- Details
- Category: เกษตร
- Published: Sunday, 31 January 2021 18:34
- Hits: 13389
เฉลิมชัย มอบหมายนโยบายบริหารจัดการผลไม้เชิงรุกปี 2564 ‘ฟรุ้ต บอร์ด’ทุ่มร่วม 500 ล้านเร่งพัฒนาตลาดทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ พร้อมปรับแผนโลจิสติกส์ขนส่งทางรางสู่เอเซียและยุโรป เร่งปั้นนิคมอุตสาหกรรมผลไม้ดึง AIC และ ส.อ.ท.ร่วมขับเคลื่อน
นายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มอบหมายให้นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ (Fruit Board) ครั้งที่ 2/2564 ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายทินกร อ่อนประทุม คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีเกษตรฯ นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ ฯ และคณะกรรมการ ประชุมทางไกลออนไลน์ ผ่านระบบ ZOOM Application
นายอลงกรณ์ เปิดเผยว่าการประชุมครั้งนี้ได้ย้ำถึงตามแนวทาง 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายหลักของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการบริหารงานปี 2564 และขอให้ใช้กลยุทธ์เชิงรุกในการทำงานยุคโควิด19 ต่อคณะกรรมการ fruit board โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการฯประสานการจัดทำแผนการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานผลไม้ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำจากสวนถึงผู้บริโภค
รวมทั้งปรับแผนโลจิสติกส์(logistics plan)ระบบการขนส่งกระจายผลไม้ทั้งในและต่างประเทศโดยเพิ่มแผนขนส่งทางรางเชื่อมไทยเชื่อมโลก เพื่อเชื่อมทางรถไฟจีนที่ลาวและที่ด่านผิงเสียงชายแดนเวียดนามสู่ตลาดจีนเกาหลี รัสเซีย มองโกเลีย เอเซียกลาง ตะวันออกกลางและยุโรป
แผนการวิจัยและพัฒนาผลไม้ตลอดห่วงโซ่อุปทานใช้วิทยาการสมัยใหม่และเทคโนโลยีเพื่อลดต้นทุน สร้างมูลค่าเพิ่มแผนแรงงาน แผนระบบตรวจสอบย้อนกลับ(Traceability)เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภค
รวมทั้งแผนสื่อสารประชาสัมพันธ์และการตลาดโดยให้เร่งนำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาในการประชุมคราวหน้า เป็นการปรับกลยุทธ์การทำงานต่อเนื่องจากฤดูกาลผลิตปีที่แล้วเพื่อรับมือกับผลกระทบจากโควิด19 ปีที่ 2 เตรียมรับผลผลิตที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)คาดว่าจะเพิ่มขึ้นกว่า 24%ในปีนี้กว่า
ทั้งนี้ ที่ประชุมฟรุ้ต บอร์ดได้เห็นชอบโครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาผลไม้ ปี 2564 งบประมาณ 492 ล้านบาท และ มอบหมายกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นำเสนอคณะกรรมการบริหารกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรพิจารณาให้ความเห็นชอบในต้นเดือนกุมภาพันธ์ต่อไป
สำหรับค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย กิจกรรมสนับสนุนด้าน
1.การกระจายผลผลิตออกนอกแหล่งผลิตและการเชื่อมโยงการจำหน่ายช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก
2.การเพิ่มช่องการจำหน่าย
3.การรวบรวมรับซื้อผลผลิตเพื่อส่งออก
4.การจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริโภคผลไม้ ซึ่งเป็นมาตรการรองรับ
