WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Kasetวจยขาวไทย

บูรณาการงานวิจัย 'ข้าวไทยสู่สากล'

ทำมาหากิน : บูรณาการงานวิจัย 'ข้าวไทยสู่สากล' สนองยุทธศาสตร์วาระข้าวแห่งชาติ : โดย...สุรัตน์ อัตตะ

     การประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ'ข้าวไทยสู่สากล'โดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมูลนิธิข้าวไทยในพระบรมราชูปถัมภ์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสจะเจริญพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสนองยุทธศาสตร์การวิจัยข้าวแห่งชาติ พ.ศ. 2556-2560 ที่ต้องการเพิ่มมาตรฐานงานวิจัยด้านข้าวสู่สากล รวมทั้งการเชื่อมโยงผลวิจัยสู่การใช้ประโยชน์

    "ขณะนี้ได้มีการจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยข้าวแห่งชาติ พ.ศ. 2556-2560 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเน้นใน 6 กลุ่ม 6 กลุ่มยุทธศาสตร์ ได้แก่ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตข้าว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและโลจิสติกส์ การสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูป การพัฒนาตลาดข้าว และการพัฒนาระบบการส่งเสริม และถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อร่วมกันพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยเพื่อเชื่อมโยงผลวิจัยสู่การใช้ประโยชน์"

     ศ.นพ.สุทธิพร จิตต์มิตรภาพ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวตอนหนึ่งในการประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ภายใต้หัวข้อ "ข้าวไทยสู่สากล" ซึ่งเป็นเวทีหนึ่งที่ช่วยในการเผยแพร่ความรู้ด้านข้าว และนำเสนอผลงานวิจัยจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและเกษตรกร รวมถึงชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ ทั้งยังเป็นการร่วมกันพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยและงานวิจัยด้านข้าว เพื่อเพิ่มมาตรฐานงานวิจัยข้าวของชาติสู่ระดับสากล และขับเคลื่อนยุทธศาสตร์งานวิจัยด้านข้าวให้ไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ

    "การประชุมวิชาการข้าวครั้งนี้มีการนำเสนอผลงานวิจัยที่น่าสนใจของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือเนคเทค และมีแสดงผลงานวิจัย ทามิส (TAMIS : Thailand Argiculture Mobility Information System) ซึ่งเป็นระบบสารสนเทศเพื่อการเกษตรไทยแบบพกพา ที่นำแท็บเล็ตระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์มาใช้งานร่วมกับระบบประมวลผลบนคลาวด์คอมพิวติ้งที่สามารถลงทะเบียนเกษตรกรด้วยบัตรประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด พร้อมเก็บข้อมูลด้วยระบบกำหนดตำแหน่งพิกัดบนผิวโลก (Global Positioning System: GPS) แปลงเพาะปลูกบนบริการเกี่ยวกับแผนที่ของกูเกิล หรือกูเกิลแมพ (Google Map) ซึ่งสามารถใช้งานได้ทุกที่ทุกเวลาโดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต"

    เลขาธิการวช.ย้ำด้วยว่า นอกจากนี้กรมการข้าวยังมีการนำเสนอผลงานการจำแนกพื้นที่ปลูกให้เหมาะสม ด้วยการนำเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศในการแสดงผลข้อมูลด้านข้าว โดยกรมการข้าวมีข้อมูลที่ลงลึกไปถึงระดับตำบล ว่าแต่ละพื้นที่มีความเหมาะสมในการปลูกข้าวในระดับไหนและควรปลูกสายพันธุ์ใด หากมีความเหมาะสมก็จะมีการให้ความรู้ในเรื่องการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งก็ตรงกับนโยบายของทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ต้องการคืนความสุขให้ชาวนาในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิต เพื่อให้ชาวนาสามารถดำรงชีพได้อย่างยั่งยืน โดยท่านสามารถเข้าไปหาข้อมูลเกี่ยวกับความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ได้ทางเว็บไซต์ของกรมการข้าว 

     ปัจจุบันกรมการข้าวมีการเก็บรวบรวมฐานพันธุกรรมไว้ได้ถึง 30,000 กว่าชนิด ตัวอย่างเชื้อพันธุ์ข้าวดังกล่าวมีชื่อที่ซ้ำกันจำนวนมาก ซึ่งอาจมีความเหมือนหรือต่างกัน  โดยมีการนำเทคโนโลยีในการตรวจสอบความหลากหลายของพันธุกรรมด้วยเครื่องหมายโมเลกุลร่วมกับการประเมินลักษณะทางสัณฐานวิทยามาใช้ เพื่อทำให้ทราบถึงความแตกต่างกันทางพันธุกรรม และลดความซ้ำซ้อนในการจัดเก็บได้ ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มและการแปรรูป โดยข้าวสายพันธุ์เด่นอย่าง ข้าวขาวดอกมะลิ และข้าวสังข์หยดพัทลุง ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีแนวโน้มจะนำไปต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าในตลาดสินค้าเพื่อสุขภาพได้เป็นอย่างดี

    ก็นับเป็นอีกก้าวความสำเร็จในการบูรณาการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการต่อยอดยุทธศาสตร์ข้าวไทยให้ไปในทิศทางที่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ด้วยการเพิ่มมาตรฐานงานวิจัยข้าวสู่ระดับสากล

 http://www.komchadluek.net/detail/20140930/193022.html

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!