเทคนิควิธีการต่างๆ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้กรมประมงพิจารณาเรื่องประสิทธิภาพของการผลิต และการสนับสนุนด้านข้อมูลต่างๆแก่เกษตรกรเพิ่มเติม ส่วนฟาร์มที่ดำเนินการเลี้ยงกุ้งในปัจจุบัน ทางกรมประมงได้จัดทีมลงพื้นที่เพื่อแนะนำ ส่งเสริม และตรวจติดตามผล ตั้งแต่ระบบโรงเพาะฟัก ระบบอนุบาล และบ่อเลี้ยง เพื่อติดตามและแก้ไขปัญหาโรคตายด่วน โดยมีเป้าหมายเพื่อลดการระบาดของโรคในโรงเพาะฟักและในบ่อดิน

    “ปัญหาโรคกุ้งตายด่วนนั้น ทางกรมประมงได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล 96 ล้านบาท และการนำเข้าพ่อแม่พันธุ์กุ้งปลอดโรค จำนวน 1,500 คู่ เพื่อผลิตลูกกุ้งคุณภาพให้แก่หน่วยงานของกรมประมงเพื่อเลี้ยงต่อให้เป็นพ่อแม่พันธุ์คุณภาพ จำนวน 100,000 ตัว และอีกส่วนหนึ่งจะจำหน่ายลูกกุ้งระยะนอเพลียสให้แก่เกษตรกรโรงเพาะฟักทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ กับกรมประมง"นายวิมล กล่าว

                        อินโฟเควสท์

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!