สำหรับ การบริหารจัดการรวมทั้งปัญหาผลกระทบจากสถานการณ์ COVID-19 ระลอกใหม่ โดยเน้นการแก้ไขปัญหาเชิงรุกล่วงหน้าอาทิ ปัญหาผลผลิตออกมาพร้อมกันในช่วงต้นฤดูร้อน ปัญหาโลจิสติกส์การขนส่งผลไม้ทั้งทางบก ทางอากาศ และทางเรือจากค่าบริการที่เพิ่มขึ้น ตู้คอนเทนเนอร์ที่ขาดแคลน ปัญหาแรงงาน และประเด็นความเชื่อมั่นของตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะตลาดจีนกรณีการปนเปื้อนโควิด19 ของสินค้าเกษตรที่จีนนำเข้าจากบางประเทศจึงต้องเพิ่มมาตรการตรวจสอบย้อนกลับ รวมถึงมาตรการเพิ่มการสื่อสารเชิงรุกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ พร้อมกับประชาสัมพันธ์และทำการตลาดล่วงหน้าออนไลน์และออฟไลน์ นอกจากนี้ยังให้ส่งเสริมการแปรรูปผลไม้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสนับสนุนให้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมผลไม้ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้และภาคตะวันออกโดยประสานงานกับศูนย์AICทุกจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.)ร่วมขับเคลื่อน
นอกจากนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบเพิ่มจำนวนครัวเรือนเป้าหมายเกษตรกรในโครงการเยียวยาเกษตรกรชาวสวนลำไย ปี 2563 จาก 202,013 ครัวเรือน เป็น 202,173 ครัวเรือน โดยเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณเดิมที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติไว้เรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 วงเงินงบประมาณ 3,440,049,735 บาท และขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ จากเดิม 31 มกราคม 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2564 เพื่อให้การดำเนินการเยียวยาชาวสวนลำไยในส่วนที่ยังตกหล่นครบถ้วนถูกต้องเป็นธรรมโดยจะนำเสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ ต่อไป ส่วนการโอนเงินเยียวยาตามมติครม.25สิงหาคมนั้นธกส.รายงานว่าโอนเสร็จแล้วกว่า99%เหลือเฉพาะเกษตรกรที่ติดขัดปัญหาไม่กี่ร้อยรายจาก2แสนราย
ขณะเดียวกันที่ประชุมยังรับทราบรายงานโครงการกระจายผลไม้ Pre – order โดย ประธานคณะอนุกรรมการ E- commerce ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายกฤชฐา โภคาสถิต) และการนำเสนอแผนงานของสมาคมทุเรียนไทยในการส่งเสริมการส่งออกทุเรียนไทยในช่วงการระบาดของ Covid -19 พร้อมทั้งจัดทำคลิปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการบริโภคทุเรียนไทย 'กินทุเรียนไทย มั่นใจปลอดไวรัส covid - 19'เป็นภาษาจีน-ไทย-อังกฤษโดยขอให้ช่วยเผยแพร่ในตลาดเป้าหมายด้วย
สำหรับ แนวทางการบริหารจัดการผลไม้ช่วงวิกฤตการณ์ COVID – 19 ที่ผ่านมานั้น ในประชุมคณะกรรมการพัฒนาและบริหารจัดการผลไม้ ครั้งที่ 1/2564 ได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการผลไม้ ปี 2564–2566 ซึ่งเป็นแนวทางบริหารจัดการผลไม้ในระยะปานกลาง (3 ปี) ที่เน้นความสอดคล้องตามยุคสมัยปัจจุบันที่มีเทคโนโลยีและเครื่องมือสื่อสารที่อำนวยความสะดวกมากขึ้นในยุค 4.0 ตลอดจนให้เข้ากับสถานการณ์การระบาดของโรค COVID–19 โดยเน้นช่องทางการซื้อขายออนไลน์ซึ่งมีประสิทธิภาพในการกระจายได้สูง เกษตรกรมีการปรับเปลี่ยนวิถีการขายแบบใหม่ ไม่ต้องพึ่งพ่อค้าคนกลาง โดยให้คณะกรรมการเพื่อแก้ไขปัญหาผลิตผลการเกษตรระดับจังหวัด (คพจ.) ทุกจังหวัดส่งเสริมและสนับสนุนอำนวยความสะดวกเกษตรกรในพื้นที่ให้สามารถกระจายผลผลิตด้วยวิธีการค้าออนไลน์ให้มากขึ้นต่อไป เน้นการป้องกันตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง การเก็บเกี่ยวและการจัดการในสวนผลไม้จนถึงการขนส่งไปยังผู้บริโภคให้มีการปฏิบัติที่ปลอดภัย
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